Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
10 วัดโบราณ จังหวัดเพชรบุรี (รายชื่อวัด (วัดใหญ่สุวรรณาราม …
10 วัดโบราณ จังหวัดเพชรบุรี
ประวัติจังหวัดเพชรบุรี
ชื่อเดิม
พริบพรี พลิบพลี
การเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์
สมัยช่วงสุโขทัย
สมัยอยุธยา
สมัยรัตนโกสินทร์
ตอนต้น
ปัจจุบัน
พิกัดที่ตั้ง
จำนวนประชากร
รายชื่อวัด
วัดใหญ่สุวรรณาราม
เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ริมถนนพงษ์สุริยา ตำบลท่าราบ อ.เมืองเพชรบุรี ไม่มีประวัติการสร้างที่ชัดเจน แต่เชื่อกันว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดใหญ่”
วัดเกาะ
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเพชรบุรีที่ตำบลท่าราบ ชาวบ้านเรียกว่า “วัดเกาะ” เนื่องจากเดิมวัดนี้มีสภาพเป็นเกาะกลางแม่น้ำเพชรบุรี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (ครองราชย์ปี พ.ศ.2275 – 2301) ด้วยมีตัวอักษรที่ภาพจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์ ระบุปี พ.ศ.2277 ถาวรวัตถุที่สำคัญภายในวัด ประกอบด้วย โบสถ์ วิหาร เจดีย์ทรงเครื่อง เจดีย์ราย ศาลาการเปรียญ กุฏิสามห้อง ศาลาท่าน้ำ และพิพิธภัณฑ์ของวัด โดยศิลปกรรมที่ทรงคุณค่าที่สุดคือ โบสถ์ และ จิตรกรรมฝาผนังภายใน
วัดมหาธาตุ
พระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองกระแชง ริมฝั่งแม่น้ำเพชรบุรี เป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งของเมืองเก่าเพชรบุรี เชื่อกันว่าวัดนี้สร้างขึ้นสมัยอยุธยา พื้นที่ภายในวัดแบ่งเป็นเขตพุทธาวาส (ด้านทิศเหนือ) และเขตสังฆาวาส (ด้านทิศใต้) โดยมีตำแหน่งที่สำคัญที่สุดอยู่ในเขตพุทธาวาส คือ พระปรางค์ประธานที่มี 5 ยอด มีความสำคัญมากในฐานะศูนย์กลางของเมือง
วัดไผ่ล้อม
ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าราบ เป็นวัดร้างที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2502 ปัจจุบันเหลือเพียงโบสถ์เก่าที่พังไปแล้วครึ่งหลัง กับวิหารที่เป็นซุ้มพระหลังเล็ก ๆ และเจดีย์ทรงเครื่อง คุณค่าศิลปกรรมของวัดไผ่ล้อมอยู่ที่ลวดลายปูนปั้นประดับผนังของโบสถ์
วัดกำแพงแลง
หรือ วัดเทพปราสาทศิลาแลง ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าราบ ห่างจากแม่น้ำเพชรบุรีมาทางตะวันออกราว 1 กิโลเมตร ชื่อ “กำแพงแลง” เป็นชื่อที่ผู้คนสมัยหลังเรียกตามลักษณะที่เห็น เพราะภายในวัดมีปราสาทขอมก่อด้วยศิลาแลง และมีกำแพงศิลาแลงล้อมรอบ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้เมื่อปี พ.ศ.2478 จากการขุดแต่งของกรมศิลปากรได้พบชิ้นส่วนประติมากรรมศิลปะขอมสมัยบายน ได้แก่ พระพุทธรูปนาคปรก พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ด้วยเหตุนี้ปราสาทวัดกำแพงแลงจึงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งมีอายุการก่อสร้างเก่าแก่ที่สุดในเมืองเก่าเพชรบุรี
วัดสระบัว
ตั้งอยู่เชิงเขามหาสวรรค์ หรือ เขาวัง ด้านทิศตะวันออก ตำบลคลองกระแชง ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างวัด แต่จากหลักฐานงานศิลปกรรมที่พบสันนิษฐานว่าคงสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ประกอบด้วย โบสถ์ ฐานใบเสมา เจดีย์ทรงปรางค์ และซุ้มกำแพงแก้ว วัดสระบัวเป็นแหล่งศิลปกรรมที่แสดงให้เห็นถึงฝีมือชั้นยอดของช่างปูนปั้นเมืองเพชร
วัดเขาบันไดอิฐ
อยู่ทางตะวันตกของเมืองเพชรบุรี บนยอดเขาซึ่งสูงประมาณ 160 เมตร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย สถาปัตยกรรมสำคัญของวัด คือ โบสถ์และวิหารที่ตั้งอยู่ในแนวเดียวกัน มีเจดีย์องค์หนึ่งตั้งอยู่ตรงกลาง งานศิลปกรรมที่โดดเด่นของวัดเขาบันไดอิฐ ซึ่งถือว่าเป็นฝีมืออันงดงามของสกุลช่างเมืองเพชร คือ ลายปูนปั้นที่หน้าบันของโบสถ์ ซึ่งเป็นภาพครุฑประกอบกับลายพุ่ม และ ลายกระหนกก้านขดช่อหางโต
วัดพระพุทธไสยาสน์
หรือ วัดพระนอน ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเขาวัง สันนิษฐานว่าพระพุทธไสยาสน์ที่ประดิษฐานในวิหารของวัดนี้สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ขนาดขององค์พระมีความยาว 21 วา 1 ศอก 1 คืบ 7 นิ้ว หรือราว 43 เมตร เข้าใจว่าแต่เดิมคงอยู่กลางแจ้ง จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ ให้สร้างพระนครคีรีขึ้น จึงรับสั่งให้สร้างหลังคาเพื่อกันแดดกันฝนให้กับพระนอน แล้วในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงมีการสร้างวิหารคลุมองค์พระนอนดังที่เห็นในปัจจุบัน
วัดพลับพลาชัย
ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองกระแชง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย วัดนี้เคยเป็นที่ประชุมกองทัพและที่ฝึกอาวุธของเหล่าทหาร และเคยเป็นที่ตั้งพลับพลาที่ประทับริมน้ำของพระมหากษัตริย์ สิ่งที่น่าสนใจ คือ ประธานในโบสถ์เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นแบบศิลปะสุโขทัย นอกจากนี้ยังมีงานแกะสลักไม้ บานประตูโบสถ์เป็นฝีมือช่างเพชรในสมัยรัชกาลที่ 6 – 7 ซึ่งมีลวดลายสลักที่วิจิตรงดงาม
วัดมหาสมณารามราชวรวิหาร
หรือ วัดเขาวัง พระอารามหลวงชั้นโท ตั้งอยู่เชิงเขาวัง ตำบลคลองกระแชง เป็นวัดโบราณที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดฯ ให้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งวัด และพระราชทานนามว่า “วัดมหาสมณาราม” ภายในโบสถ์ของวัดมีงานศิลปกรรมสำคัญในช่วงรัชกาลที่ 4 คือ จิตรกรรมฝาผนัง เขียนโดย ขรัวอินโข่ง จิตรกรเอกในสมัยนั้น
ประวัติความเป็นมาของแต่ละวัด
ชื่อวัด
ชื่อเดิม
ชื่อปัจจุบัน หรือชื่อเรียกทั้วไป
ปีที่ก่อสร้าง
ยุคสมัยของศิลปะในวัด
พระพุทธรูปประจำวัด
สิ่งน่าสนใจในวัด
สถานที่ตั้งของแต่ละวัด
วัดใกล้เคียง
ระยะทางและเวลา
ที่อยู่