Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความเข้าใจศัพท์ชีววิทยา (ผลการวิเคราะห์ข้อมูล (สมมุติฐานการวิจัย :…
ความเข้าใจศัพท์ชีววิทยา
-
-
คำถามวิจัย
วิธีการเรียนรู้แบบ student-generated analogies สามารถพัฒนาความเข้าใจคำศัพท์ชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้หรือไม่ อย่างไร
วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจคำศัพท์ชีววิทยาของนักเรียนก่อนและหลังการใช้วิธีการเรียนรู้แบบ student-generated analogies
เพื่อศึกษาวิธีการใช้วิธีการเรียนรู้แบบ student-generated analogies ในการพัฒนาความเข้าใจคำศัพท์ชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
-
-
-
-
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
สมมุติฐานการวิจัย : คะแนนความเข้าใจคำศัพท์ชีววิทยาของนักเรียนก่อนและหลังการใช้วิธีการเรียนรู้แบบ student-generated analogies แตกต่างกัน
-
คะแนนความเข้าใจคำศัพท์ชีววิทยาของของนักเรียนก่อนและหลังการใช้วิธีการเรียนรู้แบบ student-generated analogies แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 โดยที่หลังเรียนด้วยการใช้วิธีการเรียนรู้แบบ student-generated analogies สูงกว่าก่อนเรียน
-
ที่มาและความสำคัญ
ชีววิทยา (Biology) เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต โดยอธิบายลักษณะ โครงสร้าง และการทำงานต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ด้วยคำศัพท์เทคนิคหรือคำศัพท์เฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก หรือภาษาละติน ทำหน้าที่เป็นหน่วยคำเติมหน้า(prefixes) และหน่วยคำเติมท้าย(suffixes) ที่จะช่วยให้สามารถคาดคะเนความหมายของคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยได้จากความหมายของรากศัพท์เหล่านั้น เช่น biology เป็นคำที่มาจากภาษากรีก 2 คำ ได้แก่ “bios” ที่แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ “logos” ที่แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล ดังนั้นการเรียนคำศัพท์เฉพาะหรือคำศัพท์เทคนิคจึงมีความสำคัญต่อการเรียนชีววิทยาอย่างมาก เพราะจะช่วยให้สามารถเชื่อมโยงมโนทัศน์ (concept) หรือแนวคิดแล้วเกิดเป็นความเข้าใจในองค์ความรู้ชีววิทยานั้น ๆ ได้
จากการตอบคำถามในแบบบันทึกกิจกรรมและแบบทดสอบ วิชาชีววิทยา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งเป็นชั้นปีแรกที่นักเรียนได้เริ่มเรียนวิชาชีววิทยาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า นักเรียนบางส่วนมักจะเขียนสะกดคำศัพท์เฉพาะผิด หรือเลือกที่จะไม่เขียนคำศัพท์เฉพาะในกรณีที่ระบุให้เขียน จากการสอบถาม นักเรียนให้เหตุผลว่า ตนเองสามารถอธิบายเป็นภาษาไทยได้ แต่ไม่สามารถสะกดคำศัพท์เหล่านั้นได้
ผู้วิจัยเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดการเรียนรู้แบบ student-generated analogies เพื่อพัฒนาความเข้าใจคำศัพท์ชีวิทยา ที่นอกจากจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาชีววิทยาที่กำลังศึกษาแล้ว ยังเป็นรากฐานสำคัญในการสะสมคำศัพท์เพื่อใช่ในการเรียนชีววิทยาต่อไปในอนาคตอีกด้วย
หัวข้อการวิจัย
การพัฒนาความเข้าใจคำศัพท์ชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ student-generated analogies
-
-