Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เบาหวาน (Diabetes mellitus) (ภาวะแทรกซ้อน (จอประสาทตาเสื่อม…
เบาหวาน
(Diabetes mellitus)
ภาวะแทรกซ้อน
โรคความดันโลหิตสูง
การสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแคบลง จึงทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น
โรคหัวใจขาดเลือด
ความดันเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ และเป็นผู้ที่เครียดเป็นประจำ
ปลายประสาทอักเสบ
ชาหรือปวดร้อนตามปลายมือปลายเท้า
เกิดจากเส้นเลือดฝอยที่มาเลี้ยงเส้นประสาทถูกทำลาย ไม่สามารถส่งออกซิเจนมาตามกระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยงเส้นประสาทได้ รวมถึงการมีน้ำตาลสะสมรวมตัวกันอยู่บริเวณเส้นประสาทเองด้วย จึงทำให้การทำงานของเส้นประสาทเสื่อมลง
มีแผลเกิดขึ้นที่เท้าได้ง่าย
เส้นเลือดแดงส่วนปลายเกิดความผิดปกติ ทำให้การรับน้ำหนักไม่สมดุลและเกิดเท้าผิดรูป จึงเกิดแผลกดทับจากน้ำหนักตัวได้ง่าย
ไตเสื่อม
ผนังเส้นเลือดถูกทำลายโดยน้ำตาลในเลือดที่สูงอยู่เป็นเวลานาน การทำหน้าที่ในการกรองของไตจะเริ่มเสื่อมลง ทำให้โปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะ
มีอาการ บวม ซีด
จอประสาทตาเสื่อม
เกิดจากน้ำตาลไปสะสมที่เลนส์ตา ทำให้การมองเห็นลดลง
เกิดจากหลอดเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงจอประสาทตาเกิดความเสียหาย ซึ่งอาจทำให้ตาบอดได้
อัมพาต
เกิดจากการที่ความดันโลหิตสูง ทำให้หลอดเลือดในสมองแตก และทำให้เกิดอัมพาตได้
สาเหตุ
โรคอ้วน
ผู้ที่มีน้ำหนักมาก ไขมันส่วนเกินจะสร้างสารที่ทำให้การตอบสนองของเนื้อเยื่อร่างกายต่ออินซูลินไม่ดี หรือนัยหนึ่ง เกิดภาวะ
ดื้อต่ออินซูลินขึ้น
ผู้สูงอายุ
เมื่ออายุมากขึ้น ตับอ่อนจะเสื่อมการทำงานลง ทำให้การสังเคราะห์และการหลั่งอินซูลินลดลง
ความผิดปกติของตับอ่อน
เนื่องจากตับอ่อนจะทำหน้าที่ในการผลิตอินซูลิน ดังนั้นหากตับอ่อนมีการเสื่อมสภาพหรือเกิดความผิดปกติก็ย่อมส่งผลต่อการเกิดโรคเบาหวานได้ด้วย
Behavior
พฤติกรรมที่เป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน
พฤติกรรมการสูบบุหรี่เเละดื่มสุรา
พฤติกรรมการรับประทานอาหาร
การรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยน์ต่อร่างกายซึ่งมีส่วนประกอบของเเป้ง น้ำตาล เเละไขมันทรานส์
รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา
การไม่รับประทานผักเเละผลไม้
การไม่ออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน
การตั้งครรภ์
เนื่องจากขณะตั้งครรภ์จะมีการฮอร์โมนจากรก
ซึ่งมีผลต่อต้านการทำงานของอินซูลิน
Geneti่c(พันธุกรรม)
เบาหวานมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ส่วนหนึ่ง แต่ผู้ที่มีญาติสายตรง อาทิเช่นพ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นเบาหวานก็ไม่จำเป็นต้องป่วยเป็น
โรคเบาหวานทุกราย ทั้งนี้ขึ้นกับการควบคุมดูแลปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่น
อาการของกรณีศึกษา
ปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน
และสังเกตเห็นมดขึ้นขึ้นมาตอมบริเวณห้องน้ำ
เหนื่อยง่าย เพลียง่าย
น้ำหนักลดลง 10 กิโลกรัม
มีอาการคอแห้ง กระหายน้ำ
ปัจจัยเสี่ยง
กิจวัตรประจำวันไม่มีกิจกรรมการทำงานที่ต้องใช้แรงงานหรือเคลื่อนไหวร่างกายที่เหมาะสม
มีความดันโลหิตมากกว่า
หรือเท่ากับ 140/90 มม. ปรอท
มีประวัติบุคคลในครอบครัว เป็นโรคเบาหวาน
มีประวัติเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
หรือมีลูกที่น้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4 kg
มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป
มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ
มีภาวะดื้อ Insulin
ภาวะ Metabolic Syndrome
ไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
HDL ต่ำ
ความดันโลหิตสูง
น้ำหนักตัวเกินมาตรฐานหรืออ้วน
การป้องกัน
ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ควบคุมโภชนาการ
ควรตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม. ลดน้ำหนัก. ออกกำลังกาย
การใช้ยาเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน มีการใช้ยา 3
ชนิดในการป้องกันโรคเบาหวาน
โดยใช้ชนิดใดชนิดหนึ่ง
Metformin
สามารถลดการเกิดโรคเบาหวานลงได้ร้อยละ 31
ใช้ได้ผลดีกับผู้ที่อายุน้อย 20-44 ปี และอ้วน
Acarbose
สามารถลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานได้ร้อยละ 32
Troglitazone
สามารถลดการเกิดโรคเบาหวานได้ร้อยละ 56
การวินิจฉัย
วินิจฉัยจากการเจาะเลือด
Random Blood sugar
ประโยชน์
เพื่อคัดกรองผู้ป่วยเบาหวาน
ค่าปกติ : อยู่ในช่วง 70-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
การเจาะระดับน้ำตาลในเลือด ณ.ขณะนั้นโดยไม่มีการงดหรืออดอาหาร
Oral Glucose Tolerance Test : OGTT
การตรวจประสิทธิภาพการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน
วิธีการตรวจ
ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำหวานที่มี กลูโคช 100 มิลลิกรัม แล้วเจาะหากลูโคสที่ 1,2,3 ชั่วโมง
อดอาหารอย่างน้อย 8 - 12 ชั่วโมง
เจาะเลือดที่ 0 , 2 ชม.
การแปลผล
ปกติ
ระดับกลูโคสในพลาสม่า ชั่วโมงที่ 2 น้อยกว่า 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
กลุ่มเสี่ยง
ระดับกลูโคสในพลาสม่า ชั่วโมงที่ 2 อยู่ในช่วง 140-199 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ผู้ป่วยเบาหวาน
ระดับกลูโคสในพลาสม่า ชั่วโมงที่ 2 มากกว่าหรือเท่กับ 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
Fasting blood Sugar
การเจาะเลือดเพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือดโดยงดอาหาร 8 ชั่วโมง
ประโยชน์
เพื่อใช้ในการคัดกรอง และวินิจฉัยผู้ที่มีอาการแสดงหรือมีปัจจัยเสี่ยงที่เป็นเบาหวาน
ใช้ติดตามระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อประมินผลการรักษา
ตรวจป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดสูง(hyperglycemia)หรือระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ(hypoglycemia)เกินไปในผู้ป่วยเบาหวาน
แปลผล
น้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)
ค่าระดับน้ำตาลในเลือด ต่ำกว่า 60 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
กลุ่มเสี่ยง
ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในช่วง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ผู้ที่เป็นเบาหวาน
การเจาะเลือดเพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลืดโดยงดอาหาร 8 ชั่วโมง
ค่าปกติ
ค่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 80-100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ความถี่ในการเจาะ
ผู้ที่มีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูง
แพทย์จะเจาะ ณ.ขณะนั้นหรือ จะนัดมาเจาะโดยงดอาหาร 8 ชั่วโมง
สำหรับกลุ่มเสี่ยง FBS ช่วง 100-126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
แพทย์จะนัดเจาะทุกปี หากผลเลือดปกติหรือ ต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะนัดเจาะทุก 3 ปี
สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน
แพทย์จะนัดเจาะเลือดผู้ป่วยทุกๆ 3 เดือน
Hemoglobin A1C : HbA1C
การตรวจค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาเพื่อพิจารณาและประเมินผลในภาพรวมว่าสามารถคุมระดับน้ำตาลได้หรือไม่
ความสำคัญ
การตรวจทั่วไปเช่น FBS บอกได้เพียงค่าน้ำตาลขณะนั้น แต่การตรวจ HbA1C จะเป็นการตรวจคค่าน้ำตาลสะสม 3 เดือน ทำให้สามารถประเมินผลการรักษา และป้องกันภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวได้
ความถี่ในการตรวจ
แนะนำให้ตรวจอย่างน้อยปีละ 2 ครั้งในผู้ป่วยเบาหวาน เพราะหากคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ก็จะได้มีการปรับแผนการรักษา
การแปลผล
ค่าปกติ
น้อยกว่า 5.7 mg%
ผู้ที่มีความเสี่ยง
5.7 mg%- 6.4 mg%
ผู้ที่เป็นเบาหวาน
มากกว่าหรือเท่ากับ 6.5 mg%
ผู้ที่เป็นเบาหวานเดิม ค่าเป้าหมาย HbA1C คือ น้อยกว่า 7 mg%
การวินิจฉัยจากอาการแสดง
การตรวจหากลูโคสในปัสสาวะไม่นิยมเพราะมีโอกาสผิดพลาดสูง
ชนิด
โรคเบาหวานชนิดที่ 1
เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์ ซึ่งสร้างอินซูลินในส่วนของตับอ่อนทำให้ร่างกายหยุดสร้างอินซูลิน หรือสร้างได้น้อย
โรคเบาหวานชนิดที่ 2
ยังไม่ทราบที่แน่ชัด แต่ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับ พันธุ์กรรม น้ำหนักเกิน ขาดการออกกำลังกาย ลูกดก วัยที่เพิ่มขึ้น
โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
มีลักษณะคล้ายกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เเต่มีลักษณะชั่วคราว
เกิดจากการหลั่งInsulinและการตอบสนองไม่เพียงพอ
การรักษา
หลังคลอดแล้วสามารถหายไปเอง
สามารถรักษาให้หายขาดได้เอง
ถ้าไม่ทำการรักษา
สามารถสร้างความเสียหายต่อสุขภาพของทารกในครรภ์และมารดา
การรักษา
ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน
เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
ออกกำลังการยเป็นประจำ
ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด
อาการโรคเบาหวาน
อาการของโรคเบาหวานที่พบได้บ่อย
กระหายน้ำบ่อยขึ้น
เพราะร่างกายต้องการน้ำเพื่อไปทดแทนน้ำที่เสียไปจากการปัสสาวะ ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะรู้สึกคอแห้งและกระหายน้ำมากกว่าปกติที่เคยเป็นไม่ว่าช่วงนั้นจะมีอากาศร้อนหรืออากาศเย็นก็ตาม นอกจากอาการกระหายน้ำแล้วคุณยังสามารถดื่มน้ำได้มากในแต่ละครั้งที่ดื่มน้ำอีกด้วย
อาเจียน
ผิวหนังมีปัญหา เช่น คัน เกิดการติดเชื้อ แผลหายช้า
ตาพร่ามัว
เนื่องจากระดับน้ำตาลในร่างกายที่มากผิดปกติ
เป็นสาเหตุทำให้ร่างกายขับน้ำออกมาทางเลนส์ตา
เมื่อรับน้ำที่ผ่านเข้ามาเ
ลนส์ตาก็จะทำการซับน้ำไว้ให้ได้มากที่สุดจึงเกิดการทำงานที่ผิดปกติ
**
เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการตาพล่ามัว มองภาพได้ไม่ชัดเจน
**
หรือถ้าเป็นมากจะเห็นน้ำไหลออกมาจากดวงตา แต่ไม่ใช่น้ำตา น้ำที่ไหลออกมาจะมีลักษณะเหนียว ข้น
ปัสสาวะบ่อยขึ้น
การถ่ายปัสสาวะบ่อยเกิดจากกลไกของไตที่พยายามจะกรองแยกเอาสารอาหารที่มีประโยชน์ (น้ำตาล) กลับคืนสู่ร่างกายและคัดแยกเอาของเสียออกจากเลือดแล้วขับออกจากร่างกายไปโดยส่งไปพร้อมกับปัสสาวะจึงเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเบาหวานต้องปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
เนื่องมาจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้ ทำให้ร่างกายเหมือนอยู่ในสภาวะขาดอาหารและเริ่มดึงโปรตีนจากกล้ามเนื้อ มาใช้เป็นพลังงานแทน นอกจากนี้การที่ไตทำงานอย่างหนักยังส่งผลให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรีมากเกินไป แถมยังอันตรายต่อไตอีกด้วย
หิวบ่อย กินจุบจิบ
อ่อนเพลีย
ลักษณะของโรคเบาหวาน
ชนิดที่ 1
พบได้ประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วย** เเละคนที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี
รูปร่างผอม
เกิดโรคแบบเฉียบพลัน
ปัสสาวะบ่อย
กระหายน้ำบ่อย
อยากอาหารบ่อย
น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว
มีอาการเหนื่อยหรือเพลียอ่อนแรง
เกิดภาวะคั่งสารคีโตน
ชนิดที่ 2
พบได้ประมาณร้อยละ 90 ของผู้ป่วย** พบได้ทุกวัย
รูปร่างอ้วน
ตาพร่ามัว
เป็นแผลหายช้า
พบอาการชาบริเวณมือและเท้า
ติดเชื้อตามผิวหนัง ปากหรือกระเพาะปัสสาวะ