Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้พื้นฐานของการฟัง (ความสำคัญของการฟัง (การฟังทำให้ได้รับความรู้…
ความรู้พื้นฐานของการฟัง
ความสำคัญของการฟัง
การฟังทำให้ได้รับความรู้ เพราะการฟังเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ เช่น การฟังบรรยายของอาจารย์ในชั้นเรียน ฟังวิธีทาขนมไทย
การฟังช่วยยกระดับจิตใจ ทำให้เข้าใจความเป็นมนุษย์หรือการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขได้ เช่น การฟังธรรมเทศนา การฟังโอวาท เป็นต้น
การฟังเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างหนึ่งของมนุษย์ ทั้งที่เกิดจากการฟังจากบุคคลโดยตรงหรือฟังผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
-
การฟังทำให้รู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ทาให้รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของคนและสังคม
การฟังช่วยพัฒนาทักษะการพูดให้มีประสิทธิภาพได้ กล่าวคือ การฟังช่วยให้ผู้ฟังได้เรียนรู้วิธีการพูด เนื้อหาสาระของสาร วิธีการนำเสนอสาร บุคลิกภาพ
-
-
ระดับของการฟัง
- ระดับการฟังตามปกติเป็นระดับการได้ยินที่สูงขึ้นต่อจากการได้ยิน ผู้ฟังต้องใช้สมรรถภาพทางสมองเชื่อมโยงเสียงที่ได้ยินกับประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับความหมายของเสียง เพื่อให้เกิดการแปลความและตีความเสียงนั้น จนเข้าใจสารที่ฟังและแสดงปฏิกิริยาตอบสนองสารนั้นอย่างถูกต้องและเหมาะสม
- ระดับการฟังอย่างมีวิจารณญาณเป็นระดับการฟังที่สูงขึ้นอีกต้องอาศัยสมรรถภาพทางด้านการคิดวิเคราะห์ การประเมินค่า การวินิจฉัย และการนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ การฟังระดับนี้ต้องอาศัยการฝึกฝนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หากสามารถพัฒนาจนเกิดทักษะแล้ว ผู้ฟังจะได้ประโยชน์สูงสุดจากการฟังสารนั้นๆ
- ระดับการได้ยิน การได้ยินเป็นกระบวนการขั้นแรกของการฟัง เป็นการรับรู้โดยใช้ อวัยวะในการรับรู้หรือการได้ยินคือ หูและอวัยวะภายในหู เมื่อหูรับคลื่นเสียงแล้วก็จะส่งไปยังสมอง สมองจะรับรู้ว่าเรื่องที่ได้ยินนั้นคืออะไรโดยไม่มีการแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง
ลักษณะการฟังแบบต่างๆ
- การฟังอย่างมีจุดมุ่งหมาย 2. การฟังอย่างมีจุดมุ่งหมาย เป็นการฟังที่ผู้ฟังตั้งวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งไว้ล่วงหน้า เช่น ต้องการฟังเพื่อความรู้ เพื่อความบันเทิง เพื่อการตัดสินใจ เป็นต้น การฟังอย่างไม่ได้ตั้งจุดมุ่งหมายจัดว่าเป็นการฟังแบบผ่านๆ ผู้ฟังจะไม่ได้ประโยชน์จากสิ่งที่ได้ฟัง การฟังอย่างมีจุดมุ่งหมายจึงเป็นพื้นฐานสาคัญของการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ
- การฟังอย่างมีวิจารณญาณ 3. การฟังอย่างมีวิจารณญาณ จัดเป็นการฟังที่ต้องใช้ความคิดวิเคราะห์สารที่ได้ฟัง มักดาเนินควบคู่ไปกับการวิเคราะห์สาร จัดเป็นการฟังขั้นสูง ผู้ฟังต้องจับประเด็นว่าจุดมุ่งหมายของผู้พูดคืออะไร และแยกแยะว่าส่วนใดที่เป็นข้อเท็จจริงและเป็นข้อคิดเห็น โดยใช้กระบวนการคิดใคร่ครวญด้วยเหตุผล จนนำไปสู่การตอบสนองที่ถูกต้องเหมาะสม การฟังอย่างมีวิจารณญาณจะทำให้ผู้ฟังได้รับประโยชน์และได้ข้อมูลที่เป็นจริง
- การฟังอย่างประเมินคุณค่าเป็นการฟังในระดับสูงต่อมาจากการฟังอย่างมีวิจารณญาณ เป็นการฟังที่ผู้ฟังต้องประเมินหรือตัดสินคุณค่าของสารที่ฟังว่าดีหรือไม่ มีประโยชน์หรือไม่ เหมาะแก่การนำไปปฏิบัติหรือไม่ ผู้ฟังควรฟังอย่างตั้งใจและสามารถวิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่ฟังได้อย่างมีเหตุผลน่าเชื่อถือ
- การฟังอย่างเข้าใจ เป็นการฟังขั้นพื้นฐานที่ใช้ได้ทุกสถานการณ์ เช่น ฟังเพื่อให้สามารถรับรู้เข้าใจเรื่องราว เข้าใจความคิดของบุคคล เข้าใจความหมายของสารแล้วสามารถนำสิ่งที่ได้ฟังไปปฏิบัติได้ ฯลฯ การฟังลักษณะนี้ผู้ฟังควรฟังโดยตลอด ใช้ความคิดพิจารณาด้วยใจที่เป็นกลางและยอมรับความรู้ความคิดหรือมุมมองต่างๆ ของผู้ส่งสาร อาจมีการจดบันทึกประเด็นสาคัญๆ ไปด้วยก็ได้
จุดมุ่งหมายของการฟัง
- ฟังเพื่อให้เกิดความคิดและการตัดสินใจอาทิเช่น การฟังปราศรัยหาเสียง ฟังโฆษณาสินค้า ฟังการขอร้อง วิงวอน ฯลฯ การฟังลักษณะนี้ผู้ฟังจะต้องใช้วิจารณญาณในการฟังมากที่สุด และต้องประเมินค่าสิ่งที่ได้ฟังว่ามีเหตุมีผลน่าเชื่อถือหรือไม่ เพื่อการตัดสินใจอย่างถูกต้อง เช่น ฟังการปราศรัยหาเสียง
- ฟังเพื่อความบันเทิงและผ่อนคลาย เป็นการฟังเพื่อให้เกิดเพลิดเพลิน ความสนุกสนาน ผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน
- ฟังเพื่อสร้างความเข้าใจ เป็นการฟังความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้อื่น เพื่อเข้าใจบุคคลหรือเรื่องนั้นๆ เป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกันและลดความขัดแย้งต่างๆ การฟังเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันเกิดขึ้นได้ในทุกระดับชั้น ตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับชาติและนานาชาติ
- การฟังเพื่อแสดงความคิดเห็น การฟังเพื่อแสดงความคิดเห็นนั้นเป็นการฟัง ที่ต้องเกิดจากความตั้งใจและการคิดพิจารณาเพื่อประกอบการแสดงความคิดเห็น โดยการแสดงความคิดเห็นเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการประเมินคุณค่าของสาร ฉะนั้น ผู้ฟังจึงต้องไตร่ตรองอย่างรอบคอบและพิจารณาถึงความเหมาะสมในการถ่ายทอดความคิดเห็นนั้นเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียนด้วย
- ฟังเพื่อให้ได้คติชีวิตหรือความจรรโลงใจ เป็นการฟังที่ก่อให้เกิดสติปัญญาและวิจารณญาณ ยกระดับจิตใจ ค้าชูจิตใจให้สูงขึ้นและประณีตขึ้น
- ฟังเพื่อพัฒนาสมองและรักษาสุขภาพจิต เป็นการฟังที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงเพื่อพัฒนาสมองและรักษาสุขภาพจิต อาทิเช่น ให้ทารกในครรภ์ฟังเสียงเพลงเชื่อว่าเป็นการพัฒนาสมอง การฟังเสียงตามธรรมชาติ เช่น เสียงนกร้อง เสียงน้าตก ฯลฯ เชื่อว่าจะบาบัดอาการเครียด การซึมเศร้า และคนไข้จิตเวชได้
- ฟังเพื่อให้เกิดความรู้ นักเรียนนักศึกษาเป็นกลุ่มที่ใช้วัตถุประสงค์นี้โดยตรง ผู้เรียนจะต้องฟังบรรยายของครูอาจารย์ ฟังวิทยากร ฟังเสวนา ฟังอภิปรายและฟังการรายงานของเพื่อน นอกจากการฟังเพื่อให้เกิดความรู้โดยตรงแล้ว ยังมีการฟังอีกลักษณะหนึ่งที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้โดยอ้อม คือการฟังสารประเภทข่าวสาร เหตุการณ์ บ้านเมือง เศรษฐกิจ สังคม ฟังสารคดี ฟังการสัมภาษณ์บุคคลสาคัญ ฟังรายการสนทนาต่างๆ
-