Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory of Learning) (อ้างอิง (ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน…
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theory of Learning)
ความหมาย
การเรียนรู้ คือ
กระบวนการที่ทำให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางความคิด
มนุษย์เราสามารถเรียนรู้ได้จาก การได้ยิน การสัมผัส การอ่าน
การเห็น รวมถึงผ่านการใช้ สื่อ อุปกรณ์ เครื่องมือ
เป็นส่วนส่งผ่าน
4 ทฤษฎี
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(BEHAVIORISM)
ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม
(Constructivism)
ทฤษฎีสร้างสรรค์นิยม (Constructivist Theory)
ทฤษฎีการเชื่อมโยง ( Connectivism )
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(BEHAVIORISM)
แนวคิดสำคัญ 3แนวคิด
ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s
Connectionism Theory)
การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus - S) กับการตอบสนอง
(Response - R) โดยมีหลักเบื้องต้นว่า
“การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
โดยที่การตอบสนองมักจะออกมาเป็นรูปแบบต่าง ๆ หลายรูปแบบ
จนกว่าจะพบรูปแบบที่ดี หรือเหมาะสมที่สุด
เราเรียกการตอบสนองเช่นนี้ว่าการลองถูกลองผิด (Trial and
error)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข
(Conditioning Theory)
ทฤษฎีการเรียนรู้ของพาฟลอฟ ( Ivan
Petrovich Pavlov )
พา พลอฟ
เชื่อว่าการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากเกิดจากการวางเงื่อนไข
กล่าวคือ
การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้าหนึ่งมักมีเงื่อนไขหรือ
สถานการณ์เกิดขึ้น
ซึ่งในสภาพปกติหรือในชีวิตประจำวันการตอบสนองเช่นนั้นอาจไม่มี
เช่น กรณีสุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งและน้ำลายไหล
เสียงกระดิ่งเป็นสิ่งเร้าที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไข
พาพลอฟ เรียกว่า สิ่งเร้าที่มีเงื่อนไข และปฏิกิริยาน้ำลายไหล
เป็นการตอบสนองที่เรียกว่าการตอบสนองที่มีเงื่อนไข
ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic
Behavior Theory)
ได้ทำการทดลองโดยฝึกหนูให้กดคาน โดยแบ่งหนูเป็นกลุ่ม ๆ แต่ละกลุ่มอดอาหาร 24
ชั่วโมงและแต่ละกลุ่มมีแบบแผนในการเสริมแรงแบบตายตัวต่างกัน บางกลุ่มกดคาน 5 ครั้ง
จึงได้อาหาร ไปจนถึงกลุ่มที่กด 90 ครั้ง จึงได้อาหารและอีกพวกหนึ่งทดลองแบบเดียวกัน
แต่อดอาหารเพียง 3 ชั่วโมง ผลปรากฏว่ายิ่งอดอาหารมากคือมีแรงขับมาก
จะมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเข้มของนิสัย
กล่าวคือจะทำให้การเชื่อมโยงระหว่างอวัยวะรับสัมผัส (receptor)
กับอวัยวะแสดงออก(effector)เข้มแข็งขึ้น
ดังนั้นเมื่อหนูหิวมากจึงมีพฤติกรรมกดคานเร็วขึ้น
ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม
(Constructivism)
Cognitive Constructivism หมายถึงทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม
ที่มีรากฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการของพีอาเจต์ ทฤษฎีนี้ถือว่าผู้เรียนเป็นผู้กระทำ
(active) และเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นในใจเอง
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีบทบาทในการก่อให้เกิดความไม่สมดุลทางพุทธิปัญญาขึ้น
เป็นเหตุให้ผู้เรียน ปรับความเข้าใจเดิมที่มีอยู่ให้เข้ากับข้อมูลข่าวสารใหม่ จนกระทั่ง
เกิดความสมดุลทางพุทธิปัญญา หรือเกิดความรู้ใหม่ขึ้น อ่านเพิ่มเติมได้ที่
Social Constructivism เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการของวิก็อทสกี้
ซึ่งถือว่าผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น (ผู้ใหญ่หรือเพื่อน)
ในขณะที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรืองาน ในสภาวะสังคม (Social Context) ซึ่งเป็นตัวแปรที่สำคัญและขาดไม่ได้
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมทำให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการเปลี่ยนแปรความเข้าใจเดิมให้ถูกต้องหรือซับซ้อนกว้างขวางขึ้น
ปัญญานิยมอยู่บนฐานของกระบวนการคิดก่อน แสดงพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมที่จะถูกสังเกต สิ่งเหล่านั้น มันก็เป็นเพียงแต่การบ่งชี้ว่าสิ่งนี้
กำลังดำเนินต่อไปในสมองของผู้เรียน เท่านั้น ทักษะใหม่ๆ ที่จะทำ การสะท้อนส่งออกมา
กระบวนการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศทางปัญญา
ทฤษฎีสร้างสรรค์นิยม (Constructivist Theory)
ทฤษฎีที่นำมาเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความรู้ของผู้เรียน คือ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
(Constructivist Theory) เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการสร้างความรู้ของผู้เรียน
ซึ่งถ้าพิจารณาจากรากศัพท์ “Construct” แปลว่า “สร้าง”
ทฤษฎีการเชื่อมโยง ( Connectivism )
หลักทฤษฎีการเรียนรู้ของสื่อ Social Media
เป็นทฤษฎีใหม่ที่เกิดขึ้นมาพร้อมๆกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี
การเรียนรู้ใน 3 ปรัชญาสำคัญคือ ปรัชญาพฤติกรรมนิยม ( Behaviorism )ปรัชญาพุทธินิยม( Cognitivism )
และปรัชญาสรรคนิยม ( Constructivism )
ส่งผลต่อการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ที่เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลเครือข่ายระหว่างกัน
เพื่อสร้างทักษะองค์ความรู้ที่เรียกว่า “ปรัชญาการเชื่อมโยง ( Connectivism )”
อ้างอิง
ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2545
สุรางค์ โค้วตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2544
ดร.อนุชา โสมาบุตร (2013),ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist
Theory),สืบค้นวันที่ 30 มกราคม2560,
https://teacherweekly.wordpress.com
penpak chauypan (2015),ทฤษฎีการเชื่อมโยง ( Connectivism ) ,สืบค้นวันที่ 30 มกราคม2560,
https://penpakchauypan.wordpress.com
banyen (2553),ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Theory),สืบค้นวันที่ 30
มกราคม2560,
http://banyen6069.blogspot.com/2010/12/2_7904.html
ครูอดิศร ก้อนคำ(2548),ทฤษฎีการเรียนรู้,สืบค้นวันที่ 30 มกราคม2560,
http://www.kroobannok.com/35946