Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
✨การเรียนรู้ PBL (problem-based learning) (Home Health Care …
✨การเรียนรู้ PBL
(problem-based learning)
Home Health Care
การบริการสุขภาพที่บ้าน
ความหมาย
บริการสาธารณสุขเชิงรุกที่ใช้บ้านของประชาชนเป็นสถานบริการพยาบาลมีทีมสาธารณสุขให้การสนับสนุนแนะนำช่วยเหลือให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวในการดูแลตนเองทางด้านสุขภาพอนามัย โดยมีเครือข่ายติดต่อกับเจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลา เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินหรืออันตราย
จุดเน้นของการบริการสุขภาพผู้ป่วยที่บ้าน
การที่ทีมสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบำบัด นักโภชนากร และอื่นๆ ร่วมกันเป็นทีมสาธารณสุขให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
ความสำคัญของการบริการ
สุขภาพผู้ป่วยที่บ้าน
เพื่อสร้างหลักประกันให้คนไทยทุกคนสามารถ
เข้าถึงบริการด้านสุขภาพที่มีมาตรฐาน
และเท่าเทียมกัน ส่วนหนึ่งที่สำคัญในระบบบริการสุขภาพ
ขอบเขตการบริการ
สุขภาพผู้ป่วยที่บ้าน
ผู้ดำเนินการเยี่ยมบ้านเพื่อให้บริการรักษา เบื้องต้นการพยาบาลที่บ้าน การสร้างเสริมสุขภาพทางกายและจิต การป้องกันโรค การเฝ้าระวังติดตามภาวะแทรกซ้อน/ความพิการ การฟื้นฟูสุขภาพ การดูแลภาวะเจ็บป่วยระยะสุดท้าย การติดตามการใช้ยา การสงเคราะห์ทางสาธารณสุขการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
เป้าหมายของการบริการ
สุขภาพผู้ป่วยที่บ้าน
ให้บริการผสมผสานเป็นองค์รวม ด้านส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสภาพ ตามสภาพปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยแต่ละรายเพื่อช่วยเหลือสนับสนุน ให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีส่วนร่วมวางแผนและดำเนินการตามแผนการดูแล
วัตถุประสงค์การบริการสุขภาพผู้ป่วยที่บ้าน
เพื่อประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วย ความพร้อมผู้ดูแลครอบครัว สิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์ปัญหาความต้องการด้านสุขภาพ
เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลปรับแผนการพยาบาลเพิ่มเติมจาก ปัญหาที่พบที่บ้านเพื่อให้คำแนะนำฝึกทักษะให้ผู้ป่วยและครอบครัว
เพื่อให้บริการพยาบาลในส่วนที่ผู้ป่วยและผู้ดูแลไม่สามารถให้การดูแลตนเองได้
เพื่อติดตามผลการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำรงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพที่ดี
เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจและเป็นกำลังใจแก่ผู้ป่วยและครอบครัวใน การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้ป่วยและมีส่วนร่วมดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
ประโยชน์ของการบริการสุขภาพ
ผู้ป่วยที่บ้าน
จัดบริการเพื่อเพิ่มการเข้าถึงกระจายบริการพยาบาล
ไปในชุมชนถึง บ้านช่วยให้มีความเสมอภาคแก่ประชาชน
กลุ่มผู้ป่วยที่บ้านที่มีความต้องการการ วางแผนจำหน่าย
มีความจำกัด/ด้อยโอกาสในการไปรับบริการ
พัฒนาศักยภาพของประชาชนในการดูแลตนเอง
ด้านสุขภาพอนามัย
กลุ่มผู้รับบริการ
กลุ่มปกติ
ต้องไม่เป็นผู้ป่วยรายใหม่
โดยเน้นการเฝ้าระวัง ไม่ให้เป็นกลุ่มเสี่ยง
และกลุ่มป่วย (ยกเว้นในรายที่เป็นพันธุกรรม
กลุ่มเสี่ยง
เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เพื่อให้เป็นกลุ่มปกติ
และไม่เป็นกลุ่มป่วย
กลุ่มป่วย
ลดความรุนแรงของโรค
ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
การนำไปใช้
กรณีศึกษา
การจัดลำดับการเยี่ยมบ้าน
ลำดับที่ 1 ครอบครัวที่ 1
เนื่องจากมีเด็กแรกเกิดและมารดาหลังคลอด ซึ่งทารกแรกเกิดอายุเพียง 7 วัน มีภูมิต้านทานต่ำทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อมาสู่ทารก
ลำดับที่ 2 ครอบครัวที่ 3
เนื่องจากเป็นผู้ป่วยที่มีความพิการทางสมอง อยู่ในช่วงวัยรุ่นที่มีภูมิคุ้มกันสูงและไม่มีความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
ลำดับที่ 3 ครอบครัวที่ 2
เนื่องจากมีผู้ป่วยเรื้อรังและมีอาการแสดงของโรคติดต่อ ได้แก่ มีไข้ทุกคืน ไอ มีเสมหะเรื้อรัง เบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย จึงจำเป็นที่จะต้องเยี่ยมเป็นลำดับสุดท้ายเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่น
กระบวนการดำเนินงาน
ในการเยี่ยมบ้านครอบครัวที่ 1
ระยะก่อนเยี่ยมบ้าน
1.1 ระบุประเภทของการเยี่ยมบ้าน
(การเยี่ยมบ้านหลัง
จากออกจากโรงพยาบาล)
1.2 กำหนดแผนการดูแล
กำหนดวัตถุประสงค์ในการเยี่ยม
เพื่อให้มารดามีน้ำนมเพียงพอสำหรับทารก
เพื่อลดความวิตกกังวลของมารดา
เพื่อกระตุ้นให้ทารกมีการดูดนม
ที่มีประสิทธิภาพ
เตรียมอุปกรณ์การเยี่ยม
แผนที่ในการเดินทางไปบ้านผู้ป่วย
และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อผู้ป่วยและญาติ
แบบประเมิน IN-HOME-SSS Checklist
เป็นแบบประเมินที่ใช้ประเมินสภาวะสุขภาพ
ของผู้ป่วยและครอบครัว
แฟ้มบันทึกประวัติครอบครัว
ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการสัมภาษณ์
วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปวินิจฉัย
และส่งเสริมครอบครัว
ปรอทวัดไข้(Thermometer)
ใช้ในการอุณภูมิร่างกาย
เครื่องวัดความดันและที่พันขนาดต่าง ๆ
หูฟัง(Stethoscope)
ไม้กดลิ้น(Tongue depressors) ชนิดใช้แล้วทิ้ง
ไฟฉาย
เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาล
และแผ่นตรวจน้ำตาล
ถุงมือชนิดใช้แล้วทิ้ง
สายวัดรอบเอว
สารหล่อลื่น
ใบสั่งยา (ใช้ในบางกรณี)
โมเดลสื่อการสอนการดูแลทารกแรก
เกิดและการกระตุ้นน้ำนมแก่มารดาหลังคลอด
แผ่นผับความรู้เรื่องอาหารกระตุ้นน้ำนม
1.3 การวางแผนการเยี่ยมบ้าน
1.3.1 เตรียมตัวเอง เช่น การแต่งกายเรียบร้อยและสะอาด
1.3.2 การเตรียมความรู้
การเตรียมข้อมูลผู้ป่วยมารดาหลังคลอด
อาหารบำรุงน้ำนมมารดาหลังคลอด
การส่งเสริมให้ทารกดูดนมแบบมีประสิทธิภาพ
การลดความวิตกกังวลให้มารดาหลังคลอด
ระยะเยี่ยมบ้าน
การประเมินสภาพ (Assessment)
1 สร้างสัมพันธภาพกับมารดาหลังคลอดและทารก
2 การซักประวัติ คำถามปลายเปิดและประเมินตามแบบแผน 11 กอร์ดอน
3 ตรวจร่างกาย ตั้งแต่หัวจรดเท้าทั้งมารดาและทารก
วินิจฉัยทางการพยาบาล
1.มารดามีน้ำนมไหลออกน้อยเนื่องจากมีภาวะขาดน้ำ
2.ทารกได้รับน้ำนมไม่เพียงพอเนื่องจากไม่มีประสิทธิภาพในการดูดนม
มารดาวิตกกังวลและขาดความรู้ในการเลี้ยงดูบุตรเนื่องจากมีบุตรคนแรก
การวางแผนการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 1 มารดามีน้ำนมไหลออกน้อยเนื่องจากมีภาวะขาดน้ำ
S: มารดาบอกว่า คัดตึงเต้านมทั้งสองข้าง น้ำนมไหลออกน้อยมีสีขาวขุ่น มารดาบอกว่าทารกไม่ค่อยดูดนม
S: มารดาบอกว่า คัดตึงเต้านมทั้งสองข้าง น้ำนมไหลออกน้อยมีสีขาวขุ่น มารดาบอกว่าทารกไม่ค่อยดูดนม
p:
ประเมินภาวะขาดน้ำของมารดา
ให้ความรู้กับมารดาเกี่ยวกับประโยชน์ของการดื่มน้ำ
ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการกระตุ้นน้ำนมของมารดา
แนะนำวิธีการบรรเทาอาการคัดตึงเต้านม
ประเมินความเข้าใจของมารดา
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 2 ทารกได้รับน้ำนมไม่เพียงพอเนื่องจากไม่มีประสิทธิภาพในการดูดนม
S: มารดาบอกว่า “ทารกไม่ค่อยดูดนม”
O: ทารกตัวเหลือง
P:
ประเมินลักษณะการดูดนมของทารก
สอนมารดากระตุ้นการดูดนมของทารก
ประเมินความเข้าใจของมารดา พร้อมให้มารดาสาธิตย้อนกลับ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 3 มารดาวิตกกังวลและขาดความรู้ในการเลี้ยงดูบุตรเนื่องจากมีบุตรคนแรก
S: “มารดากังวลเรื่อง การเลี้ยงลูกคนแรก” ครอบครัวกังวลเรื่อง ลูกไม่ค่อยดูดนม ตัวเหลือง ร้องกวนบ่อย
O: มารดาครรภ์แรก
P:
อธิบายให้ทราบว่าความเครียดหรือความวิตกกังวลมีผลต่อการผลิตน้ำนม
แนะนำให้เลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวนานอย่างน้อย 6 เดือน
อธิบายให้มารดาทราบถึงกลไกการหลั่งน้ำนมระยะหลังคลอด
สอนเทคนิคการให้นมอย่างถูกวิธี
ให้ความรู้มารดาในการดูแลทารกแรกเกิด
นำทารกไปรับการฉีดวัคซีนตามนัดทุกครั้ง
สังเกตอาการผิดปกติของทารก
การใช้กระเป๋าเยี่ยม
ก่อนใช้หาที่วางให้เหมาะสม
ใช้มือหนึ่งอุ้มกระเป๋าไว้ อีกมือหนึ่งเปิดกระเป๋า โดยใช้มือสัมผัสด้านนอกของกระเป๋า
เปิดกระเป๋า โดยใช้มือจับที่หูกระเป๋า หยิบเครื่องใช้สำหรับทำความสะอาดมือ
ถอดนาฬิกาข้อมือออก (แต่ไม่ควรวางทิ้งไว้ให้นำติดตัวไปด้วย)
เทน้ำสบู่ใส่อุ้งมือและออกไปล้างมือให้สะอาด
เช็ดมือให้แห้งด้วยผ้าเช็ดมือที่เตรียมมา
เปิดกระเป๋าหยิบของใช้ที่ต้องทำการพยาบาลออกมาวางเรียงบนสิ่งปูรองโดยจัดวางให้เรียบร้อย สะดวกต่อการหยิบใช้
ปิดกระเป๋า จากนั้นให้การพยาบาลตามสภาพปัญหา
เมื่อทำการพยาบาลเสร็จแล้ว นำเครื่องใช้ล้างทำความสะอาดและล้างมือให้สะอาด
การจดบันทึก
ในขณะที่ทำการเยี่ยมบ้าน จำเป็นต้องบันทึก
การเยี่ยมอย่างย่อๆลงในสมุดที่เตรียมไปด้วย
ควรเขียนเป็นข้อความสั้นๆ ซึ่งก่อนจดบันทึกควร
ขออนุญาตและอธิบายให้เจ้าของบ้านเข้าใจด้วยว่า
เป็นการจด เพื่อกันลืม และควรจดแต่ใจความที่สำคัญ
การสิ้นสุดการเยี่ยม
ควรอธิบายให้ผู้ป่วยและครอบครัว
ทราบถึงการเปลี่ยนแปลง
ที่เกิดขึ้นทั้งในทางที่ดีขึ้นและเลวลง
พร้อมทั้งนัดเวลาที่จะมาเยี่ยมครั้งต่อไป
นัดเวลาที่จะมาเยี่ยมครั้งต่อไป
ระยะเวลาของการเยี่ยม
แต่ละกลุ่มเป้าหมายขึ้นอยู่กับ
สภาพปัญหาและความต้องการ
การประเมินผลการเยี่ยมบ้าน
เป็นขั้นตอนที่จะวัดความสำเร็จหรือ
ความล้มเหลวของการปฏิบัติงาน
3.ระยะหลังเยี่ยมบ้าน
3.1 การดูแลความสะอาดอุปกรณ์ของใช้
3.2การทำบันทึกรายงานการเยี่ยมบ้าน
การบันทึกข้อมูลในแบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน ในแฟ้มครอบครัว
ด้านมารดา พบว่า มารดาบอกว่า “คลอด 7 วัน คลอดปกติ ปากแห้ง คัดตึงเต้านม มีน้ำนมไหลออกน้อย น้ำคาวปลาสีแดง ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่ปวดท้องน้อย”
ด้านทารก มารดาบอกว่า ทารกร้องกวนบ่อย ไม่ค่อยดูดนม ตัวเหลือง สะดือแห้งแต่ยังไม่หลุด
สรุปสภาพผู้ป่วยหลังได้รับการดูแล
การติดตามเยี่ยม
การนัดรายเยี่ยมครั้งต่อไป
ครั้งที่ 2 จะเป็นการนำข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ได้วางแผนไว้ ไปให้การพยาบาลครอบครัวรายเยี่ยม
ครั้งที่ 3 เป็นการติดตามการประเมินผล โดยการนัดแต่ละครั้งห่างกัน 2สัปดาห์
พยาบาลอนามัย
ความหมาย
เป็นพยาบาลที่ดูแลสุขภาพ และช่วยเหลือประชาชนในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน
ดูแลผู้ที่มีสุขภาพดี ผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยง และผู้ที่อยู่ในภาวะเจ็บป่วยทั้งระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง
หน้าที่ของพยาบาลอนามัยชุมชน
ดูแลให้บริการสุขภาพของประชาชนครบถ้วนทั้ง 4 มิติ
บทบาทของพยาบาลอนามัยชุมชน
ให้บริการด้านสุขภาพ (Health care provider)
เป็นผู้ให้ความรู้ด้านสุขภาพ (Health educator)
เป็นผู้พิทักษ์ผลประโยชน์ (Advocator)
เป็นผู้บริหารจัดการ (Manager)
เป็นผู้ให้คำปรึกษา (Counselor)
เป็นผู้วิจัย (Researcher)
เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agent)
เป็นผู้นำ (Leader)
เป็นผู้ประสานงาน (Co-ordinator)
เป็นผู้ให้ความร่วมมือ (Collaborator)
คุณลักษณะที่ดีของพยาบาลอนามัยชุมชน
มีมนุษยสัมพันธ์ดี
มีทักษะการติดต่อสื่อสารที่ดี
มีทักษะการตัดสินใจที่ดี
มีความเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
มีการประสานงานดี
เป็นแบบอย่างที่ดีทางด้านสุขภาพ
เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
คุณสมบัติของพยาบาลอนามัยชุมชนที่ดี
ทักษะด้านความรู้และด้านการรักษาพยาบาล
ทักษะด้านการสื่อสาร
ทักษะด้านการสื่อสาร
ศึกษาหาความรู้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
การเยี่ยมบ้าน
ความหมาย
การเยี่ยมบ้าน อ่านเป็นปฏิสัมพันธ์ มีเป้าหมายที่บ้าน ที่พักอาศัย โดยวงที่การส่ง เสริม และดำรงไว้ซึ่งสุขภาพของครอบครัว และสมาชิกในครอบครัว รวมทั้งการสนับสนุน ประคับประคอ ครอบครัวใน วิกฤตการณ์ต่าง ๆ
หลักการการเยี่ยมบ้าน
พยาบาลชุมชนจะต้องเน้นครอบครัวเป็นผู้รับบริการ
ควบคุมความต้องการสุขภาพในแต่ละด้านและป้องกันทั้ง 3 ระดับ
ระดับปฐมภูมิ
ระดับทุติยภูมิ
ระดับตติยภูมิ
ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพมากกว่าการได้รับความช่วยเหลือ
พยาบาลชุมชน ต้องแนะนำตัวกับสมาชิก ขออนุญาตก่อนที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ
วัตถุประสงค์ของการเยี่ยมบ้าน
การเยี่ยมบ้านช่วยให้การประเมินครอบครัว
มีความถูกต้องมากขึ้น
การเยี่ยมบ้านเอื้อโอกาสให้พยาบาลชุมชน
ระบุได้ทั้งปัญหาอุปสรรคและสิ่งสนับสนุนที่
ช่วยให้ครอบครัวบรรลุเป้าหมายของการดูแลสุขภาพครอบครัว
เพื่อให้การพยาบาลแก่ผู้รับบริการและครอบครัว
4 เพื่อติดตามผลการรักษา
เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยและครอบครัวใช้บริการสาธารณสุขต่าง ๆ
เพื่อส่งเสริมการดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาวะที่ดี
มีส่วนร่วมกับครอบครัวในการวางแผนแก้ไขปัญหา และความต้องการด้านสุขภาพให้เหมาะสม
ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างความเชื่อถือไว้วางใจ
จุดเน้นของการเยี่ยมบ้าน
ไม่ได้ไปเยี่ยมผู้ป่วยหมดทุกราย ควรจัดลำดับความสำคัญ
ไม่ได้ไปตรวจประเมินสภาพบ้านเป็นการดูความเป็นอยู่ของผู้ป่วยที่จะมีผลต่อสุขภาพ
ไม่ได้ไปแจกยาหรืออุปกรณ์การแพทย์ แต่ให้สิทธิ์การรักษาตามสิทธิการรักษาตามปกติ
ไม่ได้ไปแค่เยี่ยมผู้ป่วย แต่ไปเยี่ยมในฐานะเพื่อนมนุษย์
กระบวนการของการเยี่ยมบ้าน
ระยะก่อนเยี่ยมบ้าน
1.1 ระบุข้อบ่งชี้หรือประเภทของการเยี่ยมบ้าน
1.1.1 ประเภทของการเยี่ยมบ้าน
การเยี่ยมบ้านคนเจ็บป่วย
กรณีฉุกเฉิน
โรคเฉียบพลัน
โรคเรื้อรัง
การเยี่ยมบ้านคนใกล้เสียชีวิต
การดูแลความเจ็บป่วยระยะสุดท้าย (End of Life Care)
ประคับประคองภาวะโศกเศร้าของครอบครัว
ประกาศการเสียชีวิต
การเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินสภาวะสุขภาพ
ประเมินสภาวะสุขภาพของผู้ป่วยแล้ว ควรดูแลต่อเนื่องไปถึงสมาชิกต่างๆในครอบครัวร่วมไปด้วยในการเยี่ยมบ้านในแต่ละครั้ง
การเยี่ยมบ้านหลังจากออกจากโรงพยาบาล
นอนโรงพยาบาลโดยโรคฉับพลัน อุบัติเหตุ หรือการผ่าตัด ผู้ป่วยที่มานอนโรงพยาบาลโดยโรคต่างๆ หลังจากที่ออกจากโรงพยาบาลสามารถที่จะติดตามเยี่ยมบ้านต่อได้
ครอบครัวและบุตรที่เกิดใหม่
ไม่มาตามนัด
1.1.2 การแบ่งกลุ่มผู้ป่วย
การแบ่งกลุ่มผู้ป่วยเพื่อให้การพยาบาลที่บ้าน
กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่มีภาวะความเจ็บป่วยอยู่
ในระยะที่มีอาการดีขึ้น อาการคงที่
ผู้ป่วยมีภาวะฉุกเฉิน เพื่อลดความรุนแรงและป้องกันอันตรายมากขึ้น
ผู้ป่วยมีภาวะโรคเฉียบพลัน เพื่อบรรเทาอาการ ลดความรุนแรง และส่งต่อไปรับการรักษาได้ทันเวลา
ผู้ป่วยมีภาวะโรคเรื้อรัง เพื่อนำมาเป็นข้อมูลวางแผนดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องระยะยาว
กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่มีอาการเจ็บป่วย
ต้องเข้ารับการรักษา
ในโรงพยาบาลด้วยการคอดบุตร
เพื่อการติดตามประเมินอาการหลังได้รับการรักษาจากโรงพยาบาล หรือสาเหตุที่ผู้ป่วยไม่มาตรวจตามนัด
กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่มีความจำกัด
ในการไปใช้บริการ แต่ต้องการ
การประเมินเพื่อติดตามสภาวะสุขภาพ
เพื่อประเมินภาวะสุขภาพ และความต้องการจำเป็นในการดูแลรักษาสุขภาพ
กลุ่มที่ 4 กลุ่มที่มีการดำเนินโรคในระยะสุดท้าย
เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบายมากที่สุด
ระดับความรุนแรงของผู้ป่วย
ความรุนแรงระดับที่ 1 หมายถึง กลุ่มผู้ป่วยที่เริ่มเจ็บป่วยระยะแรกจากการเป็นโรคเรื้อรัง มีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเล็กน้อย
ความรุนแรงระดับที่ 2 หมายถึง กลุ่มผู้ป่วยที่มีการดำเนินของโรคส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตปกติ มีความจำกัด/ไร้ความสามารถเล็กน้อย
ความรุนแรงระดับที่ 3 หมายถึง กลุ่มผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของโรคทำให้เกิดความพิการ/จำกัดความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน
1.1.3 การจัดลำดับการเยี่ยมบ้าน
หลักความจำเป็นเร่งด่วนของผู้ป่วย เช่น การเกิดเหตุฉุกเฉินกับผู้ป่วยในครอบครัว
หลักการแพร่กระจายเชื้อ ควรเยี่ยมผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อ เป็นอันดับสุดท้าย
1.1.4 การเลือกครอบครัวสำหรับเยี่ยมบ้าน
ครอบครัวที่สมาชิกมีสุขภาพเบี่ยงเบนไปจากปกติ
2 .ครอบครัวที่มีสมาชิกอยู่ในระยะเปลี่ยนแปลงอันเนื่องจากพัฒนาการ
ครอบครัวที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ
ครอบครัวที่ควรติดตามเยี่ยมบ้านในระดับต้น ๆ
ครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ครอบครัวที่มีผู้ด้อยโอกาส
ครอบครัวที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดในแต่ละช่วงวัยของชีวิต
ครอบครัวที่มีผู้อายุ
ครอบครัวที่ต้องควบคุมโรคระบาดต่าง ๆ
1.2 กำหนดวัตถุประสงค์ในการเยี่ยมบ้านให้ชัดเจน
หรือการติดตามเพื่อทำอะไรบ้าง
วัตถุประสงค์จะช่วยในการเตรียมการ
1.3 การวางแผนการเยี่ยมบ้าน
1.3.1 การเตรียมตัว
1.3.1.1 เตรียมตัวเอง เช่น การแต่งกาย
1.3.1.2 เตรียมความรู้
1.3.1.3 เตรียมฝึกทักษะที่จำเป็นในการเยี่ยมบ้าน
การสร้างสัมพันธภาพ
ทักษะการสัมภาษณ์และการสังเกต
ทักษะในการสอนและให้คำแนะนำ
ทักษะในการให้คำปรึกษา
ทักษะในการให้บริการที่บ้าน
1.3.2 การเตรียมข้อมูล
สภาพของชุมชน เพื่อให้ทราบข้อมูลของชุมชนนั้น
ข้อมูลเฉพาะตัวผู้ป่วย
ข้อมูลทั่วไป และข้อมูลทางสุขภาพของสมาชิกของแต่ละคน ชนิดของครอบครัว พันธกิจของครอบครัว ที่ตั้งของครอบครัว สภาพสิ่งแวดล้อม สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
ข้อมูลทางด้านสังคม
สถานภาพทางสังคมของสมาชิกในครอบครัว
ข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อม
1.3.3 การเตรียมอุปกรณ์ในการเยี่ยมบ้าน
กระเป๋าเยี่ยม
ของใช้ประเภทผ้า ได้แก่ ผ้าเช็ดมือ 1-2 ผืน ผ้ากันเปื้อน หรือเอี๊ยมพลาสติก 1 ตัว ผ้าชั่งน้ำหนักเด็ก
เวชภัณฑ์และของใช้ที่จำเป็นอื่นๆ ได้แก่ ขวดใส่น้ำยาที่จำเป็น
สมุดบันทึก
สำหรับจดบันทึกข้อมูลย่อๆที่จำเป็นต้องใช้ในการเยี่ยม เช่น ปัญหาของบุคคลและครอบครัว
ระยะเยี่ยมบ้าน
เพื่อวินิจฉัยโรค/ปัญหาเบื้องต้นและให้
การช่วยเหลือโดยปฏิบัติ
ตามกระบวนการ Nuring process
การประเมินสภาพ (Assessment)
1.1 การสร้างสัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัว
1.2 การประเมิน จะต้องมีทักษะที่สำคัญ
ทักษะในการสื่อสาร (Communication skill), ทักษะในการค้นหาและแก้ปัญหา (Problem tracing and solving skill), การให้บริการดูแลด้านจิตวิทยาและสังคม (Psychosocial care), การใช้เครื่องมือทางเวชศาสตร์ครอบครัว (Family tools)
1.3 การใช้กระเป๋าเยี่ยม
ควรมีความรู้ในการจัดหากระเป๋าเยี่ยมเพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ ต้องรู้จักการใช้กระเป๋าให้ถูกวิธี รู้จักวิธีการทำความสะอาดและการจัดกระเป๋า
การวินิจฉัยการพยาบาล (Diagnosis)
เป็นการค้นหาโรคหรือสภาวะสุขภาพ
การวางแผน (Planning)
4 การปฏิบัติการพยาบาล
(Implementation)
การจดบันทึก ในขณะที่ทำการเยี่ยมบ้าน จำเป็นต้องบันทึกการเยี่ยมอย่างย่อๆลงในสมุดที่เตรียมไปด้วย
การประเมินการพยาบาล (Evaluation)
5.1 การประเมินผลการเยี่ยมบ้าน ขั้นตอนที่จะวัดความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการ ปฏิบัติงาน
5.2 กำหนดการเยี่ยม จะขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาและความต้องการ
5.3 การสิ้นสุดการเยี่ยม ควรอธิบายให้ผู้ป่วยและครอบครัวทราบถึงการเปลี่ยนแปลง
ระยะหลังเยี่ยมบ้าน
3.1 การดูแลความสะอาดอุปกรณ์ของใช้ หลังกลับจากเยี่ยมบ้านควรล้างมือเป็นอันดับแรก
แล้วจึงทำความสะอาดของใช้ตามประเภทของสิ่งของ
3.2 การบันทึกข้อมูลในแบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน ในแฟ้มครอบครัว หรือ OPD card หรือในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการใช้รูปแบบ SOAP
3.3 การวิเคราะห์และการวางแผนแก้ปัญหา
โดยแบ่งตามระดับของการดูแล
3.3.1 ระดับบุคคล (Individual) ซึ่งมีวิธีการดูแล
Case approach ซึ่งมักเน้นการรักษาโรค (Biomedical care)
Whole person approach เน้น Biomedical และ Psychological care
Holistic approach เป็นแบบองค์รวม คือ มีทั้ง Biomedical Psychological และ Social care
3.3.2 ระดับครอบครัว
Family-oriented care เน้นหาข้อมูลสุขภาพ และความสัมพันธ์ในครอบครัว
Family as a unit เน้นการให้การดูแลบุคคลและแก้ปัญหาองค์รวม
3.3.3 วางแผนติดตามหรือเยี่ยมครั้งต่อไประบุจำนวนครั้งของการเยี่ยมบ้าน หรืออาจยุติการเยี่ยมบ้านถ้าภารกิจสิ้นสุด
การบันทึกข้อมูลในแบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน
ในแฟ้มครอบครัว หรือ OPD card หรือในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการใช้รูปแบบ SOAP
S = subjective คือ ข้อมูลที่ได้รับคำบอกเล่าจากผู้ป่วยและญาติ ซึ่งครอบคลุมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
O = Objective คือ ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและตรวจพบโดยผู้เยี่ยม
A =Assessment คือ การประเมินและระบุปัญหาของผู้ป่วยและครอบครัว
P = Plan management เป็นการวางแผนเพื่อแก้ปัญหาอย่างครอบคลุม เบ็ดเสร็จ ผสมผสาน ต่อเนื่อง และแบบองค์รวม
แฟ้มอนามัยครอบครัว (Family folder หรือ family file)
แฟ้มอนามัยครอบครัว (Family folder หรือ family file) เป็นแฟ้มที่แสดงข้อมูลพื้นฐานของสมาชิกในครอบครัว และใช้เป็นที่เก็บข้อมูลสรุปสภาวะสุขภาพรายบุคคลที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ของสมาชิกแต่ละคน
แฟ้มสุขภาพครอบครัว (Family folder หรือ family file) มีความสำคัญเป็นสื่อหรือเครื่องมือที่ใช้รู้จักและเข้าใจชีวิตของชาวบ้านและครอบครัวได้อย่างรอบด้าน
แผนที่บ้าน
ชีวประวัติ และข้อมูลทางเศรษฐกิจ สังคม
2.ผังเครือญาติ
แบบฟอร์มการลงทะเบียนครอบครัว
มารดาหลังคลอด
อาการและความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ที่พบในสตรีหลังคลอด
เต้านมคัดตึงและจะมีน้ำนม ชนิดที่เรียกว่า นมน้ำเหลือง
น้ำคาวปลา Lochia
มดลูกหดรัดตัว หลังคลอดประมาณ 2 สัปดาห์
อาการปวดท้องน้อย อาการไม่มากหนักพอทนได้
ปวดแผลฝีเย็บ
ปัสสาวะออกมาก
น้ำหนักหลังคลอดลูกจะลดลงทันที 5-6 กิโลกรัม
ด้านอารมณ์หลังคลอด
มีความสุข
วิตกกังวล
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
การส่งเสริมมารดาหลังคลอด
การพักผ่อนและลดการทำงาน
รักษาความสะอาด
หลังคลอดไม่ควรเพศสัมพันธ์ 6 สัปดาห์หลังคลอด
หากมีอกาการผิดปกติควรใาพบแพทย์
วางแผนครอบครัว
ตรวจร่างกายหลังคลอด
ทารก
ทารก หมายถึง ชีวิตตั้งแต่กำเนิดจนถึง 24 เดือน
ภาวะแทรกซ้อนที่มักเกิดขึ้นในทารกแรกเกิด
ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ
ภาวะพร่องออกซิเจน
ภาวะตัวเหลือง
การดูแลทารกแรกเกิดแบบองค์รวม
ตามเกณฑ์กรมอนามัย 7
การดูแลอุณหภูมิร่างกายให้อยู่ในช่วง 36.8-37.2 องศาเซลเซียส
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่งและลำคออยู่ในท่าที่เป้นกลาง
ป้องกันการติดเชื้อ
ให้อาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
ให้การรักษาเฉพาะ
ส่งเสริมการสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารก
ดูและสิ่งแวดล้อมให้ทารกอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่คล้ายสภาพในครรภ์
การส่งเสริมสุขภาพทารก
การรับประทาน
พัฒนาการด้านต่างๆ
การได้รับวัคซีน
การเจริญเติบโตของร่างกาย
โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
ปัจจัยที่แก้ไขไม่ได้ (กรรมพันธุ์ เพศ อายุ)
ปัจจัยที่แก้ไขได้ (พฤติกรรม ความรู้ ภาวะเครียด
การดูแลตนเองผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
ความรู้และการรับรู้
พฤติกรรมการรับประทานอาหาร
ภาวะเครียด
การดื่มสุราและการสูบบุหรี่
การออกกำลังกาย
ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง
และโรคเบาหวาน
โรคความดันโลหิตสูง (จะทำให้เกิดการทำลายของอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ในร่างกายได้ เช่น หัวใจ สมอง ไต หลอดเลือดและตา)
โรคเบาหวาน
ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลัน อาจมีมีระดับน้ำตาลต่ำเกินไปหรือสูงมากเกินไป
ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง
โรคแทรกซ้อนจากหลอดเลือดใหญ่
โรคแทรกซ้อนจากหลอดเลือดเล็ก
โรคแทรกซ้อนทางระบบประสาท
Down Syndrome
เป็นโรคทางพันธุกรรม
ที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม
อาการและอาการแสดง
ลักษณะภายนอกที่พบผิดปกติ มีหลายประการ ส่วนใหญ่เป็นความผิดปกติเล็กน้อย ที่ทำให้เป็นข้อสังเกตในการวินิจฉัยตั้งแต่แรกเกิด
ปัญญาอ่อน จะมีพัฒนาการช้ากว่าเด็กธรรมดา มีไอคิวเฉลี่ยระหว่าง 25-50
การเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ ผู้ชายมีองคชาติเล็กกว่าปกติ ผลิตสเปิร์มได้น้อย ผู้หญิงมีบุตรได้แต่มีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ
การดูแลและการส่งเสริมพัฒนาการ
ให้ความรู้เกี่ยวกับตัวเด็ก
ให้ความรู้ในการส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการตามวัยตั้งแต่อายุยังน้อยโดยเริ่มตั้งแต่อายุ 12-15 เดือน
การฟื้นฟูสมรรถภาพ
แนะนำในการพาเด็กมาตรวจตามนัด
ให้คำปรึกษาในเรื่องการศึกษาที่เหมาะสม
แนะนำบิดามารดาให้พาบุตรเพศหญิงที่มีภาวะปัญญาอ่อน
วิธีการอบรมเด็กปัญญาอ่อน
ขั้นที่ 1 ให้รู้จักการปฏิบัติตนภายในครอบครัว
ขั้นที่ 2 ให้รู้จักการปฎิบัติในสังคม
ขั้นที่ 3 การอบรมด้านวิชาชีพ