Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
งานวิจัยทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัย…
งานวิจัยทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัย ในโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ
การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
เป็นการดำเนินงานให้ได้มาซึ่งทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณภาพ เริ่มจากการจัดทำนโยบาย การจัดสรรงบประมาณ กระบวนการคัดเลือก กระบวนการจัดหาโดยวิธีการจัดซื้อ/บอกรับ ประกอบด้วยขั้นตอนการจัดซื้อ/บอกรับทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ หลักการพิจารณาการต่ออายุ/การยกเลิกการเป็นสมาชิกทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการบอกรับวารสารอิเล็กทรอนิกส์ควบคู่กับฉบับพิมพ์ การบอกรับทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์แบบภาคีสมาชิก (consortium) หรือความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย
1.3 การคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ โดยส่วนใหญ่ทั้งห้องสมุดกลางและห้องสมุดคณะ ผู้มีสิทธิ์เสนอรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ คือ ผู้ใช้บริการที่สังกัดห้องสมุดทุกสถานภาพสามารถเสนอแนะได้ทั้งหมด บทบาทในการเสนอแนะรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ที่ผ่านมาของห้องสมุด ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มอาจารย์ และบรรณารักษ์ตามลำดับ
1.4 วิธีการเสนอรายชื่อเพื่อการคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ โดยส่วนใหญ่ทั้งห้องสมุดกลางและห้องสมุดคณะ วิธีการหรือช่องทางที่ผู้ใช้บริการเสนอรายชื่อเพื่อการคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ให้กับห้องสมุด ส่วนใหญ่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการที่สังกัดห้องสมุด สามารถเสนอแนะทรัพยากรได้ทุกช่องทาง เช่น ทางบันทึกข้อความ ทางหน้าเว็บไซต์ห้องสมุด ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) ทางโทรศัพท์ ทางแบบฟอร์มการเสนอแนะ หรือเสนอแนะด้วยตนเอง เป็นต้น
1.2 งบประมาณสำหรับการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ ในส่วนของห้องสมุดกลางได้รับงบประมาณสำหรับการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ จาก 2 แหล่ง คือ เงินงบประมาณแผ่นดิน และเงินรายได้ของห้องสมุด บรรณารักษ์ส่วนใหญ่ระบุว่า มีการจัดสรรงบประมาณสำหรับการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์เป็นสัดส่วนร้อยละที่ชัดเจน ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่ร้อยละ 60-70
1.5 หลักเกณฑ์การประเมินเพื่อการคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ โดยส่วนใหญ่ทั้งห้องสมุดกลางและห้องสมุดคณะ ใช้เกณฑ์เพื่อตัดสินใจในการคัดเลือกแบ่งเป็น 4 ประเด็น โดยเรียงลำดับความสำคัญ คือ 1) เนื้อหาตรงหรือครอบคลุมหลักสูตรการเรียนการสอนภายในมหาวิทยาลัย 2) บริษัทต้องให้มีการทดลองใช้และดูสถิติจากการทดลองใช้ พร้อมทั้งข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการจากการทดลองใช้ 3) ความน่าเชื่อถือหรือความมีชื่อเสียงของสำนักพิมพ์ และ 4) ราคาไม่สูงเกินไป
1.6 การคัดเลือกการบอกรับวารสารอิเล็กทรอนิกส์ควบคู่กับวารสารฉบับพิมพ์ หากไม่มีเงื่อนไขจากสำนักพิมพ์ที่จะต้องให้บอกรับควบคู่กัน โดยการคงรูปเล่ม (maintain holding) ฉบับพิมพ์แล้ว บรรณารักษ์ห้องสมุดส่วนใหญ่ทั้งห้องสมุดกลางและห้องสมุดคณะระบุว่า เน้นบอกรับวารสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพียงแบบเดียว ไม่บอกรับแบบควบคู่กันกับฉบับพิมพ์ เนื่องจากบรรณารักษ์ระบุเหตุผลส่วนใหญ่ คือ ราคาถูกกว่าบอกรับควบคู่กัน และเพื่อต้องการลดความซ้ำซ้อนกัน มีปัญหาด้านพื้นที่จัดเก็บ ผู้ใช้บริการมีหลายวิทยาเขต มีปัญหาเรื่องการไม่ได้รับตัวเล่ม ไม่ต้องมีค่าใช้จ่าย และค่าเสียเวลาเกี่ยวกับตัวเล่ม และผู้ใช้บริการสามารถใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
1.1นโยบายการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ ในส่วนของห้องสมุดกลาง บรรณารักษ์ห้องสมุดส่วนใหญ่ระบุว่า มีการกำหนดนโยบายการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์เป็นลายลักษณ์อักษรไว้ในนโยบายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด โดยวิธีการคือ ได้มาจากการประชุมและพิจารณาร่วมกันของคณะกรรมการห้องสมุด ซึ่งถือว่ามีความเป็นปัจจุบัน เนื่องจากมีการปรับปรุงเนื้อหาไม่เกิน 2 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้เนื้อหาของนโยบายในภาพรวม เน้นการจัดหาทรัพยากรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยเน้นเฉพาะวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-journal) เท่านั้น ส่วนหนังสือ ยังไม่ได้กำหนดว่าจะต้องเป็นรูปแบบใด แต่ขึ้นอยู่กับผู้ใช้บริการเสนอแนะเข้ามา
1.7 การจัดซื้อ/บอกรับทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งห้องสมุดกลางและห้องสมุดคณะ บรรณารักษ์ส่วนใหญ่ระบุว่า นิยมใช้วิธีการบอกรับทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งการบอกรับโดยตรงและการบอกรับผ่านตัวแทนจำหน่าย กรณีการบอกรับผ่านตัวแทนจำหน่าย มีทั้งตัวแทนจำหน่ายภายในประเทศ และตัวแทนจำหน่ายต่างประเทศ ซึ่งบรรณารักษ์ห้องสมุดกลางส่วนใหญ่ระบุว่า นิยมบอกรับผ่านตัวแทนจำหน่ายภายในประเทศ มากกว่าบอกรับผ่านตัวแทนจำหน่ายต่างประเทศ เนื่องจากความสะดวกในการประสานงาน และการติดต่อสื่อสาร ส่วนเหตุผลในการบอกรับโดยตรง เนื่องจากไม่มีตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย และบางสำนักพิมพ์มีเงื่อนไขที่ต้องการให้ห้องสมุดบอกรับโดยตรงเท่านั้น
1.8 การพิจารณาและขั้นตอนการบอกรับทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1) ประเภทฐานข้อมูลทั้งฐาน ขั้นตอนการพิจารณาการบอกรับ/การซื้อใหม่ ค่อนข้างใกล้เคียงกันทุกห้องสมุด แต่จะมีความแตกต่างกันตรงที่ผู้พิจารณาตัดสินใจในการบอกรับ/การซื้อ คือบรรณารักษ์ห้องสมุดกลางและห้องสมุดคณะส่วนใหญ่ระบุว่า ต้องเข้าสู่กระบวนการประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาตัดสินใจ ซึ่งมีขั้นตอนโดยสรุปดังนี้
ก. บรรณารักษ์ได้รับข้อเสนอแนะจากอาจารย์คณะต่างๆที่มีความสนใจและต้องการให้บอกรับ/ซื้อฐานข้อมูลใหม่ หรือกรณีที่บริษัท/สำนักพิมพ์มานำเสนอฐานข้อมูลใหม่
ข. บริษัทจะมีการนำเสนอ สาธิตการใช้ (เฉพาะบางฐานข้อมูล) และทำการเปิดทดลองใช้ ส่วนใหญ่ประมาณ 2 เดือนขึ้นไป ซึ่งบรรณารักษ์ห้องสมุดจะประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้ใช้ทดลองใช้
ค. ผู้ใช้บริการส่งข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะกลับมายังห้องสมุด
ง. เมื่อการทดลองใช้เสร็จสิ้นแล้ว บรรณารักษ์จะรวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการแต่ละคณะ รวมทั้งแนบสถิติการทดลองใช้ เพื่อนำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการ
จ. คณะกรรมการประชุมและร่วมกันพิจารณา เสนอข้อคิดเห็น ซึ่งหากมีมติไม่เห็นด้วยในการบอกรับ/การซื้อ ก็จะแจ้งให้ทราบพร้อมเหตุผล แต่หากมีมติจากที่ประชุมเห็นด้วย ก็จะแจ้งผู้รับผิดชอบดำเนินการต่อไป
2) ประเภทหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(e-book) รายเล่ม/วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-journal) รายชื่อ ขั้นตอนการพิจารณาการบอกรับ/การซื้อใหม่ของห้องสมุดส่วนใหญ่ บรรณารักษ์ผู้รับผิดชอบสามารถตัดสินใจในการบอกรับ/ซื้อใหม่ได้โดยตรง โดยมีขั้นตอนโดยสรุปดังนี้คือ
ก. บรรณารักษ์ได้รับข้อเสนอแนะจากผู้ใช้บริการคณะต่างๆ ที่มีความสนใจและต้องการให้บอกรับ/ซื้อรายชื่อใหม่
ข. บรรณารักษ์ตรวจสอบความซ้ำและพิจารณาแล้ว จากนั้นสามารถตัดสินใจบอกรับ/ซื้อได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านคณะกรรมการ เนื่องจากลักษณะจะคล้ายกับการซื้อหนังสือภาษาอังกฤษเป็นรายเล่ม หรือบอกรับวารสารฉบับพิมพ์เป็นรายชื่อ ซึ่งจำนวนไม่มากและราคาไม่สูงเหมือนกับการบอกรับ/การซื้อทั้งฐานข้อมูล
มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ (national research university)
มหาวิทยาลัยที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกจากโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้รับประกาศเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2553 จำนวน 9 แห่ง คือ 1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2) มหาวิทยาลัยมหิดล 3) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 4) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 5) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 6) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 7) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 8) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ 9) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
เกณฑ์ในการคัดเลือก
1 ต้องติดลำดับ 1 ใน 500 มหาวิทยาลัยโลก ซึ่งมีมหาวิทยาลัยผ่านเกณฑ์ 7 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2 ถ้าหากไม่อยู่เกณฑ์นี้จะต้องเข้าเกณฑ์ 3 ข้อดังต่อไปนี้
มีผลงานวิจัยในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาอย่างน้อย 500 เรื่อง
จากงานวิจัย 500 เรื่องต้องมี 5 สาขาวิชาหลัก และมีความโดดเด่นเฉพาะด้านอย่างน้อย 2 ใน 5 สาขาวิชาดังกล่าว
อาจารย์ในมหาวิทยาลัยดังกล่าว ต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอกอย่างน้อย 40 % จากจำนวนคณาจารย์ทั้งหมด