Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หม้อที่ขูดไม่ออก ผู้แต่ง: อัญชัน (สามี: ผู้แต่งกำหนดให้ตัวละครหลักมีบุคล…
หม้อที่ขูดไม่ออก
ผู้แต่ง: อัญชัน
ชื่อเรื่อง: มีความสอดคล้องกับเนื้อเรื่องอย่างไร
ชื่อเรื่องหม้อที่ขูดไม่ออกสอดคล้องกับเนื้อเรื่องเพราะ หม้อที่ขูดไม่ออกเปรียบเสมื่อนนิสัยของสามีที่เปลี่ยนไม่ได้ (ฌอน)
เกศ - วลีที่ว่า 'หม้อที่ขูดไม่ออก' หมายถึงนิสัยของตัวผู้เป็นสามี ที่ไม่สามารถแก้ไข้ได้แล้ว
ภัทร - ชื่อเรื่องหม้อที่ขูดไม่ออกนั้นเป็นสัญลักษณ์ของเรื่องเป็นต้นตอของเรื่องทุกอย่างที่เกิดขึ้น มีความหมายว่าคนเราที่เปลี่ยนนิสัยไม่ได้แล้วหรือเป็นสันดานของคนๆนั้น เปรียบกับสำนวนสุภาษิตว่าสันดอนขุดง่าย สันดานขุดยาก
Kaoru: คําที่ว่าหม้อขูดไม่ออกนั้นมีความหมายกับเนื้อเรื้องว่าหม้อที่ขูดไม่ออกนั้นก็เปรียบได้กับว่านิสัยสันดานที่แก้ไม่ได้
ภข: "ขูดไม่ออก"มีความหมายไปถึงนิสัยของสามีที่แก้ไขไม่ได้
อัญชันจึงนำลักษณะพฤติกรรมของสามีที่กระทำต่อภรรยาแบบซ้ำาซากและต่อเนื่องจนเป็น นิสัยถาวรไม่สามารถแก้ไขได้เปรียบเสมือนคราบเขม่าสีดำติดหม้อที่ไหม้จนยากเกินที่ขัดให้กลับมาขาว สะอาดได้ดังเดิม
ปั่น
สามี: ผู้แต่งกำหนดให้ตัวละครหลักมีบุคลิกลักษณะ และพฤติกรรมอย่างไรบ้าง และพฤกติกรรมเหล่านี้สะท้อนอะไรในสังคม
ผู้เเต่งกำหนดให้ตัวละครสามี มีลักษณะเเละบุคลิภายนอกที่ดูดี (หล่อ , รูปร่างดี เเละ ฉลาด)เพราะอยากจะสะท้อนค่านิยมของสาวไทยในสมัยนั้นว่าต้องการผู้ชายที่นาเชื่อถือเเละเป็นหน้าตาในสั
งคม
นล
เกศ - ผู้แต่งต้องการสื่อว่า
สามีเป็นคนอารมณร้อน พฤติกรรมรุนแรง ชอบทําร้ายร่างกายภรรยา เอาตัวเป็นใหญ่ เห็นแก่ตัว ต้องตามใจสามี (ฌอน)
สามีผู้มีหน้าที่การงานที่ดีแต่ลักษณะนิสัย กลับไม่ได้สอดคล้อง กับหน้าที่การงานที่ดีเสมอไป ตรงกันข้ามกลับมีนิสัยขี้ตระหนี่ อารมณ์ร้าย ชอบกด ขี่ข่มเหงภรรยาที่อ่อนแอกว่าให้อยู่ใต้อำนาจ ซึ่งมีมูลเหตุมาจากพื้นฐานครอบครัวที่ยากจน เพราะผู้ที่มี พื้นฐานมาจากครอบครัวที่ยากจนย่อมมีความเห็นแก่ตัว ขี้ตระหนี่ ใส่ใจกับเรื่องเล็กๆน้อยๆที่ทำให้เสีย ประโยชน์เสมอ เห็นได้จากเรื่องที่ภรรยาทำข้าวของเล็กน้อยในบ้านเสียหาย ผู้เป็นสามีก็บริภาสเธออย่าง รุนแรงและแสดงอาการขี้ตระหนี่ออกมาให้เห็นชัดจวย ปั่น
พฤติกรรมที่ไม่ดีเช่นทำร้ายของสามีต่อภรรยาเเสดงไห้เห็นว่าสังคมไทยนั้นเคารพผู้ชายว่าให้เป็นใหญ่กว่าผู้หญิง ผู้ชายจึงไม่ต้องเคารพผู้หญิง เเละการที่สามีงกเงินเเสดงไห้เห็นค่านิยมของสังคมที่เห็นคุนค่าของเงินมาก นล
ภัทร - สามีนั้นมีพื้นฐานฐานะยากจน มาจากครอบครัวที่ขาดความอบอุ่น ดิ้นรนต่อชีวิต จุดด้อยของสามีคือเป็นคนที่ขี้รำคาญ อารมณ์ร้อน พูดร้าย ฯลฯ
ภข: สามีเป็นคนที่มีพื้นฐานที่ยากจนมาตั้งแต่เด็ก เขาต้องสู้ชีวิตอย่างปากกัดตีนถีบ ผู้เขียนได้อธิบายว่าเขาเป็นคนที่รูปร่างหน้าตาดี และฉลาดปราดเปรื่องในขั้นที่ได้ทำงานเป็นรองผู้จัดการของธนาคารชื่อดังเลยทีเดียว ปัจจัยเหล่านี้บอกกับเราว่าเขาเป็นที่เห็นคุณค่าในเงินในมุมมองที่ไม่เหมือนคนทั่วไป เขาจะไม่ยอมเสียเงิน หรือยอมเป็นฝ่ายเสียเปรียบเลยแม้แต่นิดเดียว ในคุณสมบัติความตระหนี่และขี้งกของเขานั้น เป็นสามเหตุหลักของปัญหาในเรื่องนี้ นิสัยนี้ของเขา ทำให้เขาเป็นคนอารมณ์แปรปรวน ชอบทะเลาะเบาะแว้ง และชอบทำร้ายลูกเมียของเขาทั้งในด้านวาจาและร่างกาย โดยเขาสะท้อนให้เห็นถึงเพศชายในสังคมไทย ที่มักจะมีบทบาทหน้าที่ที่สูงที่สุดในครอบครัวแบบเป็นช้างเท้าหน้า
ภรรยา: ผู้แต่งกำหนดให้ตัวละครหลักมีบุคลิกลักษณะ และพฤติกรรมอย่างไรบ้าง และพฤกติกรรมเหล่านี้สะท้อนอะไรในสังคม
มีพื้นฐานชีวิตมาจากครอบครัวที่อบอุ่นและมีฐานะปานกลาง มีลักษณะนิสัยที่ต่างกันกับสามีโดยสิ้นเชิง ผิดกับเธอที่เป็นคนจิตใจดี และขี้เกรงใจผู้อื่น วันหนึ่งเขารู้ว่าเธอทำหม้อที่เพิ่งซื้อมาใหม่ไหม้ เขาจึงทำร้ายร่างกายเธอจนเกือบเอาชีวิตไม่รอด แต่เธอก็ต้องยอมให้สามีกดขี่ข่มเหงและทนอยู่กับนิสัยหรือสันดานของสามีเช่นนี้ต่อไปโดยไม่มี ทางเลี่ยงได้
ปั่น
ทำไมนางเอกต้องทน/ครูปู
เป็นผู้หญิงที่ขาดไหรพริบ ความมั่นใจในตนเอง เเละเป็นคนที่อ่อนต่อโลก จากเนื้อเรื่องนั้นเราใด้ทราบว่า ภรรยาคนนี้มาจากครอบครัวที่อบอุ่น ฐานะปานกลาง ไม่มีระเบียบหรือสิ่งกดดันในชีวิตมากมาย เราสามารถเห็นใด้จากต้นเรื่องว่าภรรยานั้นไม่มีไหวพริบหรือจิตใจที่มั่นคงพอในการที่จะเเก้ปัญหา ผลสุดท้ายคือข้าวต้มไหม้เเละหม้อก็พัง ผู้เเต่งกำหนดให้ตัวละครมีบุคลิกภาพที่ไม่ 'dominant' เเละเเข็งเเรงในมุมการดำรงชีวิตให้เป็นจุดต้นตอของปัญหาในเรื่อง ตัวละครนี้สามารถเเสดงให้เห็นถึงสังคมไทยในหลายๆมุม ความเชื่อที่ว่าผู้ชายมีอิทธิพลมากกว่าผู้หญิง ความที่ว่าเพศหญิงเป็นเพศที่อ่อนเเอกว่าเพศชาย เเละสุดท้ายนี้คือความที่ว่าคนเราต้องใช้ชีวิตอย่างฉลาด มีไหวพริบ ไม่งั้นอาจนำปัญหามาให้ตนเองในภายหลัง
กัน
หมายความว่าคนที่มาจากครอบครัวดี มีความอบอุ่น ไม่สามารถเอาตัวรอดได้ใช่หรือเปล่า/ ครูปู
ภัทร - ภรรยานั้นมีพื้นฐานฐานะที่ดี อบอุ่น เป็นลูกคนเดียว ทุกคนรัก เป็นผู้หญิงที่ไม่มั่นใจในตนเอง กำพร้าพ่อ บริหารเวลาไม่เป็น ดูแลตนเองไม่เป็น ไม่มีไหวพริบ ไม่มีระเบียบ ไม่สู้คน ไม่ทันคน สะเปะสะปะ อ่อนต่อโลก ซุ่มซ่าม แต่ถึงแม้ว่ามีข้อเสียเยอะ แต่เขาก็มีข้อดี เช่น รักครอบครัว เอาใจใส่ รับภาระงานบ้าน มีความอดทนสูง
ข้อดีเหล่านี้ทำเพราะความจำยอมหรือทำด้วยความเต็มใจ/ครูปู
ภข: ภรรยาในเรื่องนี้ แม้ว่าเราจะไม่รู้ชื่อ แต่นิสัยของเธอแสดงออกอย่างเด่นชัดจากท่าทางของเธอ ผู้เขียนยังได้เล่าถึงอดีต ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการตัดสินนิสัยใจคอของตัวละครดังกล่าวอีกด้วย เธอจะมีนิสัยที่อ่อนโยน ใจดี และนอบน้อม ซึ่งบางทีจะกลายเป็นผลเสียกับเธอ
โดยตรงกันข้ามกับสามีเธอ เธอไม่สู้คน เธอมักจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบเสมอ ดูได้จากตอนที่เธอทำงานเป็นพนักงานขายของ เธอไม่สามารถขายของได้ตามที่ต้องการ จึงทำให้เธอตกงาน
เธอเป็นคนไม่มีไหวพริบ ซุ่มซ่าม และรับมือกับปัญหารอบตัวไม่เก่ง ดูได้จากการที่เธอทำหม้อข้าวไหม้ แล้วไม่รู้จะทำอย่างไร ได้แต่จะคิดว่าจะไปอ้างคนข้างบ้าน โดยที่ไม่ได้คิดถึงผลระยะยาว
ทั้งนี้ทั้งนั้น ที่เธอนิสัยอย่างนี้เกิดจากชีวิตในวัยเด็กของเธอ ที่เธอมาจากครอบครัวที่มีฐานะ มีชีวิตอยู่อย่างไม่ต้องลำบากลำบน ทำให้เธอรับมือกับปัญหาเหล่านี้ไม่เป็น เธอยังโดนสั่งสอนว่าให้นอบน้อม เป็นการสะท้อนถึงบทบาททางเพศในสังคมเราโดนตรง ผู้หญิงมีบทบาทเป็นแค่บทบาทรอง อะไรที่สำคัญมักจะเกิดขึ้นโดยเพศชาย และเพศหญิงเป็นแค่เพศที่ไม่มีอำนาจ
ทำไมผู้แต่งถึงใช้คำเรียกชื่อตัวละครว่า "หล่อน" การไม่เอ่ยชื่อมีความหมายอย่างไร/ครูปู
ผู้แต่งใช้กลวิธีใดในการเล่าเรื่อง
เกศ - ผู้แต่งเลือกการใช้คำ และสำนวนต่างๆเพื่ออธิบายลักษณะตัวละคร และสถานการณ์ที่เกิดข้ึนอย่างชัดเจน เช่น ปากกัดตีนถีบ
ภัทร - ผู้แต่งได้ใช้การเล่นคำ การใช้สัทพจน์ การใช้คำอธิบายตัวละครและบรรยากาศอย่าละเอียดและชัดเจน ทำให้ผู้อ่านจิตนาการตามได้
พิว- ผู้แต่งเล่าเรื่องในมุมมองของบุคคลที่ ๓ ซึ่งสามารถให้ผู้อ่านได้เห็นอารมณ์และความคิดจากตัวละครหลายคน
หากให้นางเอกเล่าเรื่องจะทำให้เนื้อหาน่าสนใจมายิ่งขึ้นหรือไม่/ครูปู
มุมมองบุคคลที่สาม ทำให้เราเห็นภาพจากภายนอก ผู้เชียนได้ใช้บทพูดในการสื่ออารมณ์ของตัวละคร การใช้คำว่า กู มึง รวมไปถึงการด่าลูกว่า ไอ้เด็กเวร เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงนิสัยของตัวละครอย่างชัดเจน
กลวิธีการแต่ง: ผู้แต่งใช้กลวิธีการแต่งอย่างไร และส่งผลต่อผู้อ่านอย่างไร :
ภข: การใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายแต่มีความหมาย ตัวละครแต่ละตัวมีวิธีการพูดที่แตกต่างกันเพื่อการสื่ออารมณ์ของตัวละครนั้นๆ
เกศ - กลวิธีการประพันธ์ของผู้แต่งสามารถทำให้ผู้อ่านเห็นภาพสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่องได้อย่างชัดเจน
พิว- ผู้แต่งให้สามีใช้คำหยาบคายเพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นอารมณ์ของเขาได้ชัดเจน
บรรยายเหตุการณ์ชัดเจน อารมณ์ ความรู้สึกของตัวละครนั้นๆ อย่างเช่นเมื่อมีเหตุการณ์ขัดแย้งกันระหว่างตัวละคร ก็จะเห็นการถ่ายทอดที่แตกต่างกัน(ฌอน)
ภัทร - ผู้แต่งได้ใช้พรรณนาโวหารในการแต่ง ทำให้ผู้อ่านจินตนาการและสร้างอารมณ์ตามเรื่องได้อย่างชัดเจน
การที่ผู้เเต่งซํ้าตอมเริ่มของตอนในตอนจบทำให้ผู้อ่านได้รู้สึกว่าเรื่องร้ายๆที่เกิดขึ้นในกลางเรื่องเป็นเพียงสิ่งประจำวันที่ปกติเเละเกิดขึ้นได้ทุกวัน นี่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกสงสารชิวิตของตัวละครในเรื่องขึ้นไปอีก นล
(วัตถุประสงค์) เรื่องหม้อที่ขูดไม่ออกสะท้อนให้ผู้อ่านเห็นถึงความแตกต่างของมนุษย์ มีปัจจัยต่างๆ ได้แก่ พื้นฐานชีวิต การอบรมเลี้ยงดู สภาพแวดล้อมประสบการณ์ชีวิตย่อมส่งผลต่อบุคลิกและอุปนิสัยของบุคคล
การได้รับการเลี้ยงดูที่อุ้มชูมากเกินไปย่อมก่อมเกลาให้บุคคลนั้นอ่อนแอต่อโลกภายนอก เมื่อออกมานอนเขตที่ไม่มีพ่อแม่จึงไม่สามารถต่อสู้กับด้านมืดในโลกความเป็นจริง มนุษย์อีกร้อยพ่อพันแม่ที่มีทั้งดีและร้ายจนต้องตกอยู่ในสภาพที่เป็นอันตรายกับตัวเองเพราะไม่สามารถรับมือกับภัยเหล่านั้นได้
ปั่น
ฉากและบรรยากาศของเรื่อง : มีอิทธิพลต่อการดำเนินเรื่องอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่าง
ภข: บรรยากาศของเรื่องสื่อให้ถึงความธรรมดา ความจำเจของเรื่อง การที่ผู้เขียนเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในบ้านเรือนที่ธรรมดาๆ ไม่มีความพิเศษอะไร
ภัทร - ฉากในเรื่องเป็นที่เดียวกัน ซึ่งคือบ้านธรรมดาหลังหนึ่งโดยที่เปลี่ยนบรรยากาษตามอารมณ์ที่เกิดในเรื่องไปเรื่อยๆ