Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความดันโลหิตสูงในสตรีตั้งครรภ์ (Pregnancy Induced Hypertension)…
ความดันโลหิตสูงในสตรีตั้งครรภ์ (Pregnancy Induced Hypertension)
การแบ่งชนิด :red_flag:
Gestational Hypertension (Transient Hypertension)
ไม่มีโปรตีนในปัสสาวะ (Proteinuria) เมื่อติดตามจนหลังคลอด 12 สัปดาห์ ความดันโลหิตจะต้องลดลงเป็นปกติ
Chronic Hypertension
ความดันโลหิตสูง ซึ่งพบก่อนการตั้งครรภ์หรือก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ หรือ ภาวะความดันโลหิตสูงยังคงอยู่นานกว่า 12 สัปดาห์ หลังคลอด
Superimposed Preeclampsia
ภาวะ Preeclampsia ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีภาวะ Chronic Hypertension
การวินิจฉัยภาวะ
ผู้ป่วยที่ไม่มีโปรตีนในปัสสาวะอยู่เดิม :red_cross:
ใช้เกณฑ์การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ 300 มก. ต่อ 24 ชั่วโมง
ผู้ป่วยที่มีโปรตีนในปัสสาวะอยู่เดิม :check:
ใช้เกณฑ์การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะสูงขึ้นอย่างชัดเจน
ใช้เกณฑ์ความดันโลหิต
Systolic สูงขึ้น 30 mmHg
Diastolic สูงขึ้น 15 mmHg
เกล็ดเลือดน้อยกว่า 100,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร
Preeclampsia :star:
Mind Preeclampsia
BP น้อยกว่า 140/90 - 160/110 mmHg
โปรตีนในปัสสาวะน้อยกว่า 2 มก./วัน (dipstick 1+ หรือ 2+)
Edema 1+ หรือ 2+
Severe Preeclampsia :warning:
BP ตั้งแต่ 160/110 mmHg ขึ้นไป
โปรตีนในปัสสาวะมากกว่า 2 มก./วัน (dipstick 3+ หรือ 4+)
Edema 3+ หรือ 4+
อาการ
ปวดศีรษะ
ตาพร่ามัว
จุกแน่นลิ้นปี่
Eclampsia
ภาวะชัก ซึ่งหาสาเหตุอื่นไม่พบในผู้ป่วย Preeclampsia
พยาธิสรีรวิทยา
จำแนกตามระบบ
ระบบประสาท
เส้นเลือดในสมองหดเกร็ง ประกอบกับมีการทำลายของ endothelial cells ในสมองทำให้เนื้อเยื่อในสมองบวม มีเลือดออก และเกิดเนื้อตาย
ส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์จะมีอาการ
ระดับความรู้สึกเปลี่ยนแปลง มีการชักเสมอเมื่อเกิดพยาธิสภาพที่สมอง
เกิดปฏิกิริยาสะท้อนที่เร็วเกินไป (hyperreflexia)
ปวดศีรษะ
เห็นภาพเบลอ ภาพซ้อน หรืออาจมองไม่เห็น
มีการกระตุกสั่นของกล้ามเนื้อ (clonus)
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
มีการเพิ่มของเลือดที่ออกจากหัวใจอย่างมากในระยะต้น ๆ ของการดำเนินของโรค ประกอบกับการมีภาวะเส้นเลือดบีบรัดตัวและเกิดภาวะความดันโลหิตสูงที่เกิดขึ้น
จะส่งผลให้เกิดภาวะ low preload และ high afterload
เส้นเลือดหดรัดตัวทั่วร่างกาย
มีผลทำให้เกิดการทำงานของหัวใจล้มเหลว (cardiac decompensation)
การกำซาบของเนื้อเยื่อในสมองและไตลดลง
ระบบโลหิตวิทยา
ทำให้เม็ดโลหิตแดงและเกร็ดเลือดถูกทำลายมากขึ้น ทำให้ปริมาณเม็ดเลือดแดงแตกและเกร็ดเลือดลดน้อยลง ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เรียกว่า HELLP syndrome
H : Hemolysis of red blood cell
EL : Elevated liver enzymes
LP : Low platelet count
อาการแสดงของ HELLP
มักพบตั้งแต่สัปดาห์ที่ 17 ของการตั้งครรภ์ไปจนถึงระยะหลังคลอด 1สัปดาห์
ปัจจุบันพบบ่อยที่สุดในช่วง 24-48 ชั่วโมงหลังคลอด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจเม็ดเลือดแดง จะพบ small irregularly shaped red cells และ echincoytes (Burr cells)
การตรวจเอนไซม์ในตับ จะพบการเพิ่มของ ALT และ AST ซึ่งหมายความว่ามีการตายของเนื้อตับและมีเลือดออกในตับแล้ว
พบมี thrombocytopenia (เกร็ดเลือดน้อยกว่า 100,000 L) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่าเกิดภาวะเลือดไม่แข็งตัวแล้ว
ระบบการทำงานของปอด
เกิดภาวะปอดบวม ผลมาจากการลดลงของ plasma oncotic pressure และการเพิ่ม permeability ในเส้นเลือดชั้น endothelial ทำให้มีน้ำเข้าสู่ pulmonary interstitial space
ระบบปัสสาวะ
มีการทำลายชั้น endothelial ของเส้นเลือดในไต มีผลทำให้เซลล์ของโกลเมอร์รูล่าร์รวม (glomerular cells) แคพพีราร่า ลูพส์ (capillary loops) ขยายและหดรัดจากภาวะเส้นเลือดหดรัดตัวทำให้เกิดภาวะกำซาบและการไหลผ่านของหลอดในไตลดลง
ทำให้ creatinine และ uric acid เพิ่มขึ้น พบโปรตีนในปัสสาวะ โดยมักจะพบในระยะท้าย ๆ ของการเป็น
ภาวะปัสสาวะจะเป็นเลือดสามารถพบได้ถ้าเม็ดเลือดแดงแตก มักจะพบในรายที่รุนแรงและอาจพบปัสสาวะออกน้อยและไตวายได้ในที่สุด
ระบบการทำงานของตับ
การถูกทำลายของ endothelial มักพบว่ามีการเกิดรอยโรคในตับ
มีเลือดออกและเกิดการตายของเนื้อเยื่อในตับ
การมีเลือดออกจากรอยโรคมักเกิดบริเวณแคปซูนของตับ หรือถ้ารุนแรงก็อาจเกิดภาวะแคปซูนแตก (capsule rupture)
ผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนนี้จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดบริเวณชายโครงขวาหรือใต้ลิ้นปี่ ซึ่งเป็นภาวะที่ต้องผ่าตัดอย่างรีบด่วน เพื่อป้องกันการเสียชีวิตทั้งมารดาและทารก :!:
การเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อมดลูกและรก
มีผลทำให้เส้นเลือดในแนวเฉียงของมดลูก (spiral arteries) มีการเปลี่ยนแปลง เส้นเลือดแคบลงและเหยียดออกจาก intervillous space ซึ่งเป็นส่วนที่รกสัมผัสกับกล้ามเนื้อ
มีผลทำให้มีเส้นเลือดไปเลี้ยงบริเวณรกน้อยกว่าปรกติ การที่เส้นเลือดไปเลี้ยงรกน้อยกว่าปรกติ จึงมีผลต่อทารกทำให้ทารกได้รับเลือดจากแม่น้อยลง ทำให้ทารกในครรภ์มีขนาดเล็กกว่าปรกติ (IUGR) :warning:
การหดเกร็งของหลอดเลือด (vasospasm) เป็นพยาธิสภาพประการแรกที่เกิดขึ้นในภาวะความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์:warning:
ความหมาย
การที่มีความดันโลหิตสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 mmHg และมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ โดยอาจจะมีหรือไม่มีภาวะบวมก็ได้