Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นักชีววิทยาที่่ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (ฌอง แบบติสท์ แวน…
นักชีววิทยาที่่ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
ฌอง แบบติสท์ แวน เฮลมองท์
(Jan Baptist Van Helmont)
โดยปลูกต้นหลิวหนัก 5 ปอนด์ในถังใบใหญ่ที่บรรจุดินซึ่งทำให้แห้งสนิทหนัก 200 ปอนด์แล้วปิดฝาถัง ระหว่างทำการทดลองได้รดน้ำต้นหลิวที่ปลูกไว้ทุกๆ วันด้วยน้ำฝนเป็นระยะเวลา 5 ปี ต้นหลิวเจริญเติบโตขึ้นมาก เมื่อนำต้นหลิวที่ไม่มีดินติดอยู่ที่รากไปชั่งน้ำหนัก ปรากฏว่าต้นหลิวหนัก 169 ปอนด์ 3 ออนซ์ และเมื่อนำดินในถังไปทำให้แห้งแล้วนำไปชั่งปรากฏว่ามีน้ำหนักน้อยกว่าดินที่ใช้ก่อนทำการทดลองเพียง 2 ออนซ์เท่านั้น
โจเซฟ พริสต์ลีย์
(Joseph Priestley)
ได้ทำการทดลองจุดเทียนไขไว้ในครอบแก้วและนำต้นสะระแหน่ใส่ไว้ด้วย พบว่าเทียนไขยังคงจุดติดไฟได้ดี และเมื่อทำการทดลองอีกครั้งโดยใส่หนูไว้ในครอบแก้วและนำต้นสะระแหน่ใส่ไว้ ด้วย พบว่าหนูยังคงมีชีวิตอยู่ได้เป็นเวลานาน จากการทดลองดังกล่าวโจเซฟ พริสต์ลีย์ได้ให้ข้อสรุปไว้ว่า พืชสามารถเปลี่ยนอากาศเสียให้เป็นอากาศดีได้
แจน อินเก็น ฮูซ
(Jan Ingen Housz)
นักวิทยาศาสตร์ชาวดัทช์ ได้ทำการทดลองคล้ายกับโจเซฟ พริสต์ลีย์ โดยใส่พืชไว้ในครอบแก้ว แต่แยกเป็นส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ลำต้น ใบ เป็นต้น แล้วทิ้งไว้ในที่มืดชั่วระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นจึงจุดเทียนไขไว้ในครอบแก้วแต่ละอัน พบว่าเทียนไขในครอบแก้วทุกอันไม่ติดไฟ และเมื่อทำการทดลองอีกครั้งโดยนำครอบแก้วทุกอันไปไว้ในบริเวณที่มีแสงสว่างระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นจึงจุดเทียนไขในครอบแก้วแต่ละอัน พบว่าในครอบแก้วที่มีส่วนของพืชซึ่งมีสีเขียวสามารถจุดเทียนไขให้ติดไฟได้ จากการทดลองดังกล่าวแจน อินเก็น-ฮูซได้ให้ข้อสรุปไว้ว่า ส่วนของพืชที่มีสีเขียวสามารถเปลี่ยนอากาศเสียให้เป็นอากาศดีได้ โดยพืชต้องอาศัยแสงเป็นปัจจัยในกระบวนการดังกล่าวด้วย
ฌอง ซีนิบิเยร์
(Jean Senebier)
เขาให้เหตุผลว่าพืชที่มีขนาดใหญ่กว่า จะมีคาร์บอนมากกว่า
นิโคลาส ธีโอดอร์ เดอ โซซูร์
(Nicolas Theodore de sous sure)
ทำการทดลองให้เห็นว่า น้ำหนักของพืชที่เพิ่มขึ้นมากกว่า น้ำหนักของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้ร้บ เขาจึงสรุปว่า น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นบางส่วนเป็น น้ำหนักของน้ำที่พืชได้รับ
จูเลียส ซาซ (Julius sachs)
ทดลองเอาใบที่อยู่ในแสง มาทำให้ขาวแล้วหยดไอโอดีน เทียบกับแบบไม่ได้อยู่ในแสง เลยทำให้รู้ว่าแสงทำให้เกิดแป้ง
เองเกลมัน (T.W. Engelmann)
ผลกระทบของสีที่แตกต่างกันของแสงในกิจกรรมดำรงและพบว่าการแปลงของพลังงานแสงไปยังพลังงานทางเคมีที่เกิดขึ้นใน chloroplast
แวน นีล (Van Niel)
สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้โดยไม่ใช้น้ำ แต่ใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ( H2S )ทน ผลที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสงแทนที่จะได้ออกซิเจนกลับได้ซัลเฟอร์(S)อกมาแทนที่จะเกิด O2 แสดงว่าซัลเฟอร์เกิดจาการสลายตัวของไฮโดรเจนซัลไฟด์
แซม รูเบน และ มาร์ติน คาเมน
(Sam Ruben And Martin Kamen)
ใช้สาหร่ายสีเขียวปริมาณเท่ากันใส่ลงในขวดแก้ว 2 ใบ แล้วใส่น้ำและ คาร์บอนไดออกไซด์ลงไปในขวดทั้งสอง ท าให้มีความรู้เกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสงเพียงว่า พืชสามารถสร้าง คาร์โบไฮเดรตเมื่อมีแสงสว่าง โดยใช้คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำป็นวัตถุดิบ
โรบิน ฮิลล์ (Robin Hill)
ทำการทดลองโดยสกัดคลอโรพลาสต์ ออกมาจากใบของผักโขม แล้วนำมาผสมกับน้ำ แล้วแบ่งการ ทดลองออกเป็น 2 ชุด ชุดหนึ่งเติมเกลือ เฟอริก (Fe3+) อีกชุดไม่เติมเกลือเฟอริก (Fe3+) แล้วฉายแสงให้แก่ หลอดทดลองทั้งสองชุด ผลการทดลองปรากฏว่า ชุดที่ 1 เกิด เกลือเฟอรัส (Fe2+) และมีแก๊สออกซิเจน เกิดขึ้น ส่วนชุดที่ 2 ไม่พบว่ามีแก๊สออกซิเจนเกิดขึ้น จากการทดลองของฮิลล์ เกลือเฟอริกท าหน้าที่เป็นตัวออกซิไดซ์ (สารที่รับอิเล็กตรอน) ซึ่งจากการ ค้นคว้าต่อมาพบว่าในพืชมีสารที่ทำหน้าที่เป็นตัวออกซิไดซ์หลายชนิด เช่น นิโคตินาไมด์อะดีนีนไดนวิคลีโอไทด์ ฟอสเฟต (Nicotinamide Adenine Dinucleotide Phosphate) เขียนย่อ ๆ ว่า NADP+ จากการทดลองของฮิลล์ สรุปได้ว่าเมื่อคลอโรพลาสต์ได้รับพลังงานจากแสง และมีสารรับอิเล็กตรอน อยู่ด้วย น้ำก็จะแตกตัวให้ออกซิเจนได้โดยไม่จ าเป็นต้องมีคาร์บอนไดออกไซด์ การทดลองของฮิลล์ครั้งนี้ ก่อให้เกิดการตื่นตัวกันมาก เพราะปฏิกิริยาที่เขาทดลองนี้มีการปลดปล่อยแก๊สออกซิเจนเช่นเดียวกับพืช แต่ใน การทดลองของเขาใช้เพียงคลอโรพลาสต์ ซึ่งเป็นออร์แกเนลล์ของเซลล์พืชเท่านั้น จากการทดลองนี้จึงนำไปสู่ แนวความคิดว่าปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสงน่าจะมีอย่างน้อย 2 ขั้นตอนใหญ่ คือ ขั้นที่ปล่อยแก๊ส ออกซิเจน กับขั้นที่เกี่ยวข้องกับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
แดเนียล อาร์มอน
(Daniel Amon)
ได้ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการทดลองของฮิลล์ อาร์นอน คิดว่าถ้าให้สารบางอย่าง เช่น ADP หมู่ ฟอสเฟต (Pi) NADPและ CO2 ลงไปในคลอโรพลาสต์ ที่สกัดมาได้แล้วให้แสงจะมีปฏิกิริยาการสังเคราะห์ ด้วย แสงจนได้น้ำตาลเกิดขึ้น