Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัย …
การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัย
ในโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ
วิธีการดำเนินวิจัย
ประชากร คือ บรรณารักษ์ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดกลาง และบรรณารักษ์ตำแหน่งหัวหน้าห้องสมุดคณะที่มีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ ในมหาวิทยาลัยของรัฐที่ได้รับประกาศให้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ปี 2553 จากโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ จำนวน 9 รวม 33คน
จุดประสงค์ งานวิจัย
เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ
เพื่อศึกษาปัญหาการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ
เครื่องมือในการวิจัย
แบบสัมภาษณ์
การวิเคราะห์ข้อมูล
นิยามศัพท์
การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
เป็นการดำเนินงานให้ได้มาซึ่งทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณภาพ เริ่มจากการจัดทำนโยบาย การจัดสรรงบประมาณ กระบวนการคัดเลือก กระบวนการจัดหาโดยวิธีการจัดซื้อ/บอกรับ ประกอบด้วยขั้นตอนการจัดซื้อ/บอกรับทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ หลักการพิจารณาการต่ออายุ/การยกเลิกการเป็นสมาชิกทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการบอกรับวารสารอิเล็กทรอนิกส์ควบคู่กับฉบับพิมพ์
มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ
หมายถึง มหาวิทยาลัยที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกจากโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้รับประกาศเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2553 จำนวน 9 แห่ง คือ 1) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2) มหาวิทยาลัยมหิดล 3) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 4) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 5) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 6) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 7) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 8) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ 9) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ขอบเขตการวิจัย
ทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ในการวิจัยนี้ ประกอบด้วย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-journal) และฐานข้อมูลออนไลน์ที่บอกรับ ซึ่งได้มาด้วยการจัดซื้อ ไม่รวมทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตขึ้นเองและฐานข้อมูลที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) บอกรับ
ข้อเสนอแนะ
2.บุคลากรผู้รับผิดชอบการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ ควรมีข้อมูลของสำนักพิมพ์ ผู้แทนจำหน่าย และรายละเอียดของแต่ละฐานข้อมูลให้มากที่สุด นอกจากนี้ควรมีเครือข่ายบรรณารักษ์เพื่อปรึกษา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปฏิบัติงาน เพื่อสั่งสมประสบการณ์ ความชำนาญงาน
3.ควรมีการรวมกลุ่มกันเป็นภาคีสมาชิกอย่างเข้มแข็งในการจัดซื้อ/บอกรับทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และประหยัดงบประมาณ
1.ควรมีการกำหนดนโยบายการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์อย่างชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการดำเนินงานจัดหาทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ และมีความชัดเจน สำหรับผู้เกี่ยวข้องทุกส่วน