Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Acute Cholecystitis (การตรวจวินิจฉัย (จากการซักประวัติอาการ…
Acute Cholecystitis
การตรวจวินิจฉัย
จากการซักประวัติอาการ
ผู้ป่วยมาด้วยอาการปวดท้องใต้ชายโครงขวา ร้าวไปที่หลังใต้สะบักขวา ปวดจุก ให้คะแนนความปวด 7 คะแนน ปวดเป็น ๆ หาย ๆ ไม่มีท้องอืดท้องเฟ้อ ไม่มีคลื่นไส้อาเจียน ไม่มีตัว/ตาเหลือง ไม่มีเรอเปรี้ยว
ผู้ป่วยมีพฤติกรรมรับประทานอาหารประเภทผัด ทอด เช่น ปลาทอด เนื้อหมูติดมันทอด และรับประทานของหวานเป็นประจำ
จากการตรวจร่างกาย
ตรวจพบในคนไข้
- Pain at Right upper quadrant refer to back (Pain score 7)
- Abdominal rigidity at Right upper quadrant
- Abdominal tenderness at Right upper quadrant
- Cough pain at right upper quadrant
- Pain is intermittent at right upper quadrant
- Liver enlarged 1 cm. below right costal margin Smooth surface
-การตรวจเลือด CBC เพื่อดูการอักเสบติดเชื้อ การตรวจเลือดต่าง ๆ เช่น การตรวจดูการทำงานของตับเพื่อวินิจฉัยแยกโรค (เพราะบางครั้งอาการของโรคนี้อาจคล้ายคลึงกับโรค Peptic ulcer, Gastritis, Pancreatitis เป็นต้น)
-ผล CBC(28/09/61) : WBC=11,700 cell/mm3, Neutrophils=71.6 %, Lymphocyte=18.1
-Liver Function Tests(28/09/61) : Protein total (serum)=8.9, Globulin=5.0, Bilirubin Direct=0.4
-
ตรวจด้วยวิธีจำเพาะอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วยตามดุลยพินิจของแพทย์ เช่น การส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (ERCP), การตรวจ Cholescintigraphy (HIDA scan) ซึ่งเป็นวิธีการฉีดสีเข้าไปทางเส้นเลือด และสีนี้จะถูกขับออกทางน้ำดี จึงทำให้เห็นลักษณะของท่อน้ำดีว่ามีการอุดตันหรือไม่
สาเหตุ
จากถุงน้ำดีอักเสบที่เกิดจากนิ่ว (Calculous Cholecystitis) โดยนิ่วจะเข้าไปอุดตันในท่อถุงน้ำดี ทำให้น้ำดีไม่สามารถไหลผ่านได้และสะสมอยู่ภายในถุงน้ำดี ส่งผลให้ถุงน้ำดีบวมและเกิดการอักเสบ
น้ำดี (Bile) มีคอเลสเตอรอลมากเกินไป ซึ่งโดยปกติในน้ำดีของคนเราจะมีสารเคมีที่ขับออกมาโดยตับสำหรับละลายคอเลสเตอรอลอย่างเพียงพอ แต่หากตับขับคอเลสเตอรอลออกมามากเกินไปก็อาจทำให้เกิดการก่อตัวจนเกิดตะกอนและกลายเป็นก้อนนิ่วได้ในที่สุด หรือกล้ามเนื้อในถุงน้ำดีมีสมรรถภาพในการบีบตัวไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถบีบสารคอเลสเตอรอลออกได้หมด
ถุงน้ำดีขับของเสียออกได้อย่างไม่เหมาะสม ทำให้น้ำดีอาจอยู่ในสภาพที่มีความเข้มข้นมาก ซึ่งอาจก่อตัวเป็นนิ่วได้ในที่สุด
น้ำดีมีสารบิลิรูบิน (Bilirubin) มากเกินไป สารบิลิรูบินเป็นสารเคมีที่ผลิตขึ้นเมื่อเซลล์เม็ดเลือดถูกทำลายหรือตายลง หรืออาจเกิดจากบางภาวะที่ทำให้ตับผลิตสารบิลิรูบินมามากเกินไป เช่น โรคตับแข็ง การติดเชื้อระบบทางเดินน้ำดี (Biliary Tract Infection) หรือความผิดปกติเกี่ยวกับเลือดบางชนิด เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย และโรคโลหิตจางจากการขาดเอนไซม์ G6PD
-
อาการและอาการแสดง
เมื่อเป็นมากอาจมีภาวะดีซ่าน (ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม) และอุจจาระมีสีซีด จากการที่น้ำดีไหลลงสู่ลำไส้ไม่ได้ จึงย้อนเข้ากระแสเลือด หรือเมื่อเกิดถุงน้ำดีแตกทะลุ ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หน้าท้องแข็ง เจ็บทุกส่วนของช่องท้องจากการเกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบ
-
-
มีอาการปวดอย่างรุนแรง (ปวดลึก ๆ) ตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือใต้ชายโครงด้านขวา โดยเฉพาะเวลาหายใจเข้าลึก ๆ จะทำให้ปวดมากขึ้น และอาการปวดอาจร้าวมาที่ไหล่ขวาหรือบริเวณหลังตรงใต้สะบักขวาได้ (หลังจากที่ปวดได้สักพักกล้ามเนื้อหน้าท้องจะเกร็งและกดเจ็บ)
ก้อนนิ่วขนาดเล็กที่เกิดขึ้นในถุงน้ำดี มักเกิดขึ้นเมื่อส่วนประกอบของน้ำดีโดยเฉพาะคอเลสเตอรอลและบิลิรูบิน (สารให้สีในน้ำดี) ตกตะกอนผลึกเป็นก้อน