Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคกระดูกสันหลัง (Herniated intervertebral disk : หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื…
โรคกระดูกสันหลัง
Herniated intervertebral disk : หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน, หมอนรองกระดูกเคลื่อน
สาเหตุ
เกิดจากหมอนรองกระดูกที่เสื่อมตามอายุ มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อเส้นใยชั้นเปลือกนอก ปล่อยให้เนื้อเยื่อกระดูกอ่อนตรงกลางซึ่งมีลักษณะ คล้ายวุ้นแตก (rupture) หรือเลื่อน (herniation) ออกมากดทับรากประสาทและเกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อรอบๆ รากประสาท ทำให้เกิดอาการของโรคนี้ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการทำกิจวัตรประจำวันหรือจากอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม ส่วนน้อยเกิดหลังจากได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน เล่นกีฬา อุบัติเหตุ ยกหรือเข็นของหนัก
ผู้ที่เป็นเบาหวานหรือสูบบุหรี่มีความเสี่ยงต่อโรคนี้มากขึ้น เนื่องจากมีออกซิเจนในเลือดไปเลี้ยงหมอนรองกระดูกน้อยลง จึงเสื่อมได้ง่ายขึ้น ส่วนผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือทำอาชีพที่ต้องเข็นหรือยกของหนักก็เสี่ยงต่อการเกิดแรงกระทบต่อหมอนรองกระดูกทำให้เกิดโรคนี้ได้มากขึ้น
อาการ
รายที่หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อน จะมีอาการปวดตรงกระเบนเหน็บ ซึ่งจะปวดร้าว เสียวๆ แปลบๆ และชาจากบริเวณแก้มก้นลงมาถึงน่องหรือปลายเท้า อาการปวดจะเป็นมากขึ้นเวลามีการเคลื่อนไหว เวลาก้ม นั่ง ไอ จาม หัวเราะ หรือเบ่งถ่าย ในรายที่เป็นมากเท้าจะไม่ค่อยมีแรงและชา อาจถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ไม่ได้ หรือกลั้นอุจจาระปัสสาวะไม่อยู่ มักพบเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น นอกจากในรายที่เป็นมากอาจมีอาการทั้ง ๒ ข้าง
รายที่หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอเคลื่อน จะมีอาการปวดบริเวณต้นคอ ปวดร้าว เสียวๆ แปลบๆ และชาลงมาที่ไหล่ แขน และปลายมือ มักมีอาการเวลาแหงนคอไปด้านหลัง หรือหันศีรษะไปข้างที่เป็น ถ้าเป็นมาก แขนและมืออาจมีอาการอ่อนแรง
การวินิจฉัย
เบื้องต้นแพทย์จะวินิจฉัยจากอาการ และการ ตรวจร่างกาย ที่สำคัญได้แก่ การทดสอบเหยียดขาตรงตั้งฉาก โดยให้ผู้ป่วยนอนหงาย แล้วจับเท้าข้างที่สงสัยค่อยๆ ยกขึ้น โดยให้หัวเข่าเหยียดตรง จะพบว่าผู้ป่วยไม่สามารถยกเท้าเหยียดตรงตั้งฉาก (ทำมุม ๙๐ องศา) กับพื้นได้เช่นคนปกติ หรือได้น้อยกว่าเท้าอีกข้างที่ปกติ เช่นได้เพียง ๗๐ องศา หรือ ๔๕ องศา เพราะผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเสียวตามหลังเท้าจนไม่สามารถฝืนทนเหยียดเท้าให้ตั้งฉากกับพื้น
การรักษา
ระยะแรกแพทย์จะให้การรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัดก่อน ได้แก่ การให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์เป็นหลัก ซึ่งนอกจากช่วยบรรเทาปวดแล้ว ยังลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ รอบๆ รากประสาท ทำให้อาการทุเลาได้ ในรายที่มีการตึงตัวหรือเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลังให้ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยากล่อมประสาท เช่น ไดอะซีแพมร่วมด้วย
ในรายที่มีอาการเกิดขึ้นฉับพลันและปวดรุนแรง แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยนอนพักในท่านอนหงายบนที่นอนแข็งตลอดเวลา (ลุกเฉพาะกินอาหารและเข้าห้องน้ำ) ๑-๒ วัน จะช่วยให้อาการทุเลาได้เร็ว ไม่ควรนอนติดต่อนานหลายวัน อาจทำให้กล้ามเนื้อหลังอ่อนแอ
ในบางรายแพทย์อาจให้การรักษาทางกายภาพ- บำบัด (เช่น ประคบด้วยความเย็นและความร้อนใช้ น้ำหนักถ่วงดึง) กระตุ้นปลายประสาทด้วยไฟฟ้า (TENS) การฝังเข็ม เป็นต้น
Spinal Stenosis
ช่องไขสันหลังตีบ (spinal stenosis) หรือบางครั้งเรียกว่ากระดูกสันหลังตีบ (vertebral stenosis) เป็นภาวะที่ช่องไขสันหลังแคบลง ส่งผลให้กระดูกหรือส่วนอื่น ๆ ของสันหลังกดทับเส้นประสาทไขสันหลังและเส้นประสาทอื่นๆ
สาเหตุ
สาเหตุของโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ
เกิดจากความเสื่อมของอวัยวะในกระดูกสันหลัง ทั้งหมอนรองกระดูก เส้นเอ็น และข้อต่อ เมื่ออวัยวะเหล่านี้เกิดความเสื่อมขึ้น ขนาดจะใหญ่ขึ้นเนื่องจากร่างกายพยายามรักษาตัวเองโดยธรรมชาติเพื่อเพิ่มความแข็งแรง อวัยวะเหล่านี้ขยายขนาดขึ้นก็จะทำให้โพรงประสาทที่มีเส้นประสาทอยู่ด้านในถูกเบียดหรือกดทับได้ ทำให้การปวดขึ้นตามเส้นทางที่เส้นประสาทนั้นวิ่งไป เมื่อมีการกดทับรุนแรงเข้าก็ทำให้การสั่งงานไปที่กล้ามเนื้อเสียไป ทำให้เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อได้
อาการ
อาการที่หลัง: ปวดหลังเรื้อรัง อาการปวดมักอยู่ที่ส่วนกลางของเอวและมักเป็นมากขึ้นในท่ายืน เดิน หรือเมื่อมีการแอ่นหลังไปด้านหลังมากๆ
อาการที่ขา: อาการแสดงที่ขามีได้ 3 แบบ คือ อาการปวด ชา หรือการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ มีอาการปวดหน่วง ขาหนัก ชาขา หรือรู้สึกเหมือนมีมดไต่ไปตามขา โดยเฉพาะเมื่อมีการเดินหรือยืนนานๆ และอาการมักบรรเทาได้ด้วยการก้มโค้งหลังหรือมีการนั่งพัก
การวินิจฉัย
X-Ray
จากภาพรังสีที่ถ่ายจากหน้าไปหลังจะเห็นส่วนต่อเชื่อมกระดูกสันหลัง(pedicle) แต่ละปล้องมีระยะแคบลงระหว่างข้อถัดไป ภาพรังสีด้านข้างจะพบว่าช่องข้อไขสันหลังจะแคบลง ถ้าเป็นมากจนกระดูกสันหลังเลื่อนก็จะแลเห็นลักษณะกระดูกสันหลังเลื่อนไปข้างหน้า การฉีดสารทึบรังสีหรือถ่ายภาพรังสีต่างความลึก (tomography) รวมไปถึงการถ่ายภาพรังสีคอมพิวเตอร์จะช่วยให้การวินิจฉัยแน่นอนยิ่งขึ้น
-
-