Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายที่เกี่ยวกับครูและวิชาชีพครู (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (หมวดที่…
กฎหมายที่เกี่ยวกับครูและวิชาชีพครู
กฎหมาย หมายถึง คำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์ ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฏฐาปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้น ผู้ใดฝ่าฝืนมีสภาพบังคับ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
หมวดที่ 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
จัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสที่เหมาะสมกัน ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี รวมทั้งบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม
หมวดที่ 3 ระบบการศึกษา
การจัดการศึกษามี3 แบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
หมวดที่ 4 แนวการจัดการศึกษา
เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นภารกิจของสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ถือปฏิบัติ
หมวดที่ 5 การบริหารและการจัดการศึกษา
ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 การบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐ ส่วนที่ 2 การบริการและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนที่ 3 การบริหารงานการศึกษาของเอกชน
หมวดที่ 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
มาตรา 47 ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก
หมวดที่ 7 ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษามาตรา 52 ให้กระทรวงส่งเสริมให้มีระบบกระบวนการผลิต การพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพขั้นสูง
หมวดที่ 1 บททั่วไป ความุ่งหมายและหลักการ
หลักการสำคัญคือ การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มุ่งปลูกฝังจอตสำนึกการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
หมวดที่ 8 ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษามาตรา 58 ให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณ การเงิน และทรัพย์สิน ทั้งจากรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชนเอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการสถานบันสถานสังคมอื่นและต่างประเทศ
บทเฉพาะกาล พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542 เป็นฉบับหลักที่เพิ่มเติมอีก 2 ฉบับ มีประเด็นที่มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2)
พ. ศ. 2545 เนื่องจากมีการปฏิรูประบบราชการมาตราสำคัญสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงได้แก่ หมวดที่ 5 การบริหารและการจัดการศึกษา หมวดที่ 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ(ฉบับที่ 3) พ.ศ 2553 ได้แก้ไขเพิ่มเติมเนื่องจากแยกเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และเขตพื้นที่การศึกษา
พระราชบัญญัติกฎหมายภาคบังคับ เป็นกฎหมายที่กำหนดให้ผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดการศึกษาและผู้ปกครองให้ส่งบุตรหลานเข้าเรียนเมื่ออายุย่างเข้าปีที่ 7
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษาพ.ศ 2548 กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุเด็กเพื่อเข้ารับการศึกษาภาคบังคับพ.ศ 2445 กำหนดไว้ว่าการนับอายุเด็กเพื่อเข้ารับการศึกษาภาคบังคับในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้นับอายุตาม ปีปฏิทินหากเด็กอายุครบ 7 ปีบริบูรณ์ในปีใดให้นับว่าเด็กอายุย่างเข้าปีที่ 7 ในปีนั้น
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2 )พ.ศ 2551 และ(ฉบับที่) 3 พ.ศ 2553
กำหนดให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งของหน่วยงานการศึกษาในระดับสถานศึกษาของรัฐและระดับเขตพื้นที่การศึกษาเป็นข้าราชการในสังกัดองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยยึดหลักการกระจายอำนาจ การบริหารงานส่วนบุคคลสู่ส่วนราชการที่บริหารและจัดการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพ.ศ 2547 ได้ให้คำจำกัดความและความหมายของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไว้ดังนี้
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาหมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดิน งบบุคลากรที่จ่ายในลักษณะเงินเดือนในกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม หรือกระทรวงอื่นที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานกรรมการ
กรรมการโดยตำแหน่ง
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
เป็นผู้แต่งตั้ง
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทำหน้าที่บริหารงานบุคคลของข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษาร่วมเขตพื้นที่การศึกษาด้วย เช่น 1.เสนอแนะให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับนโยบายการผลิตและบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
กำหนดนโยบายวางแผนและกำหนดกรอบอัตรากำลังของข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษา
3 ออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ
(เมื่อได้รับอนุมัติจาก คณะรัฐมนตรีให้ใช้บังคับได้) เป็นต้น
หน้าที่ของอนุกรรมการคณะกรรมการ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา เช่น
1.ให้ความเห็นชอบในการบรรจุ/แต่งตั้ง การพิจารณาความดี ความชอบ และด้านอื่นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
ทำการพิจารณาการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ การอุทธรณ์ การร้องทุกข์
การดำเนินการส่งเสริม พัฒนา กำกับ ดูแล ติดตาม การจัดทำพัฒนาฐานข้อมูล
การรายงานประจำปีของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
การเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งคณะกรรมการขั้นพิจารณาโดยผู้บริหารสถานศึกษา พิจารณาเสนอความดีความชอบของข้าราชการครูและบุคลากร เมื่ออนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา ให้ความเห็นชอบแล้ว ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งเป็นผู้ สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน ในกรณีที่มีความจำเป็นหรือเป็นความต้องการของหน่วยงานเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาหรือวิชาชีพหรือคุณวุฒิ ขาดแคลน ผู้บังคับบัญชาโดยอนุมัติคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยอนุกรรมการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาที่ได้รับมอบหมาย อาจส่งหรืออนุญาตข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ลาไปศึกษา ฝึกอบรม หรือวิจัย โดยให้ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ และมีสิทธิ์ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน
การกำหนดโทษทางวินัยได้กำหนดโทษทางวินัยไว้ 5 สถานคือ1. ภาคทัณฑ์ 2.ตัดเงินเดือน 3. ลดขั้นเงินเดือน 4. ปลดออก 5. ไล่ออก
สิทธิประโยชน์อื่นๆของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้แก่ 1. เงินพิเศษสำหรับดำรงตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ 2. เพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวตามภาวะเศรษฐกิจ 3. เงินวิทยฐานะกรณีมีผลงานดีเด่น 4. การเลื่อนขั้นพิเศษกรณีตายในหน้าที่เพื่อคำนวณบำเหน็จบำนาญและจัดสวัสดิการให้ครอบครัว
วัตถุประสงค์ของคุรุสภา ได้แก่ กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพรวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ ประสานงานส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพอำนาจหน้าที่ของคุรุสภา
การขอรับใบอนุญาตการขอรับใบอนุญาตการกำหนดอายุใบอนุญาตการต่ออายุใบอนุญาตการขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ผู้ขอรับใบอนุญาตขอต่ออายุใบอนุญาตซึ่งคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพพิจารณาวินิจฉัยไม่ออกใบอนุญาตไม่ต่ออายุใบอนุญาตอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการคุรุสภาภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้ง
คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพต้องมีคุณสมบัติดังนี้ 1 มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ 2 มีวุฒิปริญญาทางการศึกษาหรือเทียบเท่า 3 ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีและผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอน
ลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพมีดังนี้ 1 เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี 2 เป็นคนไร้ความสามารถ 3 เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่คุรุสภาเห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติแห่งวิชาชีพ
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก เป็นกฎหมายที่มุ่งให้ความคุ้มครองแก่เด็กทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ รวมถึงการสงเคราะห์การคุ้มครองสวัสดิภาพ การพัฒนา และฟื้นฟู โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ
หมวดที่ 6 สถานรัลเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดีภาพ และสถานพัฒนาและฟื้นฟู กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งสถานที่เหล่านี้ และให้เจ้าหน้าที่ที่กำหนดไว้ทำหน้าที่กำกับดูแลส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานขอสถานที่ดังกล่าว
หมวดที่ 7 การส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา โรงเรียนและสถานศึกษาต้องจัดให้มีระบบงาน และกิจกรรมในการแนะแนวให้คำปรึกษา และฝึกอบรมแก่นักเรียน นักศึกษาและผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมความประพฤติที่เหมาะสม ความรับผิดชอบต่อสังคม และความปลอดภัยแก่นักเรียนนักศึกษา
หมวดที่ 4 การคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็ก กำหนดลักษณะของเด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ โดยในกรณีมีการกระทำทารุณกรรมต่อเด็ก ให้เจ้าหน้าที่ ที่มีอำนาจแยกตัวเด็ก ออกจากครอบครัว และต้องรีบจัดให้มีการตรวจรักษาทางร่างกายและจิตใจ
หมวดที่ 5 ผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก โดยแต่งตั้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ นักสังคมสงเคราะห์ หรือบุคคลที่มีความสมัครใจและมีความเหมาะสม
หมวดที่ 3 การสงเคราะห์เด็ก กำหนดลักษณะของเด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ โดยการสงเคราะห์ในเบื้องต้นเป็นการกำหนดสถานที่อยู่ของเด็กซึ่งต้องพิจารณาตามความเหมาะสมเพื่อมห้การช่วยเฟลือ สงเคราะห์ พัฒนาและฟื้นฟูต่อไป
หมวดที่ 8 กองทุนคุ้มครองเด็ก ให้จัดตั้งกองทุนคุ้มครองเด็ก เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายในการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก
หมวดที่ 2 การปฏิบัติต่อเด็ก ผู้ปกครองต้องให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนและพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองตามสมควรแก่ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่นรวมถึงการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กมิให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ และผู้ปกครองต้องไม่ทอดทิ้งหรือละทิ้งเด็กไว้หรือละเลยไม่ดูแลเด็ก
หมวดที่ 9 บทกำหนดโทษ กำหนดโทษทางอาญาแก่ผู้กระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติต่างๆตามที่พ.ร.บ.กำหนดไว้
หมวดที่ 1คณะกกรใการคุ้มครองเด็ก กำหนดให้มีการจัดตั้งคณะกกรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติขึ้น
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการพ.ศ. 2551 คือ การจัด การศึกษาสำหรับคนพิการมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากการจัดการศึกษา สำหรับบุคคลทั่วไปจึงจำเป็นต้องจัดให้คนพิการมีสิทธิและโอกาสได้รับการบริการและความช่วยเหลือทางการศึกษาเป็นพิเศษตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการ
หมวดที่ 1 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา คนพิการได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการจนตลอดชีวิตพร้อมทั้งได้รับเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสื่อบริการและความช่วยเหลืออื่นในด้านการศึกษา
หมวดที่ 2 การส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ อำนาจหน้าที่ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ มีอำนาจหน้าที่ได้แก่ เสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ แผนการจัดสรรทรัพยากรและแนะแนวทางการพัฒนาการบริหารและการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการทุกระบบ
หมวดที่ 3 กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อใช้จ่ายในการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการพานักเรียน และนักศึกษาไปนอกสถานศึกษาพ.ศ 2548 โดยต้องได้รับอนุญาตก่อนให้หัวหน้าสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ควบคุมและจะต้องมีครูเป็นผู้ช่วยผู้ควบคุมในการดูแลการเดินทางโดยครู 1 คนต่อนักเรียนหรือนักศึกษาไม่เกิน 30 คน ถ้านักเรียนและนักศึกษาเป็นผู้หญิงไปด้วยให้มีครูผู้หญิงควบคุมไปด้วยตามความเหมาะสม
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาพ.ศ. 2558 การลงโทษนักเรียนมีกี่สถาน ดังนี้ 1 ว่ากล่าวตักเตือน 2 ทำทัณฑ์บน 3 ตัดคะแนนความประพฤติ 4 ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยมีข้อพิจารณาในการลงโทษได้แก่ห้ามลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วยวิธีรุนแรงหรือลงโทษด้วยความโกรธด้วยความพยาบาท คำนึงถึงอายุของนักเรียนและนักศึกษาและความร้ายแรงของพฤติการณ์ลำดับขั้นตอนของการลงโทษใช้วิธีการลงโทษเรียงจากเบาไปหาหนัก
แนวโน้มทิศทางกฎหมายระเบียบที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครู มีการยุบอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาและคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศและจัดตั้งคณะกรรมการการศึกษา พิการจังหวัดขึ้นมาทำหน้าที่แทนอนุกรรมการ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาและกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาโดยมีเหตุผลและความจำเป็นคือ 1 เพื่อบูรณาการงานระดับพื้นที่ 2 แก้ไขปัญหามีช่วงบังคับบัญชากว้าง 3 เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพในการบริหารจัดการ 4 เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงาน