Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การทำคลอดรกและการตรวจรก :<3: (การตรวจรกหลังคลอด :pen: (รกด้านแม่ (1 ดู…
การทำคลอดรกและการตรวจรก :<3:
วิธีทำคลอดรก :pen:
Brandl Andrew maneuver
ใช้มือขวากดที่ท้องน้อยเหนือกกระดูกหัวเหน่ากดลงข้างล่าง เพื่อผลักรกที่อยู่ส่วนล่างของมดลูกและในช่องคลอดให้คลอดออกมาที่ปากช่องคลอดโดยมือซ้ายจับสายสะดือไว้เฉยๆ จากนั้นมือขวาเปลี่ยนจากกดลงเป็นดันมดลูกขึ้นไปเพื่อรั้งให้เยื่อหุ้มทารกคลอดออกมา
Control cord traction
การทำคลอดรกโดยการดึงสายสะดือเพื่อให้รกคลอดออกมาก่อนทำคลอดรกทุกครั้งต้องตรวจสอบการลอกตัวของรกว่ามีการลอกตัวสมบูรณ์แล้วและคลึงมดลูกให้แข็งก่อนทำคลอดรกทุกครั้งเพื่อป้องกันภาวะมดลูกปลิ้น
Modified crede’maneuver
โดยผู้ทำคลอดใช้มือขวาจับยอดมดลูกคลึงมดลูกให้แข็งตัว จับมดลูกให้มาอยู่กลางหน้าท้อง ใช้อุ้งมือดันมดลูกส่วนบนลงมาหาปุ่มกระดูก Sacrum เมื่อรกผ่านช่องคลอดแล้ว 2/3 ของรก ใช้มือซ้ายรองรับรกไว้หมุนไปทางเดียวกันเพื่อให้เยื่อหุ้มเด็กลอกตัวได้ดี ส่วนมือขวาที่ดันยอดมดลูกให้เปลี่ยนมากดตรงหัวเหน่าดันมดลูกขึ้นไปเพื่อช่วยให้เยื่อหุ้มทารกคลอดออกมา
อาการแสดงของรกลอกตัว :pen:
Vulva sign
อาการทางอวัยวะสืบพันธุ์ จะพบเลือดออกมาทางช่องคลอด พบในรายที่มีการลอกตัวของรกแบบ Duncan’s method เท่านั้น
Cord sign
ดูการเคลื่อนต่ำของสายสะดือ สายสะดือจะเคลื่อนต่ำลงจากตำแหน่งเดิมประมาณ 8-10 เซนติเมตร ตรวจไม่พบชีพจรของสายสะดือ และสายสะดือที่บิดเกลียวจะคลายออก ทดสอบโดยการทำ cord test โดยใช้มือกดบริเวณเหนือกระดูกหัวเหน่าถ้าสายสะดือจะไม่เคลื่อนตามแสดงว่ารกลอกตัวและลงมาอยู่สาวนล่างของมดลูกแล้ว
Uterine sign
การเปลี่ยนแปลงของมดลูก มดลูกจะหดตัวกลมแข็ง ขนาดเล็กลงเปลี่ยนรูปร่างจากแบนเป็นกลมเอียงไปทางขวาเพราะทางซ้ายมีส่วนของลำไส้ใหญ่ มองเห็นหน้าท้องแบ่งเป็นสองลอนโดยลอนบนเป็นมดลูก ลอนล่างเป็นรก
การดูแลในระยะที่ 3 ของการคลอด :pen:
ป้องกันการตกเลือด โดย ห้ามคลึงมอลูกก่อน
ที่จะมีการลอกตัวของรกสมบูรณ์เพราะจะทำให้เกิด
การหดรัดตัวผิดปกติทำให้เกิดการลอกตัวของรกล่าช้า
หรือลอกตัวไม่ได้เลย
ตรวจดูกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง
เพราะถ้ากระเพาะปัสสาวะเต็มจะขัดขวางการลอกตัวของรก
ตรวจสภาพร่างกายโดยทั่วไป
สัญญาณชีพ โดยเฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอด
ตรวจสอบการลอกตัวของรกถ้ารกมีการลอกตัวสมบูรณ์
ให้พิจารณาทำคลอดรก
การตรวจรกหลังคลอด :pen:
รกด้านลูก
1 ดูเส้นเลือดของสายสะดือ ปกติจะไม่ถึงขอบรก ถ้าพบว่าเส้นเลือดบางเส้นทอดไปถึงขอบรก อาจเป็นเส้นเลือดที่ทอดไปสู่รกน้อย
2 Closing Ring of wringkler-Walderyer เกิดจากการเชื่อมกันของ Decidua vera และ Decidua capsularis อันเป็นการจำกัดขอบเขตของรก
3 ตรวจดู subchorionic infarct, subchorionic cyst ซึ่งอยู่ภายใต้ Chorionic plate
รกด้านแม่
1 ดู Cotyledon ถ้าพบว่ามีช่องว่างหรือร่องระหว่าง cotyledon หรือผิวของ cotyledon ไม่เรียบ มีสีแดงคล้ำกว่าปกติอาจแสดงว่ามีเนื้อรกบางส่วนหายไป โดยปกติจะมี cotyledon ประมาณ 25-20 lobes
2 ตรวจดู infraction และ calcification
3 ตรวจดู marginal sinus รอบขอบรก ในรายที่แม่มีเลือดออกก่อนคลอด อันมีสาเหตุจาก marginal sinus มีการฉีกขาด จะพบว่ามีก่อนเลือดเก่าๆ
4 ตรวจดูรอยบุ๋มบนผิวรกด้านแม่ ในรายที่มีการลอกตัวก่อนกำหนด (abruption Placental) และมีเลือดก้อนขังอยู่หลังรกมาก
ลักษณะของรก
จะกลมแบนหรืออาจเป็นรูปรี รกปกติจะกว้างประมาณ 15-20 เซนติเมตร หนาประมาณ 2-3 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 500 มิลลิกรัม หรือประมาณ 1/5-1/6 ของน้ำหนักตัวเด็ก
เยื่อหุ้มทารก
1 ดูรอยแตกของถุงเยื่อหุ้มเด็ก ปกติจะห่างจากรกไม่น้อยกว่า 7เซนติเมตร
ถ้ารอยแตกของถุงเยื่อหุ้มเด็กอยู่ใกล้ขอบรกมากเท่าใดแสดงว่ารกเกาะต่ำลงมาอยู่ใกล้ปากมดลูกมากเท่านั้น
2 ดูสัดส่วนของเยื่อหุ้มทารกทั้งสองชั้นว่าสมดุลกันหรือไม่ โดยปกติเยื่อหุ้มทารกทั้งสองชั้น คือ Chorion และ Amnion ต้องเท่ากัน
3 ดูขนาดรอยแตกของเยื่อหุ้มทารก ว่ามีสัดส่วนสมดุลกับขนาดของตัวทารกหรือไม่ในกรณีที่รอยแตกมีขนาดใหญ่แต่ทารกตัวเล็กให้สงสัยว่าอาจมีเยื่อหุ้มเด็กค้างอยู่ภายในมดลูก
ตรวจสายสะดือ
ปกติสายสะดือจะยาย 35-100 เซนติเมตร เฉลี่ย 50 เซนติเมตร มีเส้นเลือด vein 1 เส้น Artery 2 เส้น ลักษณะของสายสะดือจะบิดเป็นเกลียว ทำให้ไม่หักพับงอ ตำแหน่งของสายสะดือที่เกาะ 4 แบบ คือ เกาะตรงกลางรก (Central insertion) เกาะค่อนไปข้างใดข้างหนึ่งของรก (Lateral insertion) เกาะที่ริมขอบรก (Marginal insertion หรือ Battledore insertion ) เกาะที่เยื่อหุ้มรก (Velamentosa insertion) ซึ่งการเกาะชนิดหลังจะมีอันตรายแก่ทารกในระหว่างการคลอด ถ้ามีการฉีกขาดของเส้นเลือดทารกจะเสียเลือดเนื่องจากเลือดที่ออกเป็นเลือดจากระบบไหลเวียนของตัวทารก
:silhouette:นางสาวรตา คำโสภา 592901047 ชั้นปีที่ 3