Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Chapter 3 ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ (วัตถุประสงค์ (ทราบความสัมพันธ์ของสถาปัตยก…
Chapter 3
ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์
วัตถุประสงค์
ทราบความสัมพันธ์ของสถาปัตยกรรมทางด้านฮาร์ดแวร์และสถาปัตยกรรมทางด้านซอร์ฟแวร์
เข้าใจระบบเลขฐานสองหรือการรับรู้ตัวเลขของคอมพิวเตอร์
อธิบายการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง
ซอฟต์แวร์ (Software)
การที่คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการได้นั้น เพราะมีซอฟต์แวร์มาช่วยสนับสนุนการทำงาน เช่น
ใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำในการพิมพ์เอกสาร
ใช้ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลต่างๆ
ใช้ซอฟต์แวร์เกมในการเล่นเกม
ใช้ซอฟต์แวร์ติดต่อสื่อสารเข้าสู่อินเทอร์เน็ต
เป็นต้น
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์มีมากมาย ซึ่งอาจได้รับการพัฒนาโดยผู้ใช้งาน ผู้พัฒนาระบบ หรือผู้ผลิตเพื่อจำหน่าย โดยซอฟต์แวร์สามารถแบ่งลักษณะการทำงานได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) และ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์และประสานงานระหว่างซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และผู้ใช้งาน ซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วย
ระบบปฏิบัติการ (Operating System)
โปรแกรมแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (Translator)
โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Program) และ
โปรแกรมขับอุปกรณ์ (Device Driver)
ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า OS (Operating System) เป็นโปรแกรม ควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทําหน้าที่ควบคุมการทำงานต่าง ๆ เช่น การแสดงผล ข้อมูลการติดต่อกับผู้ใช้ โดยทําหน้าที่เป็นสื่อกลาง ระหว่างผู้ใช้กับเครื่องให้สามารถสื่อสารกันได้
เนื่องจากระบบปฏิบัติการจะต้องมีการติดต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้น ระบบปฏิบัติการแต่ละระบบ จึงได้รับการออกแบบให้ทำงานได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละแบบ เช่น พีซี (Personal Computer : PC) เครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัลหรือพีดีเอ (Personal Digital Assitant : PDA) โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Phone) สำหรับระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีมากมาย เช่น
1) ระบบปฏิบัติการดอส
ระบบ DOS เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM เพื่อให้เป็ระบบปฏิบัติการ สําหรับเครื่องพีซี ซึ่งตัวโปรแกรม DOS จะถูก Load หรืออ่านจากแผ่นดิสก์เข้าไปเก็บไว้ในหน่วย ความจําก่อน จากนั้น DOS จะไปทําหน้าที่เป็น ผู้ประสานงานต่าง ๆ ระหว่างผู้ใช้กับอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ทั้งหลายโดยอัตโนมัติ
2) ระบบปฏิบัติการวินโดวส์
Windows เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท Microsoft ซึ่งจะมีส่วนติดต่อกับ ผู้ใช้ (User interface) เป็นแบบกราฟิก หรือเป็นระบบที่ใช้รูปภาพแทนคําสั่ง เรียกว่า GUI (Graphic User Interface) โดยสามารถสั่งให้เครื่องทํางานได้โดยใช้เมาส์คลิกที่สัญลักษณ์หรือคลิกที่คําสั่งที่ต้องการ ระบบนี้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถใช้งานโปรแกรมได้มากกว่า1 โปรแกรมในขณะเดียวกันซึ่งถ้าเป็นระบบ DOS หากต้องการเปลี่ยนไปทํางานโปรแกรมอื่นๆ จะต้องออกจากโปรแกรงเดิมก่อนจึงจะสามารถไปใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้
3) ระบบปฏิบัติการแมค
Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้บนเครื่อง SUN ของบริษัท SUN Microsystems แต่ไม่ได้เป็นคู่แข่งกับบริษัท Microsoft ในเรื่องของระบบปฏิบัติการบนเครื่อง PC แต๋อย่างใด แต่Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช็เทคโนโลยีแบบเปิด (Open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรืออุปกรณ์ยี่ห้อเดียวกัน นอกจากนี้ Unix ยังถูกออกแบบมาเพื่อ ตอบสนองการใช้งานในลักษณะให้มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกัน เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (Multiuser system) และสามารถทํางานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ (Multitasking system)
4) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
Linux เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ DOS, Windows หรือ Unix โดย Linuxนั้นจัดว่าเป็นระบบปฏิบัติการ Unix ประเภทหนึ่ง การที่Linuxเป็นที่กล่าวขานกันมากในช่วงปี 1999 – 2000 เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติ การและโปรแกรมประยุกต์ที่ ทํ างานบนระบบ Linux โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU’s Not UNIX)
5) ระบบปฏิบัติการลินุกซ์
ในปัจจุบันพีดีเอ สมาร์ทโฟน จีพีเอส หรืออุปกรณ์พกพาอื่นๆ เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น อุปกรณ์พกพาเหล่านี้มีทรัพยากรที่จำกัด เช่น หน่วยความจำ แหล่งพลังงาน และอาจให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุปกรณ์รับข้อมูล เช่น แทร็กบอล (Trackball) หรือจอสัมผัส (Touch Screen) ที่เพิ่มความสะดวกในการใช้งานมากขึ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีระบบปฏิบัติการเฉพาะ เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบปฏิบัติการในกลุ่มอุปกรณ์ประเภทนี้ เรียกว่า ระบบปฏิบัติการแบบฝังตัว (Embedded Operating System)
6) ระบบปฏิบัติการอื่นๆ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้นและจัดจำหน่ายเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาการพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นใช้เอง ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล ซอฟต์แวร์นำเสนอ ซอฟต์แวร์สื่อสาร ซอฟต์แวร์กราฟิก และสื่อประสม
ซอฟต์แวร์ประมวลคำ
(Word Processing Software)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ออกแบบสำหรับการพิมพ์เอกสาร สามารถแก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดรูปแบบเอกสารได้อย่างดี เอกสารที่พิมพ์และจัดเก็บไฟล์ สามารถแก้ไข และพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ได้ ซอฟต์แวร์ประมวลคำ เช่น OpenOfflin.org Writer, Microsoft Word, Notepad , Google Doc
ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน
(Spreadsheet Software)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ตารางทำงานใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงานที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด หรือสามารถสร้างคำสั่งหรือสูตรเพื่อใช้งานเฉพาะได้
ซอฟต์แวร์นำเสนอ
(Presentation Software)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการนำเสนอ ช่วยให้การนำเสนอทำได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว และมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ซอฟต์แวร์นำเสนอสามารถสร้างสไลด์ที่ประกอบด้วย ตัวอักษร รูปภาพ กราฟ แผนภูมิ ตาราง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง สามารถตกแต่งและนำเสนอสไลด์ด้วยรูปแบบต่างๆ เช่น การใส่และตกแต่งพื้นหลังของสไลด์ ตกแต่งตัวอักษรและเลือกรูปแบบการแสดงตัวอักษรและสไลด์ ตัวอย่างซอฟต์แวร์นำเสนอ เช่น OpenOfflin.org Impress, Microsoft PowerPoint
ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล
(Database Management Software)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้ ปรับปรุง และค้นคืน ข้อมูลได้ง่าย ทั้งยังสามารถสร้างรายงานหรือสรุปผลข้อมูลได้หลายรูปแบบ ซอฟต์แวร์นี้จะมีการจัดเก็บทั้งค่าข้อมูลพร้อมโครงสร้างข้อมูล เพื่อช่วยลดความซ้ำซ้อน และความขัดแย้งของข้อมูลตลอดจนช่วยให้ผู้ใช้งานได้รับความสะดวกและใช้ข้อมูลร่วมกันได้ ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เช่น OpenOfflin.org Base, Microsoft Access, MySQL, Oracle
ซอฟต์แวร์สื่อสาร
(Communication Software)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก ซึ่งให้ความสะดวกและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูลข่าวสาร การซื้อขายสินค้า การศึกษา โดยใช้ซอฟต์แวร์สื่อสารเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการอื่นๆ เพิ่มเติมได้ สามารถใช้รับส่งอีเมล์ ใช้โอนย้ายไฟล์ข้อมูล ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สนทนาผ่านเครือข่าย นอกจากนี้ยังใช้ในการเชื่อมโยงเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการสื่อสาร เช่น Windows Live Messenger ใช้ในการสนทนาผ่านเครือข่าย, Mozilla Firefox ใช้ในการเข้าถึงข้อมูล, Thunderbird ใช้ในการรับส่งอีเมล์, FileZilla ใช้ในการโอนย้ายไฟล์ข้อมูล