Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคเลือด : (โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) (อาการ (มีภาวะซีด…
โรคเลือด
:
โลหิตจาง
โลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก
(Iron deficiency anemia)
อาการ
ซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดหรือวิงเวียนศีรษะ ง่วงซึม ชีพจรเร็ว หน้ามืด เบื่ออาหาร มุมปากอักเสบ ทำให้กลืนอาหารลำบาก ติดเชื้อง่าย ลิ้นเลี่ยนแดงหรืออักเสบ
การวินิจฉัย
ซักประวัติ
เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ ปวดศีรษะ หายใจออกดิ้น มีประวัติติดเชื้อบ่อย ๆ
ตรวจร่างกาย
ลิ้นบวมแดง เรียบและเจ็บ มุมปากบวมแดงและเจ็บ เล็บเป็นรูปช้อนเปราะ หากขาดเหล็กมาก ๆ อาจมีหัวใจเต้นเร็ว
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
อายุ 3 เดือน ถึง 4 ปี มีระดับ Hb < 11 กรัม/เดซิลิตร Hct < 33 %
อายุ 6-14 ปี มีระดับ Hb < 12 กรัม/เดซิลิตร Hct < 36 %
ผู้ใหญ่ หากเป็นผู้หญิง Hb < 12 กรัม/เดซิลิตร Hct < 36 %
ผู้ชาย Hb < 13 กรัม/เดซิลิตร Hct < 39 %
ระดับธาตุเหล็กในซีรั่มต่ำ และระดับเฟอริตินในซีรั่มต่ำ
การรักษา
รักษาตามสาเหตุ หลีกเลี่ยงสาเหตุของการเสียเลือด ให้รับประทานยาที่มีธาตุเหล็ก เช่น Ferrous sulfate เป็นต้น และฉีด Iron dextran
โลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ
(Aplastic anemia)
อาการ
ค่อยเป็นค่อยไป มีอาการอ่อนเพลีย ซีด มีจุดแดงพรายย้ำขึ้นตามตัว มีเลือดออกที่ต่างๆ เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะเป็นเลือด และยังพบอาการของโรคติดเชื้อร่วมด้วย
การวินิจฉัย
ซักประวัติ
เจ็บหน้าอก มึนหัว โดยเฉพาะหลังจากเปลี่ยนจากท่านั่งหรือนอนเป็นท่ายืน ปวดหัว
ตรวจร่างกาย
มีไข้ ผิวหนังซีด มีจุดแดงพรายย้ำขึ้นตามตัว และอาจมีเลือดออกจากที่ต่างๆ
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
มีจำนวนเม็ดเลือดที่ต่ำ และในการวินิจฉัยโรคจะต้องทำการตัดชิ้นเนื้อจากไขกระดูกไปตรวจ
การรักษา
ถ้าเล็กน้อย จะให้เลือดเพื่อช่วยทำให้ปริมาณของเม็ดเลือดอยู่ในระดับที่เหมาะสม
ถ้ารุนแรง จะปลูกถ่ายไขกระดูก แต่ในรายที่เกิน 50 ปีและไม่สามารถทำได้ก็จะได้รับแอนติไทโมไซต์โกลบูลิน (antithymocyte globulin/ATG) ซึ่งเป็นสารภูมิต้านทาน หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เช่น ไซโคลสปอรีน (cyclosporine)
โรคธาลัสซีเมีย
(Thalassemia)
อาการ
มีภาวะซีด เนื่องจากเม็ดเลือดแดงถูกทำลายอย่างเรื้อรัง ผู้ป่วยจะมีอาการซีด ตัวเหลือง ตาเหลือง เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
มีหน้าตาเปลี่ยนไป เนื่องจากการขยายออกของไขกระดูกของกะโหลกศีรษะ ทำให้มีลักษณะการขยายออกของกระดูกหน้าผาก (Frontal) และกรามบน (Maxillary) เรียกว่า Thaslassemia facies ผู้ป่วยจะมีดั้งจมูกแบน หัวตาสองข้างห่างกัน ฟันบนยื่นคล้ายฟันหนู กะโหลดศีรษะยื่นยาวออก อาจนูนสูง
มีพัฒนาการทางเพศช้ากว่าปกติ เนื่องจากมีธาตุเหล็กมากเกินไปและไปจับที่ต่อมไร้ท่อ ทำให้เกิดความพิการของอวัยวะสืบพันธุ์และต่อมใต้สมอง
มีการเปลี่ยนแปลงของกระดูก เนื่องจากไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้โพรงกระดูกขยายออกไป ส่วนเนื้อของกระดูกจะบาง ทำให้กระดูกเปราะหักง่ายหรือปวดกระดูก
มีภาวะหัวใจโต เนื่องจากผู้ป่วยมีภาวะซีดและมีธาตุเหล็กมากเกินไปและไปจับที่กล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยง่าย
การวินิจฉัย
ซักประวัติ
มีประวัติได้รับเลือด
ตรวจร่างกาย
หน้าตามีลักษณะเป็นมองโกลอยด์หรือธาลัสซีเมีย มีอาการซีดและเหลือง และตับโตม้ามโต
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
CBC พบลักษณะเม็ดเลือดแดงแตก รูปร่างของเม็ดเลือดแดงผิดปกติ เช่น Microcytosis และ Target cell
Peripheral blood smear พบเม็ดเลือดแดงมีลักษณะผิดปกติอย่างชัดเจน) Reticulocyte count สูง และ Hb typing หรือ Hb electrophoresis พบจำนวนและชนิดฮีโมโกลบินแตกต่างไปจากปกติ ตรวจพบธาตุเหล็กในซีรัมและเนื้อเยื่อสูงกว่าปกติ ส่วนในรายที่เป็นพาหะของ α – thalassemia ต้องตรวจ DNA analysis เพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัยแยกโรคจากภาวะซีดอื่นๆ
การรักษา
ในรายที่มีอาการน้อยก็ให้คำแนะนำ ติดตามดูอาการและในรายที่มีอาการรุนแรงก็ให้เลือด และให้ยาขับเหล็ก และในรายที่ได้รับเลือดบ่อย ๆ แต่ระดับฮีโมโกลบินสูงขึ้นเล็กน้อย และม้ามโตมาก (Hypersplenism) จะตัดม้ามออก แต่ต้องระวังการติดเชื้อซึ่งจะพบบ่อยหลังจากตัดม้ามออก
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคีเมีย (Leukemia)
อาการ
เม็ดเลือดแดงลดลง ผู้ป่วยอาจมีอาการจากภาวะโลหิตจาง เช่น เหนื่อยง่าย ใจสั่น วิงเวียนศีรษะ
เม็ดเลือดขาวลดลง ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น มีไข้
เกล็ดเลือดลดลง ทำให้มีภาวะเลือดออกง่ายกว่าปกติ อาจพบจุดเลือดออกหรือจ้ำเลือดตามตัว รวมถึงภาวะเลือดหยุดยาก
การวินิจฉัย
ซักประวัติ
มีไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
ตรวจร่างกาย
ซีด มีจุดแดงจ้ำเขียว เลือดกำเดาไหล
เลือดออกตามไรฟัน ตับโต ม้ามโต
ต่อมน้ำเหลืองโต เช่น บริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบ
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
พบฮีโมโกลบินต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ จำนวนเม็ดเลือดขาวสูงหรือต่ำกว่าปกติก็ได้ และอาจพบเม็ดเลือดขาวตัวอ่อนได้
การรักษา
เคมีบำบัด การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted therapy) เป็นยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง โดยไม่ทำลายเซลล์ปกติ และการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell transplantation)
ภาวะพร่องเอนไซม์จีซิกพีดี
G-6-PD Deficiency
อาการ
ไข้สูง หนาวสั่น ซีดเหลือง
อ่อนเพลียมาก ปัสสาวะสีคล้ายน้ำปลาหรือโคล่า
การวินิจฉัย
ซักประวัติ
การรับประทานอาหารบางชนิดอย่างถั่วปากอ้า
และการได้รับสารเคมีบางชนิดอย่างลูกเหม็น มีอาการอ่อนเพลีย
ตรวจร่างกาย
มีซีด ตาเหลือง ตัวเหลือง แต่ตับม้ามมักไม่โต
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจนับเม็ดเลือดเพื่อดูภาวะซีด รวมถึงการดูเสมียร์เลือดที่จะพบลักษณะของเม็ดเลือดแดงแตก
ที่เข้าได้กับภาวะพร่องเอนไซม์ G-6-PD
การรักษา
ถ้าซีดมากให้เลือด และหลีกเลี่ยง ยา สารเคมี และ ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดการแตกของเม็ดเลือดแดง
ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน
(deep vein thrombosis)
การรักษา
ใช้ผ้าพันแผลชนิดยืด หรือการสวมใส่ถุงเท้ายืด นอนยกขาสูง และการให้ยาละลายลิ่มเลือด เช่น heparin ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง หรือให้รับประทานยา warfarin
การวินิจฉัย
ซักประวัติ
พบว่าบางรายอาจมีไข้ต่ำๆ
การตรวจร่างกาย
พบกดเจ็บที่น่อง ขาบวม เท้าบวมข้างหนึ่ง และมีอาการโฮแมน (Homan's sign) โดยการจับปลายเท้ากระดกขึ้น จะเจ็บน่องมากขึ้น
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เจาะเลือดเพื่อตรวจค่าดีไดเมอร์ (D-dimer) เป็นค่าบ่งบอกถึงการมีลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
อาการ
มีอาการปวดหน่วงๆ ตึงๆ หรือเจ็บบริเวณน่อง หรือขาข้างหนึ่งโดยเฉพาะเวลาเดินและมีอาการบวมที่เท้า ข้อเท้า และต้นขาร่วมด้วย