Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นางสาว อิสราภรณ์ หาญจิตร์ 5806510019 TH 3 42479359_1928188407261600…
นางสาว อิสราภรณ์ หาญจิตร์ 5806510019 TH 3
บทที่ 1 แนวคิดทฤษฎี นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีของนวัตกรรมสารสนเทศทางการศึกษา
นักศึกษาสามารถบอกความหมายของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาได้
บทบาทของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การเรียนการสอน มีความหมายมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้กว้างขวาง เรียนได้เร็วขึ้น ทำให้ผู้สอนมีเวลาให้ผู้เรียนมากขึ้น
เทคโนโลยีการศึกษาสามารถตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารถของผู้เรียน การเรียนการสอนจะเป็นการตอบสนองความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคลได้ดี
เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การจัดการศึกษา ตั้งบนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้การจัดการศึกษาเป็นระบบและเป็นขั้นตอน
เทคโนโลยีการศึกษาช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น การนำเทคโนโลยีด้านสื่อเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะทำให้การศึกษามีพลัง
เทคโนโลยีการศึกษาทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง และได้พบกับสภาพความจริงในชีวิตมากที่สุด
เทคโนโลยีการศึกษาทำให้เปิดโอกาสทางการศึกษาทั้งๆ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different)
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness)
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากร
การนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาและใช้ในการเรียนการสอน
ประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนผู้สอนได้เรียนและได้สอนเต็มความสามารถเต็มหลักสูตรเต็มเวลาด้วยความพึงพอใจ เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์เต็มความสามารถ (Full Energy) และเกิดความพอใจ (Satisfaction) เป็นที่ได้ใช้สื่อนั้น
ประสิทธิผล (Productivity) ในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดจุดประสงค์ไว้ซึ่งนักเรียนเกิดการเรียนรู้บรรลุจุดประสงค์ได้ดีกว่า สูงกว่าไม่ใช้สื่อนั้น
ประหยัด (Economy) ในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงสภาพความเหมาะสมตามฐานะแล้ว จะต้องประหยัด นั่นคือ ประหยัดทั้งเงินประหยัดเวลา และประหยัดแรงงาน
INNOTECH หรือ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
การเรียนการสอนระบบไม่มีชั้น (Non –Graded System)
ระบบการเรียนโดยนักเรียนสอนกันเอง นักเรียนเก่งสอนนักเรียนอ่อน (Peer Tutoring)
การจัดคาบเวลาการเรียนการสอนแบบยืดหยุ่น (Modular Scheduling)
การแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มตามวิชาที่เลือก ตามความถนัด ความสามารถหรือความสนใจของเด็ก (Flexible Grouping)
การกำหนดวิธีการสอนให้เหมาะสมกับแต่ละรายบุคคล (Individually Prescribed Instructing )
โครงการส่งเสริมสมรรถภาพควรเรียนด้วยตนเอง โดยลดเวลาการสอนลง (Reduced Instructional Time)
การเตรียมครูสำหรับโครงการนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา โดยลดบทบาทการสอนและสั่งการของครูลง (Non –Traditional Roles of Teachers)
โครงการอิมแพ็คท์ คือ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยผู้ปกครอง ชุมชนและครูร่วมกันจัดกิจกรรมให้การศึกษา (Instructional Management by Parents, comminuting and Teachers ; IMPACT)
การรวมเนื้อหาหลักสูตรที่เกี่ยวเนื่องกันให้อยู่ในหน่วยการสอนเดียวกัน (Integrated Curricular)
การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Interaction)
การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)
การสอนโดยใช้อุปกรณ์จำลอง (Simulation Technique)
หลักการและทฤษฎี เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาในแง่ของการเรียนรู้
คาร์เพนเตอร์ และเดล (C.R. Carpenter and Edgar Dale) ได้ประมวลหลักการและทฤษฏีเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ 10 ประการ คือ
หลักการจูงใจ สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาจะมีพลังจูงใจที่สำคัญในกิจกรรมการเรียนการสอน เพราะเป็นสิ่งที่สามารถผลักดันจูงใจ มีอิทธิพลต่อพลังความสนใจ ความต้องการ ของผู้เรียน
การพัฒนามโนทัศน์ (Concept) ส่วนบุคคล ช่วยส่งเสริมความ คิด ความเข้าใจแก่ผู้เรียนแต่ละคน การผลิตและการใช้วัสดุการเรียนการสอน ควรจะต้องสัมพันธ์กับความสามารถของผู้สอนและผู้เรียน ตลอดถึงจุดมุ่งหมายของการเรียน
กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติเกี่ยวกับสื่อจะเป็นแบบลูกโซ่ในกระบวนการเรียนการสอน
การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา ผู้เรียนจะเรียนได้ดีจากสื่อ เทคโนโลยีที่จัดระเบียบเป็นระบบ และมีความหมายตามความสามารถของเขา
สรุปความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรม
คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech ความจริงแล้วนวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม
หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
ต้องอาศัยวิธีการที่สำคัญอย่างน้อยอีก 2 วิธี ได้แก่
วิธีการเชิงมนุษยวิทยา (Humunistic Approach) ได้แก่ การที่ครูให้ความสนใจต่อการพัฒนา ในด้านความเจริญเติบโตของผู้เรียนแต่ละคน นักการศึกษาเชื่อว่าไม่มีวิธีการเรียนการสอนอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นวิธีที่ดีที่สุด หากแต่การใช้หลายๆ วิธีผสมผสานกัน (Integration) หรือเลือกวิธีการใด ๆ ก็ได้ที่เหมาะกับความต้องการของผู้เรียนนั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุด
วิธีการสอนเชิงระบบ (Systematic Approach) ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน โดยอาศัยวิธีระบบ ทั้งนี้เพราะการเรียนการสอนเป็นการถ่ายทอดศิลปะ วัฒนธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคมในลักษณะของการเข้าใจเนื้อหาวิชา ซึ่งการจัดการเรียนการสอนไม่อาจปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรมหรือตามอำเภอใจของ ผู้สอนหรือผู้เรียนได้ โดยเหตุนี้การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเป็นไปตามระบบ ก็คือ มีการวางแผนการสอนในด้านการจัดผู้เรียน วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรม และพยายามทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาไปตามแผนนั้น
ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา
ประเมินผล
ออกแบบ
พัฒนา
นำไปใช้
การจัดการ
ความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีต่อการศึกษา
หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้นั้น ส่วนใหญ่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ในด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน เพราะปัญหาทางด้านการศึกษามากมาย เช่น
ปัญหาผู้สอน - ปัญหาผู้เรียน
ปัญหาด้านเนื้อหา - ปัญหาด้านเวลา
ปัญหาเรื่องระยะทาง
เป้าหมายของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้
การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล
การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา
พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา
ความหมายของนวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา
นวัตกรรม (Innovation)
คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบ ใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ หรือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม”
นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation)
หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เทคโนโลยี (Technology)
หมายถึง การใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist)
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology)
ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุม องค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
ประโยชน์ของนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา
ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม
ช่วยให้บรรยากาศการเรียนรู้สนุกสนาน
ช่วยให้บทเรียนน่าสนใจ
ช่วยลดเวลาในการสอน
ช่วยประหยัดค่าใช่จ่าย
บทที่ 2 ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับความเป็นครูในศตวรรษที่ 21
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19 ระบบการศึกษาต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริงในประเทศสหรัฐอเมริกาแนวคิดเรื่อง "ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยภาคส่วนที่เกิดจากวงการนอกการศึกษา ประกอบด้วย บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่
แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) วิจารณ์ พานิช (2555: 16-21) ได้กล่าวถึงทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ว่าสาระวิชาก็มีความสำคัญ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้
สาระวิชาหลัก (Core Subjects) ประกอบด้วย ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก ศิลปะ
คณิตศาสตร์ การปกครองและหน้าที่พลเมือง
เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์
ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์
แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่
วิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
เป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน
เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน
ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R และ 7C
3R
Reading
Writing
Arithmetic
7C
Creativity and Innovation
Cross-cultural Understanding
Critical Thinking and Problem Solving
Collaboration, Teamwork and Leadership
Communications, Information, and Media Literacy
Computing and ICT Literacy
Career and Learning Skills
บทที่ 3 Flipped Classroom
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
นักศึกษารู้และเข้าใจรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Flipped Classroom
นักศึกษาสามารถบอกตัวอย่างและเปรียบเทียบรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบเดิมกับแบบ Flipped Classroom ได้
นักศึกษาสามารถออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Flipped Classroom ได้
Flipped Classroom คืออะไร ?
The Flipped Classroom หรือ การเรียนแบบ "พลิกกลับ" คือ วิธีการเรียนแนวใหม่ที่ฉีกตำราการสอนแบบเดิม ๆ ไปโดยสิ้นเชิงและกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในโลกปัจจุบันที่ "การศึกษา" และ "เทคโนโลยี" แทบจะเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน
ใครบ้างที่ใช้โมเดลนี้ ?
ในต่างประเทศ หลากหลายคอร์ส ในหลากหลายมหาวิทยาลัย ได้เริ่มใช้โมเดลนี้แล้ว
วิชา Video production ที่ Algonquin College
การสอนให้ใช้งานซอฟแวร์ให้เป็นตั้งแต่ในห้องเรียน เคยเป็นเรื่องลำบากทั้งกับผู้สอนและผู้เรียน แต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้โมเดลนี้ นักศึกษาสามารถศึกษาจากวีดีโอ ซึ่งแบ่งเป็นตอนสั้นๆ ได้ด้วยความเร็วที่ตัวเองเข้าใจ เมื่อเข้ามาถึงในห้องเรียน ก็สามารถใช้งานซอฟแวร์ได้อย่างเต็มที่ และได้ฝึกฝนด้วยการทำโปรเจคกับเพื่อนในห้องเรียน
วิชาบัญชี ที่ Penn State
ในห้องเรียน นักศึกษาได้ร่วมกันเสวนาพูดคุย บ้างก็รับฟังบรรยายหัวข้อพิเศษจากผู้บรรยายพิเศษ หรือโจทย์ปัญหายากๆโดยมีอาจารย์ให้คำปรึกษา
ข้อดีของห้องเรียนกลับด้าน
กำจัดข้อเสียของรูปแบบเดิม คือนักศึกษาต้องพยายามเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์พูดทันที ซึ่งอาจทำให้พลาดประเด็นสำคัญอื่นๆ
การใช้วีดีโอจะช่วยให้นักศึกษาปรับได้ในแบบที่ตัวเองต้องการ และไม่กดดัน
การเปลี่ยนการบ้านและโปรเจคมาทำในห้องเรียน โดยมีอาจารย์ควบคุมดูแล จะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น และลดปัญหาการลอกการบ้าน
ช่วยยกระดับความสัมพันธ์ และบรรยากาศในห้องเรียน
ข้อเสียของห้องเรียนกลับด้าน
เนื่องจาก Lectures ได้กลายเป็นวีดีโอที่ให้นักเรียนกลับไปเรียนเอง ดังนั้นวีดีโอที่ดีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งวีดีโอดีๆก็ใช้เวลาเตรียมและถ่ายทำไม่น้อย รวมไปถึงกิจกรรมที่จะให้นักเรียนทำในห้อง อาจารย์ต้องมีการวางแผนล่วงหน้า ดังนั้นสรุปได้ว่าโมเดลนี้จึงเพิ่มภาระให้แก่อาจารย์ค่อนข้างมาก
สำหรับฝั่งนักเรียนเองก็ต้องทุ่มเทมากขึ้น ต้องศึกษาจากวีดีโอหรือสื่ออื่นๆ ล่วงหน้า โมเดลนี้จึงเป็นโมเดลที่ดีมากสำหรับนักเรียนที่มีความขยัน ใฝ่เรียน แต่ไม่ช่วยแก้ปัญหานักเรียนที่ไม่ตั้งใจได้
นักเรียนที่ไม่ถนัดเรียนรู้ด้วยตัวเอง อาจไม่สามารถเข้าใจได้ดีนัก เมื่อต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง
รูปแบบกลับด้านนี้อาศัยเวลาและความรับผิดชอบ มากกว่ารูปแบบเดิมๆ