Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงของมารดาและทารกในระยะที่ 3 ของการคลอด ทางด้านจิตใจ อารมณ์…
การเปลี่ยนแปลงของมารดาและทารกในระยะที่ 3
ของการคลอด ทางด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาน
:
การเปลี่ยนแปลง
ของมารดา
และทารกในที่ 3
ของการคลอด
ทางด้านจิตใจ อารมณ์
สังคม และจิตวิญญาน
1.1ความอ่อนแอ (Vulnerability)
ไตรมาสสาม ด้านจิตสังคมมีความรู้สึกอ่อนแอต้องการความช่วยเหลือคอยดูแลปกป้องทารกในครรภ์ตลอดเวลากลัวทารกได้รับอันตรายหรือกระทบกระเทือนรู้สึกเป็นห่วงทารกในครรภ์ เวลาเดินจะอุ้มพยุงประคองหน้าท้องตลอดเวลาหรือหลีกเลี่ยงไปในที่ชุมชนแออัด สถานที่อันตรายเสี่ยงติดเชื้อ สัมผัสโลกเพื่อป้องกันอันตรายต่อทารกในครรภ์
1.2พึ่งพาผู้อื่นมากขึ้น (Increasing dependence)
ต้องการความช่วยเหลือจากสามีมากขึ้นในช่วง 1 สัปดาห์สุดท้ายก่อนคลอดเช่นสามารถโทรศัพท์ติดต่อสามีได้ทันทีหรือตลอดเวลาในการทำงาน หากต้องไปโรงพยาบาลหรือต้องการความช่วยเหลือต้องการความรักความสนใจเอาใจใส่จากสามีอย่างชัดเจนเพื่อทำให้รู้สึกอบอุ่นปลอดภัยในระยะใกล้คลอด
https://www.youtube.com/watch?v=KHfquTLIHzY
1.3 เตรียมพร้อมการคลอดบุตร (Preparation for birth)
ช่วงสัปดาห์สุดท้ายใกล้คลอด มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการคลอดบุตรที่ใกล้เข้ามากลัวอาการเจ็บครรภ์เฝ้ารอคอยนับกำหนดวันคลอดอย่างจริงจังและรู้สึกไม่สดชื่นอยากให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลงเร็วๆ
ไตรมาส 3 สตรีตั้งครรภ์มีการจัดเตรียมของเครื่องใช้สำหรับเด็กอ่อนซึ่งขึ้นอยู่กับความเชื่อประเพณี และวัฒนธรรมของแต่ละบุคคลครอบครัว
เมื่อเข้าสู่ปลายไตรมาสที่ 3 ความรู้สึกของสตรีตั้งครรภ์ว่าตนเองอ่อนแอจะค่อยๆลดลง ในช่วงเวลาที่อายุครรภ์ใกล้ครบกำหนด
https://www.youtube.com/watch?v=4X-fHP7_57A
การตอบสนองด้านอารมณ์ต่อการตั้งครรภ์ ( Emotional responses to pregnancy ) ในระยะตั้งครรภ์ สตรีตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
Introversion versus Extroversion
การฝักใฝ่สนใจสิ่งภายในตนเอง เป็นภาวะปกติที่พบได้ในสตรีตั้งครรภ์
ภาพลักษณ์และการมีพื้นที่ส่วนตัว (Body image and boundary)
หมายถึงความรู้สึก การรับรู้เกี่ยวกับรูปร่างตนเองที่เปลี่ยนแปลงไปในระยะตั้งครรภ์
ความเครียด (stress)
เนื่องจากการตั้งครรภ์ นำมาซึ่งภาระหน้าที่ความรับผิดชอบมากมายก่อให้เกิดความเครียดความวิตกกังวลขึ้นในสตีตั้งครรภ์เพื่อปรับเข้าสู่บทบาทมารดา
Emotional lability
อารมณ์อ่อนไหวง่ายเกิดขึ้นได้เสมอและพบเจอได้บ่อยมากในสตรีตั้งครรภ์มีเหตุจากการเปลี่ยนแปลง ของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสโตโรนทำให้รู้สึกน้อยใจง่ายของสตรีตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับอารมณ์ทางเพศ(change in sexual desire )
ในระยะไตรมาสสาม ยังคงมีอารมณ์หรือความต้องการทางเพศอยู่แต่ในบางรายอาจมีความต้องการทางเพศลดลงเนื่องจากหน้าท้อง ขยายใหญ่มากมีความไม่สุขสบายเคลื่อนไหวลำบากดังนั้นการมีความรู้สึกเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ความต้องการทางเพศระยะตั้งครรภ์จะทำให้สตีตั้งครรภ์และคู่สมรสสามารถตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันได้ไม่เกิดปัญหาคู่สมรสนอกใจ
การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับความคาดหวังของครอบครัว (change in the expectant family)
แนะนำแนวทางการเตรียมครอบครัวให้พร้อมกับการรับสมาชิกใหม่
การรักตัวเอง (Narcissism)
ตัวเองเป็นศูนย์กลาง (Self-centeredness)
ภาวะเศร้าโศก (Grief
เป็นความรู้สึกที่เกิดเนื่องจากการที่บุคคลจะต้องแสดงบทบาทใหม่ได้มอง
การปรับตัวด้านพัฒนกิจในระยะตั้งครรภ์ (The psychological tasks of pregnancy)
ไตรมาสที่ 3
การเตรียมการเป็นบิดามารดา (Preparing for parenthood) ในระยะไตรมาสที่ 3 คู่สมรสมีการจัดเตรียมสถานที่ ของเครื่องใช้ สำหรับทารกแรกเกิด ซื้อเสื้อผ้าเด็กอ่อน ผ้าอ้อม มีการวางแผนแบ่งเวลาในการเลี้ยงดูบุตร การตั้งชื่อบุตร อาการเจ็บครรภ์อาการแสดงใกล้คลอด และการเลือกสถานพยาบาลที่เหมาะสม
การปรับตัวการเป็นบิดา (Pataernal adaptation)
ไตรมาสที่ 3
สามีจะมีการคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับการคลอด มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เคยทำในชีวิตประจำวันโดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น การแต่งตัว การโกนหนวด มีการรอคอยการคลอดบุตร หากรู้สึกเวลาที่ผ่านไปช้ามาก เริ่มรู้สึกเบื่อหน่าย นอนไม่หลับ เป็นต้น
https://www.youtube.com/watch?v=VV2OSXRZfuI
สมาชิก
นางสาวกิิตติญา สนนิ่ม เลขที่ 12
นางสาวเจนจิรา คำมาโย เลขที่ 26
นางสาวชนิดาภา ปรารมภ์ เลขที่ 33
นางสาวฐิตาพร จันทร์แดง เลขที่ 38
นางสาวธัญธร แซ่ลิ่ม เลขที่ 59
นางสาวปณิดา ปิ่นทอง เลขที่ 84
นางสาวนิภากร แซ่จึ้ง เลขที่ 76
นางสาววรรณิภา จรัสพรธำรง เลขที่ 95