Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิเคราะห์หลักการจัดการของปั้ม PT (การกำหนดอำนาจหน้าที่ (Authority) (1…
วิเคราะห์หลักการจัดการของปั้ม PT
การกำหนดนโยบาย (Policy)
การปฎิบัติต่อผู้ถือหุ้น บริษัทมีนโยบายที่จะปฎิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน ไม่กระทำการใดๆที่เป็นการละเมิดผู้ถือหุ้น
การปฎิบัติต่อพนักงาน บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของพนักงานทุกคนในบริษัทที่มีต่อการดำเนินธุรกิจบริษัทจึงมีนโยบายให้ปฎิบัติกับพนักงานอย่างเสมอภาพ และเป็นธรรม
การปฎิบัติต่อลูกค้า บริษัทเน้นการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า โดยการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามความต้องการของลูกค้า
การปฎิบัติต่อคู่ค้า เจ้าหนี้ และลูกหนี้ บริษัทคำนึงถึงความเสมอภาค ความเป็นธรรม และจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
การปฎิบัติต่อคู่แข่ง บริษัทปฎิบัติต่อคู่แข่งทางการค้าโดยยึดหลักการค้าเสรี ความเสมอภาคกัน และการแข่งขันอย่างเป็นธรรม
การวางแผนงาน (Planning)
น้ำมันเชื้อเพลิงของ PTG ทุกหยดตรงจากโรงกลั่นไทยออยล์ ผ่านการตรวจสอบ คุณภาพ มาตรฐานสูงสุด EURO 4 ด้วยระบบการตรวจสอบคุณภาพน้ำมันที่ ทันสมัยและ ประสิทธิภาพสูงสุด เป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญ หน่วยตรวจสอบ คุณภาพน้ำมันเคลื่อนที่ จะทำการตรวจสอบน้ำมันที่สถานีบริการของเราทุกแห่ง ทั่วประเทศอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่า น้ำมันของ PTG เต็มปริมาตร
รายงาน ( Reporting )
เมื่อ 20 กว่าปีก่อน ในวันที่ 21 มีนาคม 2531 บริษัท ภาคใต้เชื้อเพลิง จำกัด ได้ก่อตั้งขึ้นบนความตั้งใจประกอบกิจการคลังน้ำมันและค้าน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับชุมชน ผู้ประกอบการประมงและโรงงานอุตสาหกรรม เริ่มต้นจากภาคใต้ของประเทศไทย จากบริษัท ภาคใต้ เชื่อเพลิง
การจัดการด้านกำลังคน ( Staffing )
มีทักษะในการประสานงาน
พนักงานส่วนใหญ่เป็นคนในประเทศไทย
ใช้คอมพิวเตอร์คล่องโดยเฉพาะMs-office
มีทักษะในการคำนวณ และมนุษสัมพันธ์ที่ดี
การประสานงาน ( Coordinating )
ประสานงานระหว่างคลังและสถานนีบริการของบริษัท
รับผิดชอบงานการดูแลสต๊อกน้ำมันของสถานีบริการของบริษัทในเครือให้เป็นไปตามนโยบาย
รับผิดชอบงาน จัดสรรรถบรรทุกให้จัดส่งน้ำมันให้กับสถานีบริการของลูกค้าและบริษัท
การประสานงานการซ่อมบำรุงซ่อมแซมรถบรรทุก
การจัดองค์การ ( Organizing )
คณะกรรมการบริษัท
คณะกรรมการกำกับดูเเลกิจการ
สำนักเลขานุการบริษัท
คณะกรรมการบริหาร
คณะกรรมการสรรหาเเละพิจารณาค่าตอบเเทน
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
คณะกรรมการตรวจสอบ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเเละกรรมการผู้จัดการใหญ่
สำนักกรรมการผู้จัดการใหญ่
ฝ่ายตรวจสอบภายใน
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่
การอำนวยการ ( Directing )
กระตุ้นให้สมาชิกในองค์การมีความเต็มใจในการที่จะประสานงาน และร่วมมือ
ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อให้ดำเนินงานขององค์การบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด
การกำหนดอำนาจหน้าที่ (Authority)
1.จัดทำ และเสนอนโยบาย และเป้าหมายตลอดจนแผนธุรกิจและแผนกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทเพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริหารพิจารณา
2.บริหารงานบริษัทตามนโยบายและเป้าหมายรวมถึงแผนธุรกิจที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติ
3.มอบอำนาจช่วง หรือมอบหมายให้บุคคลให้บุคคลอื่นปฎิบัติงานเฉพาะอย่างแทนได้
4.จัดทำรายงานการดำเนินงานของบริษัท และนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารในเรื่องที่สำคัญอย่างเสมอ
5.เป็นตัวแทนของบริษัทในการติดต่อกับบุคคลภายนอก
6.กำหนดแนวทางปฎิบัติมาตการต่อต้านการทุจริต และขั้นตอนปฎิบัติเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริต รวมทั้งต้องส่งเสริม และสนับสนุนให้กลุ่มบริษัทพิจรณานำนโยบาย แนวทางในการปฎิบัติ มาตรการต่อต้านการทุจริต
7.ปฎิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริหาร หรือคณะกรรมการบริษัท
การเงินหรืองบประมาณ ( Budgeting)
1.การจัดทำงบประมาณ
การจัดตั้งคณะทำงานที่ประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ประธานควรเป็นผู้บริหารที่สามารถมอบหมายนโยบาย และมีความรู้ด้านงบประมาณ ส่วนคณะทำงาน คือ ผู้ทำหน้าที่วางแผนงานการตลาดเพื่อประเมินรายรับ ผู้รับผิดชอบโครงการและฝ่ายจัดซื้อจัด เพื่อทำหน้าที่ประมาณการรายจ่าย ผู้แทนส่วนกลางที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้านการบริหารจัดการผู้แทนจากฝ่ายบัญชีและการเงินที่จะช่วยตรวจสอบรายละเอียดงบการเงินและงบกระแส เงินสด
การกำหนดระยะเวลา ที่ต้องใช้ในการจัดเตรียมรายละเอียดงบประมาณ ของหน่วยต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อปฏิบัติร่วมกันให้แล้วเสร็จก่อนปีงบประมาณ
การตรวจสอบรายละเอียดของแบบร่างงบประมาณรายรับ รายจ่ายก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร หรือที่ประชุมของคณะกรรมการบริษัทใช้พิจารณาต่อไป
2.การอนุมัติงบประมาณ ฝ่ายบัญชีและฝ่ายการเงินจะมีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมา ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองงบประมาณรายจ่ายประจำปี ก่อนนำเสนอคณะกรรมการบริหารหรือคณะกรรมการบริษัทพิจารณา ซึ่งอาจมีการอนุมัติแบบมีเงื่อนไขให้ปรับปรุง ก่อนประกาศใช้เป็นงบประมาณประจำปีต่อไป
3.การบริหารงบประมาณ ขั้นตอนการบริหารงบประมาณ ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดที่จะแปลงแผนงาน ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม ธุรกิจยุคใหม่ ผู้บริหารในทุกระดับชั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีข้อมูลต่างๆ ตั้งแต่ขั้นแผนงานจนถึงขั้นงบประมาณ ตลอดจนควรเป็นผู้มีส่วนตั้งแต่เริ่มต้น ในการจัดทำแผนงานและงบประมาณดังกล่าวเพื่อที่เมื่อต้องลงมือปฏิบัติงานจะได้เข้าใจภาพรวมในการบริหารจัดการ ซึ่งจะทำให้กิจการสามารถก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็วและเป็นระบบ
4.การติดตามประเมินผล การจัดทำรายงานและติดตามประเมินผล การปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน ในช่วงเวลาที่กำหนดว่าสามารถบรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของโครงการได้หรือไม่ มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร และมีความจำเป็นต้องปรับปรุง หรือทบทวนแผนงานหรือไม่ นับเป็นขั้นตอนสำคัญที่ฝ่ายบริหารต้องทำหน้าที่ติดตามประเมินผลดังกล่าว ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นเครื่องมือวัดผลการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานได้อย่างดีด้วย