Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
5806510106 สิรินทรา สุคนธา 21752038_2051840098381390…
5806510106
สิรินทรา
สุคนธา
บทที่1แนวคิดทฤษฎี นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
นวตกรรม
คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบ ใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ หรือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
นวัตกรรมการศึกษา
หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน
เทคโนโลยี
หมายถึง การใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist)
เทคโนโลยีการศึกษา
ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุม องค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
ความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีต่อการศึกษา
หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้นั้น นั้น ส่วนใหญ่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ในด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน เพราะปัญหาทางด้านการศึกษามากมาย เช่น ปัญหาผู้สอน ปัญหาผู้เรียน
บทบาทของนวตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
1.เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การเรียนการสอน มีความหมายมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้กว้างขวาง เรียนได้เร็วขึ้น ทำให้ผู้สอนมีเวลาให้ผู้เรียนมากขึ้น
2.เทคโนโลยีการศึกษาช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น การนำเทคโนโลยีด้านสื่อเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะทำให้การศึกษามีพลัง
3.เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การจัดการศึกษา ตั้งบนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้การจัดการศึกษาเป็นระบบและเป็นขั้นตอน
หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวกับนวตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
วิธีการเชิงมนุษยวิทยา
(Humunistic Approach) ได้แก่ การที่ครูให้ความสนใจต่อการพัฒนา ในด้านความเจริญเติบโตของผู้เรียนแต่ละคน
วิธีการสอนเชิงระบบ
(Systematic Approach) ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน โดยอาศัยวิธีระบบ ทั้งนี้เพราะการเรียนการสอนเป็นการถ่ายทอดศิลปะ วัฒนธรรม
หลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาในแง่ของการเรียนรู้
หลักการจูงใจ
สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาจะมีพลังจูงใจที่สำคัญในกิจกรรมการเรียนการสอน เพราะเป็นสิ่งที่สามารถผลักดันจูงใจ มีอิทธิพลต่อพลังความสนใจ ความต้องการ ของผู้เรียน
การพัฒนามโนทัศน์
ส่วนบุคคล ช่วยส่งเสริมความ คิด ความเข้าใจแก่ผู้เรียนแต่ละคน การผลิตและการใช้วัสดุการเรียนการสอน ควรจะต้องสัมพันธ์กับความสามารถของผู้สอนและผู้เรียน ตลอดถึงจุดมุ่งหมายของการเรียน
กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี
ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติเกี่ยวกับสื่อจะเป็นแบบลูกโซ่ในกระบวนการเรียนการสอน
การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยรการศึกษา
ผู้เรียนจะเรียนได้ดีจากสื่อ เทคโนโลยีที่จัดระเบียบเป็นระบบ และมีความหมายตามความสามารถของเขา
การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ
ผู้เรียนต้องการมีส่วนร่วม และการปฏิบัติด้วยตนเองมากที่สุด
การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ
สื่อที่สามารถส่งเสริมการฝึกซ้ำและมีการ เปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าอยู่เสมอ จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจ เพิ่มความคงทนในการจำ
อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน
อัตราหรือช่วงเวลาการเสนอข้อความรู้ต่างๆ จะ ต้องมีความสอดคล้องกับ ความสามารถอัตราการเรียนรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
ความชัดเจน ความสอดคล้อง และความเป็นผล
สื่อที่มีลักษณะชัดเจน สอดคล้องกับ ความต้องการ ที่สัมพันธ์กับผลที่พึงประสงค์ของผู้เรียนจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี
การถ่ายโยงที่ดี
โดยที่การเรียนรู้แบบเก่าไม่อาจถ่ายทอดไปสู่การเรียนรู้ใหม่ได้อย่าง อัตโนมัติ จึงควรจะต้องสอนแบบถ่ายโยงเพราะผู้เรียนต้องการแนะนำในการปฏิบัติ เพื่อประยุกต์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
การให้รู้ผลการเรียนรู้จะดีขึ้น
ถ้าหากสื่อเทคโนโลยีช่วยให้ผู้เรียนรู้ผลการกระทำทันที หลังจากที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมไปแล้ว
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different)
นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
เครื่องสอน (Teaching Machine)
การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)
การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
ศูนย์การเรียน (Learning Center)
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา
นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
การเรียนทางไปรษณีย์
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากรนวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
ชุดการเรียน
การนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาและใช้ในการเรียนการสอนต้องคำนึงถึงความสำคัญ 3 ประการ คือ
ประสิทธิภาพ
(Efficiency) ในการเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนผู้สอนได้เรียนและได้สอนเต็มความสามารถเต็มหลักสูตรเต็มเวลาด้วยความพึงพอใจ เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์เต็มความสามารถ (Full Energy) และเกิดความพอใจ (Satisfaction) เป็นที่ได้ใช้สื่อนั้น
ประสิทธิผล
(Productivity) ในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดจุดประสงค์ไว้ซึ่งนักเรียนเกิดการเรียนรู้บรรลุจุดประสงค์ได้ดีกว่า สูงกว่าไม่ใช้สื่อนั้น
ประหยัด
(Economy) ในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงสภาพความเหมาะสมตามฐานะแล้ว จะต้องประหยัด นั่นคือ ประหยัดทั้งเงินประหยัดเวลา และประหยัดแรงงาน
INNOTECH หรือ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
การจัดคาบเวลาการเรียนการสอนแบบยืดหยุ่น (Modular Scheduling)
การแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มตามวิชาที่เลือก ตามความถนัด ความสามารถหรือความสนใจของเด็ก (Flexible Grouping)
ระบบการเรียนโดยนักเรียนสอนกันเอง นักเรียนเก่งสอนนักเรียนอ่อน (Peer Tutoring)
การกำหนดวิธีการสอนให้เหมาะสมกับแต่ละรายบุคคล (Individually Prescribed Instructing )
การเรียนการสอนระบบไม่มีชั้น (Non –Graded System)
6.โครงการส่งเสริมสมรรถภาพควรเรียนด้วยตนเอง โดยลดเวลาการสอนลง (Reduced Instructional Time)
สรุปความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรม
คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech ความจริงแล้วนวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยีนั้นมุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง ๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วย และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเสมอ
เป้าหมายของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล
การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา
การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้
พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา
ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา
การใช้ คือ การนำเอากระบวนการผลิตและออกแบบ การพัฒนาสื่อ มาใช้ในการเรียนการสอนจริง
การพัฒนา คือ การเปลี่ยนแปลงและแก้ไขการออกแบบ เพื่อให้มีประสิทธิภาพ
การจัดการ คือ การวางแผน การควบคุม การจัดการสื่อและกระบวนการใช้สื่อให้เป็นแบบแผน
การออกแบบ คือ การนำเอาความรู้ที่มีอยู่มาวางแผน
การประเมิน คือ การประเมินหาผลสรุปจากงาน สร้างเกณฑ์ในการประเมิน วิเคราะห์หาผลสรุป และนำเอาผลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไข
ประโยชน์ของนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา
ช่วยให้บทเรียนน่าสนใจ
ช่วยให้บรรยากาศการเรียนรู้สนุกสนาน
ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม
ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
ช่วยประหยัดค่าใช่จ่าย
ช่วยลดเวลาในการสอน
บทที่ 2 ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ศตวรรษที่ 21
สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19 ระบบการศึกษาต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริงในประเทศสหรัฐอเมริกาแนวคิดเรื่อง "ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยภาคส่วนที่เกิดจากวงการนอกการศึกษา ประกอบด้วย บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ รวมตัวและก่อตั้งเป็นเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) วิจารณ์ พานิช (2555: 16-21) ได้กล่าวถึงทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ว่าสาระวิชาก็มีความสำคัญ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้
แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่
วิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
เป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน
การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
การสื่อสารและการร่วมมือ
ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้
สื่อ
สารสนเทศ
เทคโนโลยี
ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ
ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้
ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต
การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ
ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R และ 7C
3 R
Writing
Arithmetic
Reading
7C
Collaboration, Teamwork and Leadership
Communications, Information, and Media Literacy
Cross-cultural Understanding
Computing and ICT Literacy
Creativity and Innovation
Career and Learning Skills
Critical Thinking and Problem Solving
แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่ :
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และกรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21เป็นการกำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ โดยร่วมกันสร้างรูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นที่องค์ความรู้ ทักษะความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดกับตัวผู้เรียน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
โดยจะอ้างถึงรูปแบบ (Model)
ที่พัฒนามาจากเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership For 21st Century Skills) (www.p21.org ) ที่มีชื่อย่อว่า เครือข่าย P21 ซึ่งได้พัฒนากรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะเฉพาะด้าน ความชำนาญการและความรู้เท่าทันด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อความสำเร็จของผู้เรียนทั้งด้านการทำงานและการดำเนินชีวิต
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวข้าม “สาระวิชา”ไปสู่การเรียนรู้“ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21”
ซึ่งครูจะเป็นผู้สอนไม่ได้ แต่ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูจะออกแบบการเรียนรู้ ฝึกฝนให้ตนเองเป็นโค้ช (Coach) และอำนวยความสะดวก (Facilitator) ในการเรียนรู้แบบ PBL (Problem-Based Learning) ของนักเรียน ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวช่วยของครูในการจัดการเรียนรู้คือ ชุมชนการเรียนรู้
ปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
การประเมินผลหลักสูตรการเรียนการสอนการพัฒนาอาชีพ
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้
มาตรฐานศตวรรษที่ 21
มาตรฐานศตวรรษที่ 21
สร้างความเข้าใจระหว่างวิชาหลัก เช่นเดียวกับรูปแบบสหวิทยาการศตวรรษที่ 21
เน้นความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมากกว่าความรู้แบบผิวเผิน
มุ่งเน้นทักษะในศตวรรษที่ 21 นักเรียนมีความรู้ในเนื้อหาและความเชี่ยวชาญ
การมีส่วนร่วมของนักเรียนกับ ข้อมูลและ เครื่องมือในโลกแห่งความเป็นจริง
การมีมาตรการหลายๆรูปแบบของการเรียนรู้
การประเมินด้านทักษะในศตวรรษที่ 21
เน้นข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของนักเรียนที่ถูกฝังลงในการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน
การประเมินการใช้เทคโนโลยีให้มีความสมดุล
รองรับความสมดุลของการประเมินรวมทั้งมีคุณภาพสูง
ช่วยให้การพัฒนาคุณภาพนักเรียนนักศึกษาที่แสดงให้เห็นการเรียนรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21
ช่วยให้มาตรการการประเมินประสิทธิภาพระบบการศึกษาในระดับที่สูงประเมินถึงสมรรถนะของนักเรียนด้านทักษะในศตวรรษที่ 21
หลักสูตร และการสอนในศตวรรษที่ 21
มุ่งเน้นไปที่การให้โอกาสสำหรับการใช้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ในเนื้อหาและวิธีการตามความสามารถในการเรียนรู้
ช่วยให้วิธีการเรียนรู้นวัตกรรมที่บูรณาการการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนแนวทางเพิ่มเติมในการใช้ปัญหาเป็นฐาน และทักษะการคิดขั้นสูง
สอนทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งแยกกัน ในบริบทของวิชาหลักและ รูปแบบสหวิทยาการ
สนับสนุนให้รวมทรัพยากรของชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้าน แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน
การพัฒนามืออาชีพในศตวรรษที่ 21
การเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการทำโครงงาน
แสดงให้เห็นว่ามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องจริงสามารถเพิ่มการแก้ปัญหาการคิดเชิงวิพากษ์และอื่น ๆ
ครูมีแนวทางการสอนมีความสามารถสำหรับการบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21
ช่วยให้มืออาชีพในชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับครูที่ 21
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
สนับสนุนการเรียนรู้ชุมชนมืออาชีพที่ช่วยให้การศึกษาเพื่อการทำงานร่วมกันแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีและบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการปฏิบัติในชั้นเรียน
ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ในงานที่เกี่ยวข้องในโลกศตวรรษที่ 21 แวดล้อมจริง
สร้างการเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่สนับสนุนความต้องการของมนุษย์และสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่จะสนับสนุนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ด้วยทักษะในศตวรรษที่ 21
สนับสนุนการติดต่อกับชุมชนและการมีส่วนระหว่างต่างชาติในการเรียนรู้โดยตรงและออนไลน์
บทที่ 3 Flipped Classroom
ห้องเรียนกลับด้าน
The Flipped Classroom หรือ การเรียนแบบ "พลิกกลับ" คือ วิธีการเรียนแนวใหม่ที่ฉีกตำราการสอนแบบเดิม ๆ ไปโดยสิ้นเชิงและกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในโลกปัจจุบันที่ "การศึกษา" และ "เทคโนโลยี" แทบจะเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน
“การเรียนเป็นสิ่งที่ไว้ศึกษาที่บ้าน
และเปลี่ยนสิ่งที่เคยเป็นการบ้านมาเป็นกิจกรรมให้ห้องเรียนแทน”
ที่มาของการเรียนการสอนแบบ Flipped Classroom
เกิดขึ้นในปี 2007 โดยครู 2 คน ในรัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา ชื่อ โจนาธาน เบิร์กแมน และแอรอน แซมส์ ได้ถ่ายคลิปวิดีโอการสอนของตนเองเอาไว้สำหรับนักเรียนที่ขาดเรียน เมื่อคลิปบทเรียนของครูทั้งสองเริ่มแพร่ขยายออกไปในวงกว้าง ครูหลายคนจึงเริ่มหันมาใช้เทคโนโลยีต่างๆ อาทิ Podcasts หรือ YouTube เพื่อสอนนักเรียนนอกห้องเรียนและสงวนเวลาในชั้นเรียนไว้สำหรับการรวมกลุ่มทำแบบฝึกหัด หรือ ทำกิจกรรมร่วมกัน และผลลัพธ์ที่ได้ คือ ดีกว่าการเรียนการสอนแบบเิดิม นักเรียนจะสามารถศึกษาดูผ่านทางโทรทัศน์ หรือ ในห้องแล็บคอมพิวเตอร์ หรือดูจากที่บ้านได้ เมื่อเข้าชั้นเรียน จะได้ใช้เวลาในห้องเรียนเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆในเรื่องที่สงสัย หรือขอให้ครูอธิบายเพิ่มเติมได้เข้าใจยิ่งขึ้น และเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างไม่มีขีดจำกัด
ใครบ้างที่ใช้โมเดลนี้ ?
วิชา Video production
ที่ Algonquin College
การสอนให้ใช้งานซอฟแวร์ให้เป็นตั้งแต่ในห้องเรียน เคยเป็นเรื่องลำบากทั้งกับผู้สอนและผู้เรียน แต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้โมเดลนี้ นักศึกษาสามารถศึกษาจากวีดีโอ ซึ่งแบ่งเป็นตอนสั้นๆ ได้ด้วยความเร็วที่ตัวเองเข้าใจ เมื่อเข้ามาถึงในห้องเรียน ก็สามารถใช้งานซอฟแวร์ได้อย่างเต็มที่ และได้ฝึกฝนด้วยการทำโปรเจคกับเพื่อนในห้องเรียน
วิชาบัญชี
ที่ Penn State
ในห้องเรียน นักศึกษาได้ร่วมกันเสวนาพูดคุย บ้างก็รับฟังบรรยายหัวข้อพิเศษจากผู้บรรยายพิเศษ หรือโจทย์ปัญหายากๆโดยมีอาจารย์ให้คำปรึกษา
ข้อดีของห้องเรียนกลับด้าน
การใช้วีดีโอจะช่วยให้นักศึกษาปรับได้ในแบบที่ตัวเองต้องการ และไม่กดดัน
การเปลี่ยนการบ้านและโปรเจคมาทำในห้องเรียน โดยมีอาจารย์ควบคุมดูแล จะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น และลดปัญหาการลอกการบ้าน
กำจัดข้อเสียของรูปแบบเดิม คือนักศึกษาต้องพยายามเข้าใจในสิ่งที่อาจารย์พูดทันที ซึ่งอาจทำให้พลาดประเด็นสำคัญอื่นๆ
ช่วยยกระดับความสัมพันธ์ และบรรยากาศในห้องเรียน
ข้อเสียของห้องเรียนกลับด้าน
สำหรับฝั่งนักเรียนเองก็ต้องทุ่มเทมากขึ้น ต้องศึกษาจากวีดีโอหรือสื่ออื่นๆ ล่วงหน้า โมเดลนี้จึงเป็นโมเดลที่ดีมากสำหรับนักเรียนที่มีความขยัน ใฝ่เรียน แต่ไม่ช่วยแก้ปัญหานักเรียนที่ไม่ตั้งใจได้
นักเรียนที่ไม่ถนัดเรียนรู้ด้วยตัวเอง อาจไม่สามารถเข้าใจได้ดีนัก เมื่อต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง
เนื่องจาก Lectures ได้กลายเป็นวีดีโอที่ให้นักเรียนกลับไปเรียนเอง ดังนั้นวีดีโอที่ดีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งวีดีโอดีๆก็ใช้เวลาเตรียมและถ่ายทำไม่น้อย รวมไปถึงกิจกรรมที่จะให้นักเรียนทำในห้อง อาจารย์ต้องมีการวางแผนล่วงหน้า ดังนั้นสรุปได้ว่าโมเดลนี้จึงเพิ่มภาระให้แก่อาจารย์ค่อนข้างมาก
รูปแบบกลับด้านนี้อาศัยเวลาและความรับผิดชอบ มากกว่ารูปแบบเดิมๆ