Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
5806510114 นายทศพร มากสอน 40211709_2172853796370439_664784819433399910…
5806510114
นายทศพร มากสอน
บทที่ 1 แนวคิดทฤษฏี นวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ทางการศึกษา :tada:
เทคโนโลยี (Technology)
หมายถึง การใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist)
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology)
ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุม องค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ
ความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีต่อการศึกษาหมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้นั้น ส่วนใหญ่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ในด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน เพราะปัญหาทางด้านการศึกษามากมาย
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different)
การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
เครื่องสอน (Teaching Machine)
การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)
การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness)
การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
ศูนย์การเรียน (Learning Center)
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา
มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
การเรียนทางไปรษณีย์
แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากร
การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
ชุดการเรียน
บทบาทของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้กว้างขวาง เรียนได้เร็วขึ้น ทำให้ผู้สอนมีเวลาให้ผู้เรียนมากขึ้น
ตอบสนองความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคลได้ดี
ทำให้การจัดการศึกษาเป็นระบบและเป็นขั้นตอน
ได้พบกับสภาพความจริงในชีวิตมากที่สุด
ทำให้การศึกษามีพลัง
ทำให้เปิดโอกาสทางการศึกษาทั้งๆ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
การนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาและใช้ในการเรียนการสอน
ประหยัด (Economy) ในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงสภาพความเหมาะสมตามฐานะแล้ว จะต้องประหยัด นั่นคือ ประหยัดทั้งเงินประหยัดเวลา และประหยัดแรงงาน
ประสิทธิผล (Productivity) ในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดจุดประสงค์ไว้ซึ่งนักเรียนเกิดการเรียนรู้บรรลุจุดประสงค์ได้ดีกว่า สูงกว่าไม่ใช้สื่อนั้น
ประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนผู้สอนได้เรียนและได้สอนเต็มความสามารถเต็มหลักสูตรเต็มเวลาด้วยความพึงพอใจ เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์เต็มความสามารถ (Full Energy) และเกิดความพอใจ (Satisfaction) เป็นที่ได้ใช้สื่อนั้น
หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
วิธีการเชิงมนุษยวิทยา (Humunistic Approach) ได้แก่ การที่ครูให้ความสนใจต่อการพัฒนา ในด้านความเจริญเติบโตของผู้เรียนแต่ละคน นักการศึกษาเชื่อว่าไม่มีวิธีการเรียนการสอนอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นวิธีที่ดีที่สุด หากแต่การใช้หลายๆ วิธีผสมผสานกัน (Integration) หรือเลือกวิธีการใด ๆ ก็ได้ที่เหมาะกับความต้องการของผู้เรียนนั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุด
วิธีการสอนเชิงระบบ (Systematic Approach) ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน โดยอาศัยวิธีระบบ ทั้งนี้เพราะการเรียนการสอนเป็นการถ่ายทอดศิลปะ วัฒนธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคมในลักษณะของการเข้าใจเนื้อหาวิชา ซึ่งการจัดการเรียนการสอนไม่อาจปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรมหรือตามอำเภอใจของ ผู้สอนหรือผู้เรียนได้ โดยเหตุนี้การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเป็นไปตามระบบ ก็คือ มีการวางแผนการสอนในด้านการจัดผู้เรียน วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรม และพยายามทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาไปตามแผนนั้น
คาร์เพนเตอร์ และเดล (C.R. Carpenter and Edgar Dale)
ความชัดเจน ความสอดคล้อง และความเป็นผล สื่อที่มีลักษณะชัดเจน สอดคล้องกับ ความต้องการ ที่สัมพันธ์กับผลที่พึงประสงค์ของผู้เรียนจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี
การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา ผู้เรียนจะเรียนได้ดีจากสื่อ เทคโนโลยีที่จัดระเบียบเป็นระบบ และมีความหมายตามความสามารถของเขา
กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติเกี่ยวกับสื่อจะเป็นแบบลูกโซ่ในกระบวนการเรียนการสอน
การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ ผู้เรียนต้องการมีส่วนร่วม และการปฏิบัติด้วยตนเองมากที่สุด
การพัฒนามโนทัศน์ (Concept) ส่วนบุคคล ช่วยส่งเสริมความ คิด ความเข้าใจแก่ผู้เรียนแต่ละคน การผลิตและการใช้วัสดุการเรียนการสอน ควรจะต้องสัมพันธ์กับความสามารถของผู้สอนและผู้เรียน ตลอดถึงจุดมุ่งหมายของการเรียน
การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ สื่อที่สามารถส่งเสริมการฝึกซ้ำและมีการ เปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าอยู่เสมอ จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจ เพิ่มความคงทนในการจำ
หลักการจูงใจ สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาจะมีพลังจูงใจที่สำคัญในกิจกรรมการเรียนการสอน เพราะเป็นสิ่งที่สามารถผลักดันจูงใจ มีอิทธิพลต่อพลังความสนใจ ความต้องการ ของผู้เรียน
อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน อัตราหรือช่วงเวลาการเสนอข้อความรู้ต่างๆ จะ ต้องมีความสอดคล้องกับ ความสามารถอัตราการเรียนรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
การถ่ายโยงที่ดี โดยที่การเรียนรู้แบบเก่าไม่อาจถ่ายทอดไปสู่การเรียนรู้ใหม่ได้อย่าง อัตโนมัติ จึงควรจะต้องสอนแบบถ่ายโยงเพราะผู้เรียนต้องการแนะนำในการปฏิบัติ เพื่อประยุกต์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
การให้รู้ผลการเรียนรู้จะดีขึ้น ถ้าหากสื่อเทคโนโลยีช่วยให้ผู้เรียนรู้ผลการกระทำทันที หลังจากที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมไปแล้ว
นวัตกรรม (Innovation)
นวัตกรรม (Innovation)
คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบ ใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ ถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม”
นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation)
หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
INNOTECH หรือ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
การรวมเนื้อหาหลักสูตรที่เกี่ยวเนื่องกันให้อยู่ในหน่วยการสอนเดียวกัน (Integrated Curricular)
การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Interaction)
โครงการอิมแพ็คท์ คือ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยผู้ปกครอง ชุมชนและครูร่วมกันจัดกิจกรรมให้การศึกษา (Instructional Management by Parents, comminuting and Teachers ; IMPACT)
การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)
การเตรียมครูสำหรับโครงการนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา โดยลดบทบาทการสอนและสั่งการของครูลง (Non –Traditional Roles of Teachers)
การสอนโดยใช้อุปกรณ์จำลอง (Simulation Technique)
โครงการส่งเสริมสมรรถภาพควรเรียนด้วยตนเอง โดยลดเวลาการสอนลง (Reduced Instructional Time)
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
การกำหนดวิธีการสอนให้เหมาะสมกับแต่ละรายบุคคล (Individually Prescribed Instructing )
การเรียนระบบควบคุมด้วยตนเองใช้บทเรียนสำเร็จรูปด้วยตนเอง(Instruction Module) ต้องผ่านวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมในแต่ละบทเรียนก่อนที่จะเรียนบทต่อไป
การแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มตามวิชาที่เลือก ตามความถนัด ความสามารถหรือความสนใจของเด็ก (Flexible Grouping)
โทรทัศน์ช่วยสอน (Instruction Television)
ระบบการเรียนโดยนักเรียนสอนกันเอง นักเรียนเก่งสอนนักเรียนอ่อน (Peer Tutoring)
โทรทัศน์เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ด้วยการศึกษา (Educational Television)
การจัดคาบเวลาการเรียนการสอนแบบยืดหยุ่น (Modular Scheduling)
เครื่องช่วยสอน (Teaching Machines)
การเรียนการสอนระบบไม่มีชั้น (Non –Graded System)
วิทยุช่วยสอน (Radio Broadcast)
เป้าหมายของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา
การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล
การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้
พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา
องค์ประกอบของเทคโนโลยีทางการศึกษา
การเรียนรู้
การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้
บุคลากร
การจัดการ
ประโยชน์ของนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา
ช่วยให้บรรยากาศการเรียนรู้สนุกสนาน
ช่วยให้บทเรียนน่าสนใจ
ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม
ช่วยลดเวลาในการสอน
ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
ช่วยประหยัดค่าใช่จ่าย