Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Urinary Tract Infection in the Pregnant Woman (สาเหตุ (ส่วนใหญ่เกิดจากการต…
-
S : มารดาบอกว่า “มีไข้ หนาวสั่น ปวดหลังบริเวณบั้นเอว ยังมีปัสสาวะแสบขัด”
O : มีไข้กิจกรรมการพยาบาล
- วัดสัญญาณชีพ ทุก 4 ชม. เพื่อประเมินภาวะติดเชื้อ
- ให้การพยาบาลโดยยึดหลักเทคนิคปราศจากเชื้อ
- ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาของแพทย์และสังเกตอาการข้างเคียงของยา
- จัดให้มารดาดื่มน้ำวันละ 2,500-3,000 cc เพื่อขับเชื้อโรคออกจากกระเพาะปัสสาวะ
- แนะนำให้มารดาชำระอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก จากด้านหน้าไปด้านหลัง ทุก 3-4 ชั่วโมง อย่างสม่ำเสมอ และหลังการขับถ่ายทุกครั้ง เพื่อขจัดสิ่งหมักหมม และลดจำนวนเชื้อโรคลง
- แนะนำมารดาไม่ให้กลั้นปัสสาวะ หากต้องการปัสสาวะ หรือรู้สึกกระเพาะปัสสาวะเต็ม ต้อง ปัสสาวะทันที ทั้งนี้เพราะน้ำปัสสาวะที่คั่งค้างในกระเพาะปัสสาวะ อาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อ โรค ทำให้การทำงานของหูรูดท่อปัสสาวะเสียไป
- อธิบายให้มารดาเข้าใจ การติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ เพื่อให้เกิดความตระหนักต่อการป้องกันการติดเชื้อยิ่งขึ้น
S:หญิงตั้งครรภ์บอกว่ามีปัสสาวะออกกะปริบกะปรอย และแสบขัดปัสสาวะ มีไข้ และปวดบั้นเอว
O:หญิงตั้งครรภ์ที่ 2 อายุครรภ์ 30 สัปดาห์ กิจกรรมการพยาบาล
- แนะนำการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง ได้แก่ พักผ่อน ไม่ทำงานหนัก ไม่ยกของหนัก ไม่ขึ้นลงบันไดสูงๆ ไม่ยืนหรือเดินนานๆ ไม่เดินทางไกล งดการร่วมเพศ งดการกระตุ้นบริเวณหัวนม
- แนะนำให้สังเกตอาการเตือนของการเจ็บครรภ์ เช่น มดลูกหดรัดตัวถี่มากกว่า 4 ครั้ง ใน 1 ชั่วโมง มีน้ำหรือมูกเลือดออกจากทางช่องคลอด หากเกิดอาการปวดท้อง ปวดหน่วงในช่องคลอด ปวดหลัง ปวดเอว ควรรีบมาพบแพทย์ทันที เนื่องจากมีโอกาสเจ็บครรภ์ซ้ำได้
- แนะนำวิธีรับประทานยาให้ตรงเวลา และสังเกตฤทธิ์ข้างเคียงของยา ได้แก่ ใจสั่น หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ หายใจลำบาก บวม ท้องอืด กล้ามเนื้ออ่อนแรง และสอนให้จับชีพจรด้วยตนเอง ถ้าชีพจรเร็วกว่า 120 ครั้งต่อนาที ให้หยุดรับประทานยาไว้ก่อนและให้นอนพักผ่อน
4 .แนะนำการมาตรวจตามแพทย์นัดอย่างเคร่งครัด
- สาธิตและแนะนำการปฏิบัติตัวเมื่อมีอาการเตือนของการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
- ผ่อนคลายความวิตกกังวล นอนพักทันทีในท่านอนตะแคงซ้าย โดยใช้หมอนหนุนหนึ่งใบ อาจใช้หมอนหนุนบริเวณหลังเพื่อให้รู้สึกสบายขึ้น
- ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกโดยวางฝ่ามือไว้บริเวณยอดมดลูกด้วยตนเอง นับจำนวนครั้งของการหดรัดตัวของมดลูกภายใน 1 ชั่วโมง และระยะเวลาที่มดลูกหดรัดตัวในแต่ละครั้ง ถ้ามดลูกหดรัดตัวมากเกิน 4 ครั้ง ขึ้นไปหรือเริ่มมีอาการเจ็บครรภ์ให้มาโรงพยาบาลทันที
S: -
O:มีไข้ หนาวสั่นกิจกรรมการพยาบาล
- vital sign ทุก 4 ชม เพราะการประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะอุณหภูมิร่างกายจะช่วยให้ทราบความรุนแรงของการติดเชื้อ
- เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำธรรมดาอย่างนุ่มนวลเพราะน้ำจะช่วยพาความร้อนออกจากร่างกายทางผิวหนังทำให้อุณหภูมิลดลงและทำให้ผู้ป่วยสบายขึ้น
- ดูแลให้ยา paracetamol 500mg for fever
- ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนเพราะเป็นการลดอัตราการเผาผลาญภายในเซลล์ ลดการทำงานของกล้ามเนื้อ เป็นการลดการผลิตความร้อน ทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลง
- ดูแลให้ผู้ป่วยดื่มน้ำบ่อยๆเพราะเป็นการทดแทนการขาดน้ำและเป็นการลดความร้อนของร่างกายโดยการขับออกทางเหงื่อและปัสสาวะ
- ล้างมือทุกครั้ง ก่อน-หลังให้การพยาบาลหรือการสัมผัสกับสารคัดหลั่งผู้ป่วย และให้การพยาบาลโดยใช้หลัก Aseptic Technique เพราะเป็นการลดการแพร่กระจายเชื้อ
- ติดตามผล Lab WBC หรือผลการตรวจปัสสาวะ
กิจกรรมการพยาบาล
- สร้างสัมพันธภาพกับมารดาโดยการซักถาม พูดคุย เพื่อสร้างความคุ้นเคยและไว้วางใจ
- แสดงออกถึงความเป็นมิตร การเต็มใจให้ความช่วยเหลือ แสดงออกถึงความเข้าใจ รับฟังและให้กำลังใจแก่ผู้รับบริการ
- อธิบายให้เข้าในถึงกระบวนการติดเชื้อหลังคลอด แนวทางการรักษาและการปฏิบัติตัว อธิบายวัตถุประสงค์การพยาบาลและแจ้งให้ทราบทุกครั้งก่อนให้การพยาบาลทุกครั้งเพื่อให้มารดาเข้าใจและคลายความวิตกกังวล
- เปิดโอกาสให้มารดาแสดงความรู้สึก โดยให้โอกาสได้พูด ซักถามพร้อมทั้งรับฟังมารดาด้วยความตั้งใจ
- แนะนำครอบครัวพูดคุยให้กำลังใจมารดา
การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นปัญหาหนึ่งที่พบบ่อยในขณะตั้งครรภ์ ทั้งนี้เนื่องจากการตั้งครรภ์ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ซึ่งระบบทางเดินปัสสาวะเป็นระบบหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลง ในขณะตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะเป็นผลมาจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนที่สูงขึ้น การถูกกดของกระเพาะปัสสาวะและท่อไตจากการขยายตัวของมดลูก ตลอดจน ปริมาณเลือดไหลเวียนที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านั้นล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อทางเดิน ปัสสาวะในขณะตั้งครรภ์ สามารถนําไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนของทารกในครรภ์และมารดาได้แก่ น้ําหนักตัวน้อย การคลอดก่อนกําหนด หรือทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ การคัดกรองการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะโดย การเพาะเชื้อเป็นสิ่งจําเป็นที่พยาบาลและบุคลากรทางด้านสุขภาพจะต้องให้ความสําคัญแก่สตรีตั้งครรภ์ ในการมาฝากครรภ์ครั้งแรก หากพบว่ามีแบคทีเรียในปัสสาวะ สตรีตั้งครรภ์ควรได้รับการรักษาทันที ซึ่งจะสามารถลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นแก่มารดาและทารกในครรภ์ได้เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม สิ่งสําคัญที่สุด คือการป้องกันการเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะไม่ให้ เกิดขึ้น ซึ่งวิธีการได้แก่เรื่องของสุขอนามัย การแต่งกาย การดื่มน้ําและอาหาร การขับถ่ายปัสสาวะ การใช้ยาปฏิชีวนะ และการดูแลสุขภาพของร่างกายให้แข็งแรงจึงเป็นสิ่งที่สําคัญอย่างยิ่ง ดังนั้น การมา รับบริการตรวจครรภ์ในสถานบริการพยาบาลเป็นประจําของสตรีตั้งครรภ์ ทั้งนี้เพราะสตรีตั้งครรภ์จะได้ รับการประเมินภาวะสุขภาพ การตรวจรักษาและได้รับการพยาบาลได้อย่างทันท่วงที่ซึ่งจะส่งผลให้ มารดาและทารกในครรภ์มีภาวะสุขภาพที่ดีอ้างอิง : http://journal.hcu.ac.th/pdffile/jn1632/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%2010.pdf
ผลการศึกษาในปี 2558 และ 2559 มีสตรีคลอดทั้งหมด 736 และ 700 ราย มีสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดร้อยละ 15.76 และ 14.57 ความชุกของปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดภาวะดังกล่าว สามอันดับแรกมีความคล้ายคลึงกันคือ การฝากครรภ์ครั้งแรกหลัง 12 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 58.62 และ 59.96 การตั้งครรภ์ครั้งแรกคิดเป็นร้อยละ 43.1 และ 44.12 และการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ / ช่องทางคลอด คิดเป็นร้อยละ 36.21 และ 35.29อ้างอิง : http://www.crhospital.org/CMJ/article/FULL_20180307130616.pdf