Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Military Psychiatry & PTSD : (:!: PTSD (Post-traumatic Stress…
Military Psychiatry & PTSD :
:!: PTSD (Post-traumatic Stress Disorder) :!:
อาการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เป็นความกดดันและคุกคามอย่างรุนแรง เช่นภัยพิบัติ วินาศกรรม อุบัติเหตุรุนแรง ภัยสงคราม เป็นต้นในระยะแรก ภายในเดือนแรกจะเรียกว่าASD หรือ โรคเครียดฉับพลัน ถ้าเป็นนานเกิด1เดือนจะเรื้องรังกลายเป็นPTSD
:check:อาการ
Hyperarousal กระวนกระวาย ใจสั่น ตกใจง่าย สะดุ้งง่าย ไม่มีสมาธิ เครียดง่าย หวาดระแวง นอนไม่หลับ อาจมีอาการทางกายอื่นๆเช่น ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น กล้ามเนื้อเกร็ง คลื่นไส้
Avoidance พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์หรือพูดถึงเหตุการณ์ อารมณ์เฉยชาEmotional numbing แยกตัว เหินห่าง
Re-experiencing รู้สึกว่าเหตุการณ์นั้นกำลังจะเกิดขึ้นอีก รู้สึกเหมือนอยู่ในเหตุการณ์นั้น ตกใจกลัว ฝันร้ายถึงเหตุการณ์นั้น
:check:การรักษา
การรักษาทางจิตวิทยา เป็นการบำบัดด้านพฤติกรรม รักษาโดยการเข้าหาเผชิญหน้า(exposure therapy) อาจใช้การทำจิตบำบัด(Psychotherapy)
การรักษาด้วยยา
:check:การวินิจฉัย
อาการทำให้เกิดปัญหาในการปรับตัวอย่างมาก
มีอาการมามากกว่า 1 เดือน
มีอาการของRe-experiencing 1 ข้อ Hyperarousal 2 ข้อ Avoidance 3 ข้อ
:check:การดูแล
สอบถามด้วยความห่วงใย
อธิบายว่าไม่ใช่ความผิดของเขา
รับฟังปัญหาอย่างจริงใจ ไม่วิจารณ์
เข้าช่วยเหลือแม้ไม่ได้ร้องขอ
ไม่โกรธเมื่อเขามีการแสดงอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว
ส่งต่อให้ผู้เชียวชาญ
:check: เหตุการณ์ที่จัดว่าเป็น Traumatic event
การถูกลักพาตัว
การถูกจับเป็นตัวประกัน
การถูกทำร้าย (ทั้งทางร่างกาย ทางเพศ การถูกปล้น/ชิงทรัพย์)
การสู้รบในสงครามหรือเหตุการณ์ก่อความไม่สงบ
การโจมตีของผู้ก่อการร้าย
การทนทุกข์ทรมาน
การเป็นนักโทษสงครามหรืออยู่ในค่ายกักกัน
การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติหรือจากการกระทำของมนุษย์
การป่วยด้วยโรคที่ร้ายแรงถึงชีวิต
การเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่รุนแรง
:!: Battle fatigue :!:
:check: ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด
ปัญหาจากที่บ้าน
เป็นคนใหม่ ยังไม่มีความสัมพันธ์ในกลุ่ม
เกิดการบาดเจ็บภายในหน่วย
ถูกโจมตีแต่ไม่สามารถ ตอบโต้ได้
ขาดข้อมูล ไม่ได้รับการสนับสนุนที่คาดหวัง
ภัยคุกคามจากอาวุธชีวภาพ อาวุเคมี ภัยคุกคามที่มองไม่เห็น ข่าวลือ
การอดนอน การทรุดโทรมของร่างกาย ร่างกายขาดความพร้อม
:check: หลักพื้นฐานในการรักษา
ประเมินเบื้องต้น ตรวจร่างกายและจิตใจ
อธิบายให้เข้าใจถึงภาวะนี้ และให้ความมั่นใจ
แยกผู้ป่วย
รักษาด้วยการพักผ่อนและฟื้นฟูสภาพ
หลีกเลี่ยงการให้ยานอนหลับหรือยากล่อมประสาท
ไม่พยายามส่งกลับหรือรับผู้ป่วย
:check:อาการที่พบ
ทางกาย
ปวดศรีษะ ปวดกล้ามเนื้อ สั่น ทำอะไรเชื่องช้า ตระหนกตกใจง่าย ปวดแผลเก่าหรือแผลที่หายแล้ว ใจสั่น หายใจเร็ว ปั่นป่วนในท้อง อ่อนล้า เหนื่อยง่าย
ทางจิตใจ
วิตกกังวล หงุดหงิดง่าย ไม่สมาธิ ไม่สามารถสื่อสารได้ ฝันร้าย เศร้า รู้สึกผิด เสียความมั่นใจ
:check: การรักษาตามหลัก PIES
P : Proximity รักษาให้ใกล้หน่วย ไม่ส่งกลับเกินความจำเป็น
I : Immediacy รักษาทันที
E : Expectancy คาดหวังว่าผู้ป่วยจะหายเป็นปกติและกลับไปหน่วยได้
S : Simplicity การรักษาง่ายๆ โดยการฟื้นฟู
:!: Adjustment Disorders :!:
สาเหตุเกิดจากความกดดันที่เป็นเหตุการณ์เกิดขึ้นในชีวิตของคนทั่ว ไป และความรุนแรงของสาเหตุนั้นไม่มาก เช่น การสูญเสียคนใกล้ชิด การสูญเสียตำแหน่ง การย้ายถิ่นฐาน ความผิดหวัง
อาการที่พบบ่อย
อึดอัด หงุดหงิด
กังวลใจ วิตกกังวล เศร้าใจ
รู้สึกว่าตนเองไม่สามารถจะต่อสู้ปัญหาได้ ไม่สามารถวางแผนอนาคตได้
ประสิทธิภาพในการทำงานและประสิทธิภาพ
ทางสังคมถูกรบกวน
ในวัยรุ่นอาจพบ พฤติกรรมแบบเกเร
:!:Dissociative (Conversion) Disorders :!:
เมื่อผู้ป่วยเผชิญกับปัญหาความกดดันทางจิตใจหรือ ความกระทบกระเทือนใจใด ๆ แล้วความรู้จักตนเอง ความจำ หรือความเคลื่อนไหวในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย จะสูญเสียไปที่พบได้บ่อย เช่น ผู้ป่วยมีอาการหลงลืมหรือมีอาการเหมือนเป็นอัมพาต จำไม่ได้ว่าตนเองเป็นใคร แต่คิดว่าตนเองเป็นคนใหม่
มักจะหายไปในระยะเวลา 2-3 สัปดาห์
:!: Somatoform Disorders :!:
อาการของความผิดปกติทางร่างกายหลาย ๆ อย่างเกิดขึ้นซ้ำ แล้วซ้ำอีก แต่เมื่อตรวจร่างกายและตรวจทางห้องปฏิบัติการแล้วไม่พบความผิดปกติทางร่างกาย