Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (Withholding tax) (วัตถุประสงค์ในการหักภา…
บทที่ 3 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (Withholding tax)
วัตถุประสงค์ในการหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
1.เพื่อบรรเทาภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้รับเงินได้ ที่ต้องเสียในสิ้นปีเป็นจำนวนครั้งละมากๆ แต่ให้เสียเป็นคราวๆ ทีละน้อยตามจำนวนเงินที่ได้รับแต่ละคราว
2.เพื่อให้รัฐมีรายได้เข้าคลังสม่ำเสมอ รัฐมีรายได้ เกิดสภาพคล่อง เพื่อบรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนาและสังคมแห่งชาติ
3.เพื่อลดแรงกดดันในการหลีกเลี่ยงการเสียภาษี และลดภาระการติดตามการจัดเก็บภาษีเป็นการลดค่าใช้จ่ายของรัฐ
ผู้มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย
1.ต้องคำนวณภาษีที่หัก ณ ที่จ่ายตามกฎหมายกำหนดทุกคราวที่มีการจ่ายเงินได้นั้นและนำส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้แล้ว พร้อมยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนด
2.ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามแบบที่อธิบดีกำหนด (มาตรา 50ทวิ) ให้แก่ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 2 ฉบับมีข้อความตรงกัน
3.ต้องทำบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่ายประจำวันและต้องนำส่งที่อธิบดีกรมสรรพากร
เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานและผู้มีเงินได้เลือกเสียภาษีโดยไม่นำไปรวมกับเงินได้อื่นๆ หากทำงานกับนายจ้างตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ให้นำเงินได้ดังกล่าว หักค่าใช้จ่ายส่วนแรกเป็นจำนวน 7,000 บาท คูณจำนวนปีที่ทำงาน เหลือเท่าใดให้หักค่าใช้จ่ายส่วนที่สอง อีก 50% ของเงินที่เหลือนั้น
ถ้าเงินได้พึงประเมินในลักษณะเงินบำเหน็จจำนวนหนึ่ง บำนาญอีกจำนวนหนึ่ง ให้ลดค่าใช้จ่ายส่วนแรกเหลือ 3,500 บาท
3.นำเงินได้ตามข้อ 1 หรือ 2 มาคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามอัตราภาษีเงินได้(อัตราก้าวหน้า)
การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย
1.มาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
2.มาตรา 69 ทวิ 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
3.มาตรา 3 เตรส ที่กำหนดโดยกฎกระทรวงประกอบกับคำสั่งอธิบดีกรมสรรพากร
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายสำหรับอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 50 ของเงินได้เพียงวิธีเดียว และมาตรา 48(4)
ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้พึงประเมินอื่นๆ ประจำปี(สิ้นปีก็ได้)
การนับวันเริ่มถือครองและจำนวนปีที่ถือครองเพื่อคำนวณภาษี
1.การนับจำนวนปีที่ถือครอง หมายถึง จำนวนปีนับตั้งแต่ปีที่ได้รับกรรมสิทธิ์หรือสิทธิ์ครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้น
2.กรณีได้มาโดยมรดก ให้นับตั้งแต่วันที่อสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกนั้นตกทอดไปยังทายาทตามมาตรา 1599 แห่งประมวลรัษฎากร
3.กรณีได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ตามมาตรา 1382 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้นับวันเริ่มถือครองตั้งแต่
วันที่ได้กรรมสิทธิ์
4.กรณีบ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง ซึ่งได้มาไม่พร้อมกับที่ดินที่ใช้
สิ่งปลูกสร้าง ถ้าเจ้าของเป็นผู้ขอหมายเลขประจำบ้าน ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่ได้ออกเลขหมายประจำบ้าน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างบ้าน
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายสำหรับอสังหาริมทรัพย์โดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร
1.ให้นำเงินได้ หักค่าใช้จ่ายตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 165) พ.ศ. 2529 เหลือเท่าใดถืิือเป็นเงินได้สุทธิ
2.นำเงินได้สุทธิ หารด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ได่ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้คำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้
3.ภาษีที่คำนวณได้เท่าใด คูณด้วยจำนวนปีที่ถือครอง ผลลัพธ์ที่ได้เงินเป็นภาษีที่ต้อ
เสียจำนวนดังกล่าวต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของราคารซ้อ
มาตรา 3 เตรส อัตราการหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย
1.อัตราร้อยละ 1 ค่าขนส่ง(ไม่รวมรถเมล์แต่ไม่รวมถึงค่าดดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ)
ค่าเช่าเรือที่ใช้ขนส่งสินค้าประหว่าประเทศ
2.อัตราร้อยละ 3 ค่านายหน้า เงินได้จากวิชาชีพ ค่าทำของ เงินได้จากการให้บริการ รางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใด
3.อัตราร้อยละ 5 ค่าเช่าทรัพย์ รางวัลจากการประกวดแข่งขันชิงโชคหรือการอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
ภ.ง.ด.1 นำส่งกรมสรรพากรภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดจากปีภาษี
ภ.ง.ด. 2 นำส่งกรมสรรพากรภายในเดือนมกราคมของปีถัดจากปีภาษี
ภ.ง.ด.3 กำหนดเวลายื่นแบบภายใน 7 วันนับแต่วันที่จ่ายเงินได้
แบบขอคืนภาษี ค.21
มาตรา 69ทวิ ส่วนราชการจ่ายเงินได้ให้แก่บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ผู้มีหน้าที่หัก ได้แก่รัฐบาล องค์การของรัฐ เทศบาล สุขาภิบาล
ผู้ถูกหัก ได้แก่ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและประกอบกิจการในไทย
อัตราภาษี ร้อยละ 1 ของยอดเงินได้พึงประเมินที่จ่ายถึง 500 บาทขึ้นไป
นำส่งกรมสรรพากร ภานใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่าย
แบบแสดงรายการคือ ภ.ง.ด.53