Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิเคราะห์ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา (วิเคราะห์ด้านเนื้อหา (ตัวละคร,…
วิเคราะห์ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา
การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
การไม่มีสามีหรือภรรยาหลายคน รักเดียวใจเดียว
วิเคราะห์ด้านเนื้อหา
โครงเรื่อง
เรื่องขุนช้างขุนแผนนี้ เป็นนิยายพื้นบ้านของสุพรรณบุรี ที่แต่งขึ้นจากเรื่องจริง ที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ซึ่งมีหลักฐานอยู่ ในหนังสือคําให้การชาวกรุงเก่า โดยแต่งเป็นบทกลอนสําหรับขับเสภา เมื่อมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ที่มีผู้แต่งไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยานั้น เหลืออยูเพียงบางตอนเทานั้น
กลวิธีในการแต่ง
ใช้กลอนเสภา ลักษณะคําประพันธ์กลอนเสภาเป็นกลอนสุภาพ เสภาเป็น กลอนขั้นเล่าเรื่่องอย่างเล่านิทานจึงใช้คํามากเพื่อบรรจุขอความให่ชัดเจนแก่ผู้ฟัง และมุ่งเอาการขับได้ ไพเราะเป็นสําคัญ สัมผัสของคําประพันธ์ คือ คําสุดท้ายของวรรคต้น ส่งสัมผัสไปยังคําใดคําหนึ่งใน ๕ คําแรกของวรรคหลังสัมผัสวรรคอื่่นและสัมผัสระหว่างบทเหมือนกลอนสุภาพ
ตัวละคร
1.นางวันทอง สองใจเป็นเหตุที่ทําให้ทุกคนทะเลาะกันและสุดท้ายนางวันทองก็ไม่เลือกที่จะอยู่กับใครเลยเพราะรักทั้งคู่ จนถูกพระพันวษาประหารเพราะตัวนางเอง
จะเห็นได้จากบทประพันธ์
ความรักขุนแผนก็แสนรัก ด้วยร่วมยากมานักไม่เดียดฉันท์ สู้ลําบากบุกป่ามาด้วยกัน สารพันอดออมถนอมใจ ขุนช้างแต่อยูด้วยกันมา คําหนักหาได้ว่าให้เคืองไม่ เงินทองกองไว้มิใหใคร ข้าไทใช้สอยเหมือนขอตัว
(หน้า38)
เร่งเร็วเหวยพระยายมราช ไปฟันฟาดเสียให้มันเป็นผี อกเอาขวานผ่าอย่าปราณี อย่าให้มีโลหิตติดดินกู เอาใบตองรองไว้ให้หมากิน ตกดินอัปรีย์กาลีอยู่ ฟันให้หญิงชายทั้งหลายดู สั่งเสร็จเสด็จสู่ปราสาทชัย (หน้า39)
2.ขุนช้าง เป็นคนที่รักเมีย เพราะยอมที่จะลงไปในนํ้าเพื่่อถวายฎีกาแก้พระพันวษา เพื่อชิงตัวนางวันทองกลับมา
จะเห็นได้จากบทประพันธ์
เขาตรงบโทนอันต้นกัญญา เพื่อนโขกลงด้วยกะลาวาผีเสื้อ มหาดเล็กอยู่งานพัดพลัดตกเรือ ร้องว่าเสือตัวใหญ่ว่ายนํ้ามา ขุนช้างดึงดื้อมือยึดเรือ มิใช่เสือกนะหมอมฉานล้านเกศา สู้ตายขอถวายซึ่งฎีกา แค้นเหลือปัญญาจะทานทน (หน้า30)
3.ขุนแผน ถนัดในด้านไสยศาสตร รักนางวันทองมากแต่เจ้าชู้
จะเห็นไดจากบทประพันธ์
จะกล่าวถึงขุนแผนแสนสนิท เรืองฤทธิ์ลือจบพิภพไหว อยู่บ้านสุขเกษมเปรมใจ สมสนิทพิสมัยด้วยสองนาง ลาวทองกับเจ้าแก้วกิริยา ปรนนิบัติวัตถาไม่หางกาย เพลิดเพลินจําเริญใจไม่เว้นวาง คืนนั้นในกลางซึ่งราตรี (หน้า31)
4.จมื่นไวย ถนัดด้านไสยศาสตร เหมือนพ่อ และรักแม่มากจึงจะใชไสยศาสตร์ เพื่อพาแมกลับบ้านไป
จะเห็นได้จากบทประพันธ์
หอมหวนอวลอบบุปผชาติ เบิกบานกานกลาดกิ่งไสว เรณูฟูร่อนขจรใจ ย่างท้าวก้าวไปไม่โครมคราม ข้าไทนอนหลับลงทับกัน สะเดาะกลอนถอนลั่นถึงชั้นสาม กระจกฉากหลากสลับวับแวมวาม อรามแสงโคมแก้วแววจับตา (หน้า24)
5.สมเด็จพระพันวษา เป็นผู้รับถวายฎีกาและเป็นคนเด็ดขาด
เพราะเป็นผู้สั่งประหารนางวันทอง
จะเห็นได้จากบทประพันธ์
เร่งเร็วเหวยพระยายมราช ไปฟันฟาดให้เสียมันเป็นผี อกเอาขวานผาอย่าปรานี อย่าให้มีโลหิตติดดินกู เอาใบตองรองไว้ให้หมากิน ตกดินจะอัปรีย์กาลีอยู่ ฟันให้หญิงชายทั้งหลายดู สั่งเสร็จเสด็จสู่ปราสาทชัย (หน้า39)
วิเคราะห์ด้านวรรณศิลป์
ใช้อารมณ ความโกรธแค้น (พิโรธวาทัง)
จะเห็นได้จากบทประพันธ์
ยิ่งคิดเดือดดาลทะยานใจ
ฉวยไดกระดานชนวนมา
ร่างฟ้องทองเทียบใหเรียบร้อย
ถอยคําถี่ถวนเป็นหนักหนา
(หน้า30)
การบรรยายโวหาร (เสาวรจนีย์ )
จะเห็นได้จากบทประพันธ์
ฟ้าขาวดาวเด่นดวงสว่าง
จันทร์กระจ่างทรงกลดหมดเมฆสิ้น
จึงเซ่นเห้ลาข้าวปลาให้พรายกิน
เสกขมิ้นว่านยาเข้าทาตัว
(หน้า23)
อุปมาโวหาร
จะเห็นได้จากบทประพันธ์
อีวันทองตัวมันเหมือนแก้ว
ถ้าตัดโคนขาดแล้วก็ใบเหี่ยว
ใครจะควรสู่สมอยู่กลมเกลียว
ให้เด็ดเดี่ยวรู้กันแตวันนี้
(หน้า38)
วิเคราะห์ด้านสังคม
เชื่อในเรื่องความฝัน ว่าฝันร้ายแล้วจะมีสิ่งที่ไมดีเกิดขึ้น
จะเห็นไดจากบทประพันธ์
ครานั้นขุนแผนแสนสนิท ฟังความตามนิมิตก็ใจหาย ครั้งนี้น่าจะมีอันตราย ฝันร้ายสาหัสตัดตํารา พิเคราะห์ดูทั้งยามอัฐกาล ก็บันดาลฤกษ์แรงเป็นหนักหนา มิรู้ที่แถลงแจงกิจจา กอดเมียเมินหนานําตากระเด็น (หน้า34)
เชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ การพึ่งพาไสยศาสตร์
จะเห็นไดจากบทประพันธ์
หอมหวนอวลอบบุปผชาติ เบิกบานกานกลาดกิ่งไสว เรณูฟูรอนขจรใจ ย่างท้าวก้าวไปไม่โครมคราม ขาไทนอนหลับลงทับกัน สะเดาะกลอนถอนลั่นถึงชั้นสาม กระจกฉากหลากสลับวับแวมวาม อรามแสงโคมแกวแววจับตา (หนา24)