Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิเคราะห์เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา (ตัวละคร (ขุนช้าง…
วิเคราะห์เรื่อง
ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา
คุณค่าด้านเนื้อหา
โครงเรื่อง
ขุนช้างขุนแผนเป็นตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาในเมืองสุพรรณบุรีและกาญจนบุรี โดยเชื่อกันว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในสมัยสมเด็จพระพันวษาแห่งกรุงศรีอยุธยา โดยในตำนานเล่าเพียงว่า นายทหารยศขุนแผนผู้หนึ่งได้ถวายดาบฟ้าฟื้นแด่สมเด็จพระพันวษา โดยใช้วิธีในการถ่ายทอดคือ เล่าสืบต่อกันมาเป็นนิทาน จนกระทั่งมีผู้คิดการเล่าโดยการขับเป็นลำนำขึ้นมา จนกลายเป็นบทเสภา มีทั้งหมด 43 ตอนด้วยกัน ตอนที่นำมาเป็นบทเรียนนี้คือตอนที่ 35
ใช้กลอนเสภา เป็นกลอนสุภาพ ใช้ขับเป็นทำนอง
โดยใช้กรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะ มีกวีเอกหลายคนเป็นผู้ร่วมแต่ง สันนิษฐานว่า แต่งตั้งเเต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ตัวละคร
ขุนช้าง มีนิสัยเอาแต่ใจ ขี้ฟ้อง ชอบหาเรื่องหาความผู้อื่น
เป็นคนเจ้าคิดเจ้าแค้น และเป็นหนึ่งในตัวละครสำคัญของเรื่อง
ดังบทประพันธ์ต่อไปนี้
ครานั้นขุนช้างฟังบ่าวบอก เหงื่อออกโซมล้านกระบาลใส
คิดคิดให้แค้นแสนเจ็บใจ. ช่างทำได้ต่างต่างทุกอย่างจริง (หน้า28)
ขุนแผน มีความสามารถด้านไสยศาสตร์ และเป็นคนเจ้าชู้มาก
เป็นตัวละครสำคัญของเรื่อง
ดังบทประพันธ์ต่อไปนี้
ครานั้นวันทองเจ้าพลายงาม ได้ฟังความคร้ามครั่นหวั่นไหว
ขุนแผนเรียกวันทองเข้าห้องใน ไม่ไว้ใจจึงเสกด้วยเวทมนต์. (หน้า35)
จมื่นไวย เก่งด้านไสยศาสตร์เหมือนขุนแผน และมีความกล้าหาญ
เป็นคนที่รักแม่มาก
ดังคำประพันธ์ต่อไปนี้
ใช้พรายถอดกลอนถอนลิ่ม รอยทิ่มถอยหลุดไปจากที่
ย่างเท้าก้าวไปในทันที มิได้มีใครทักแต่สักคน (หน้า24)
พระพันวษา เป็นพระมหากษัตริย์ที่ฉลาด รอบรู้ และมีความยุติธรรม
ทรงเป็นผู้สั่งประหารนางวันทอง และรับถวายฎีกาจากขุนช้าง
ดังคำประพันธ์ต่อไปนี้
เร่งเร็วพระยายมราช ไปฟันฟาดเสียให้เป็นผี
อกเอาขวานผ่าอย่าปรานี อย่าให้มีโลหิตติดดินกู (หน้า39)
นางวันทอง เป็นคนที่มีจิตใจเห็นใจผู้อื่น รักลูกมาก แต่นางไม่ยอมเลือกระหว่างขุนแผนกับขุนช้าง จึงถูกขนานนามว่า นางวันทองสองใจ
ดังคำประพันธ์ต่อไปนี้
ขุนช้างแต่อยูู่ด้วยกันมา คำหนักหาได้ว่าให้เคืองไม่
เงินทองกองไว้มิให้ใคร. ข้าไทใช้สอยเหมือนของตัว (หน้า27)
วิเคราะห์ด้านสังคม
คนในสมัยนั้นมีความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์
ดังบทประพันธ์ต่อไปนี้
จุดเทียนสะกดข้าวสารปราย. ภูตพรายโดดเรือนสะเทือนผาง
สะเดาะดาลบานเปิดหน้าต่างกาง ย่างเท้าก้าวขึ้นร้านดอกไม้ (หน้24)
เชื่อเรื่องความฝัน ว่าเป็นลางบอกเหตุ
ดังบทประพันธ์ต่อไปนี้
วันทองน้องนอนสนิททรวง จิตง่วงระงับสู่ภะวัง
ฝันว่าพลัดไปในไพรเถื่อน. เลื่อนเปื้อนไม่รู้ที่จะกลับหลัง
(หน้า33)
เชื่อในเรื่องเวลาหรือโชคลาง
ดังบทประพันธ์ต่อไปนี้
ได้ยินเสียงฆ้องย่ำประจำวัง ลอยลมล่องดึงถึงเคหา
คะเนนับย่ำยามได้สามครา ดูเวลาปลอดห่วงทักทิน
(หน้า23)
วิเคราะห์ด้านวรรณศิลป์
สะท้อนอารมณ์โกรธแค้นของตัวละคร (พิโรธวาทัง)
ดังบทประพันธ์ต่อไปนี้
ยิ่งคิดเดือดดาลทะยานใจ ฉวยได้กระดานชนวนมา
ร่างฟ้องท่องเทียบให้เรียบร้อย. ถ้อยคำถี่ถ้วนเป็นหนักหนา
(หน้า30)
มีการใช้อุปมาโวหาร
ดังคำประพันธ์ต่อไปนี้
อีวันทองตัวมันเหมือนแก้ว ถ้าตัดโคนขาดแล้วก็ใบเหี่ยว
ใครจะควรสู่สมอยู่กลมเกลียว. ให้เด็ดเดี่ยวรู้กันในวันนี้
(หน้า38)
การบรรยายโวหาร
ดังคำประพันธ์ต่อไปนี้
ฟ้าขาวดาวเด่นดวงสว่าง. จันทร์กระจ่างทรงกลดหมดเมฆสิ้น
จึงเส้นเหล้าขาวปลาให้พรายกิน. เสกขมิ้นว่านยาเข้าทาตัว (หน้า23)
กลวิธีในการแต่ง