Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิเคราะห์ เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา (คุณค่าด้านเนื้อหา…
วิเคราะห์
เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา
คุณค่าด้านเนื้อหา
โครงเรื่อง
ขุนช้างขุนแผนเป็นตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาในเมืองสุพรรณบุรีและกาญจนบุรีโดยมีความเชื่อกันว่าเป็นเรื่องที่เกิดจริงในแผ่นดินสมัยสมเด็จพระพันวษาแห่งกรุงศรีอยุธยา โดยในตำนานเดิมเล่าเพียงว่านายทหารยศขุนแผนผู้หนึ่งได้ถวายดาบฟ้าฟื้นแด่สมเด็จพระพันวษาซึ่งใช้วิธีการถ่ายทอดโดยการเล่าสืบต่อกันมาเป็นนิทาน จนกระทั่งมีผู้คิดวิธีการเล่าโดยการขับเสภาเป็นลำนำขึ้นมา จึงกลายเป็นใช้บทเสภา. มีทั้งหมด ๔๓ ตอนด้วยกัน ตอนที่นำมาเป็นบทเรียนนี้คือตอนที่ ๓๕
กลวิธีการแต่ง
ใช้กลอนเสภา เป็นกลอนสุภาพใช้ขับเป็นทำนอง
โดยใช้กรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะมีกวีเอก
หลายคนร่วมกันแต่ง สันนิษฐานว่าแต่งตั้งแต่
สมัยพระนารายณ์
ตัวละคร
นางวันทอง
เป็นคนรักลูกมาก(จมื่นไวย) ยอมถูกบังคับมาโดยตลอด โดนว่าเป็นนางวันทองสองใจ
ดังบทประพันธ์ต่อไปนี้
ครานั้นจึงโฉมเจ้าวันทอง เศร้าหมองด้วยลูกเป็นหนักหนา
พ่อพลายงามทรามสวาดิของแม่อา แม่โศกาเกือบเจียนจะบรรลัย
(หน้า๒๖)
ดังบทประพันธ์ต่อไปนี้
ชอบผิดพ่อจงคิดคะนึงตรอง อันตัวน้องมลทินหาสิ้นไม่
ประหนึ่งว่าวันทองนี้สองใจ พบไหนก็เป็นแต่เช่นนั้น
(หน้า๓๒)
ขุนช้าง
เป็นคนที่รักนางวันทองมาก ไม่เคยทำให้นางวันทองเสียใจ ยกย่องให้นางวันทองเป็นเมียอย่างสมบูรณ์
ดังบทประพันธ์ต่อไปนี้
ขุนช้างแต่อยู่ด้วยกันมา คำหนักหาได้ว่าให้เคืองไม่
เงินทองกองไว้มิให้ใคร ข้าไทใช้สอยเหมือนของตัว
(หน้า๓๘)
ขุนแผน
เป็นคนเจ้าชู้รูปงาม
มีความสามารถด้านคาถาอาคม เป็นพ่อของจมื่นไวย
ดังบทประพันธ์ต่อไปนี้
ครานั้นวันทองเจ้าพลายงาม ได้ฟังความคร้ามครั่นหวั่นไหว
ขุนแผนเรียกวันทองเข้าห้องใน ไม่ไว้ใจจึงเสกด้วยเวทมนตร์
สีขี้ผึ้งปากกินหมากเวทย์ ซึ่งวิเศษสารพัดแก้ขัดสน
น้ำมันพรายน้ำมันจันทร์สรรเสกปน เคยคุ้มขังบังตนแต่ไรมา
(หน้า๓๕)
จมื่นไวย
เก่งกล้าด้านวิชาคาถาอาคมเหมือนพ่อ(ขุนแผน)
มีความรักแม่มาก(นางวันทอง)ยอมทำทุกอย่างเพื่อให้แม่กลับมาอยู่ด้วย
ดังบทประพันธ์ต่อไปนี้
ถ้าคิดเห็นเอ็นดูว่าลูกเต้า แม่ทูนเกล้าไปเรือนอย่าเชือนเฉย
ให้ลูกคลายอารมณ์ได้ชมเชย เหมือนเมื่อครั้งแม่เคยเลี้ยงลูกมาก
(หน้า๒๖)
สมเด็จพระพันวษา
เป็นผู้รับถวายฎีกาจากขุนช้าง
สั่งประหารนางวันทอง เป็นผู้ที่มีความเด็ดขาด น่าเกรงขาม
ดังบทประพันธ์ต่อไปนี้
เร่งเร็วเหวยพระยายามราช ไปฟันฟาดเสียให้มันเป็นผี
อกเอาขวานผ่าอย่าปรานี อย่าให้มีโลหิตติดดินกู
เอาใบตองรองไว้ให้หมากิน ตกดินจะอัปรีย์กาลีอยู่
ฟันให้หญิงชายทั้งหลายดู สั่งเสร็จเสด็จสู่ปราสาทชัย
(หน้า๓๙)
วิเคราะห์ด้านสังคม
คนในสมัยมีความเชื่อ
เรื่องไสยศาสตร์
ดังบทประพันธ์ต่อไปนี้
ข้าไทนอนหลับลงทับกัน สะเดาะกลอนถอนลั่นถึงชั้นสาม
กระจกฉากหลากสลับวับแวมวาม อร่ามแสงโคมแก้วแววจับตา
(หน้า๒๔)
เชื่อเรื่องความฝันถ้าฝันร้าย
จะมีเรื่องร้ายเกิดขึ้น
ดังบทประพันธ์ต่อไปนี้
พิเคราะห์ดูทั้งยามอัฐกาล ก็บันดาลฤกษ์แรงเป็นหนักหนา
มิรู้ที่จะแถลงแจ้งกิจจา กอดเมียเมินหน้าน้ำตากระเด็น
(หน้า๓๔)
เชื่อในเรื่องเวลาหรือโชคราง
ดังบทประพันธ์ต่อไปนี้
ได้ยินเสียงฆ้องย่ำประจำวัง ลอยลมล่องดังถึงเคหา
คะเนนับย่ำยามได้สามครา ดูเวลาปลอดห่วงทักทิน
(หน้า๒๓)
วิเคราะห์ด้านวรรณศิลป์
การบรรยายโวหาร
ดังบทประพันธ์ต่อไปนี้
ฟ้าขาวดาวเด่นดวงสว่าง จันทร์กระจ่างทรงกรดหมดเมฆสิ้น
จึงเซ่นเหล้าข้าวปลาให้พรายกิน เสกขมิ้นว่านยาเข้าทาตัว
(หน้า๒๓)
การใช้อุปมาโวหาร
ดังบทประพันธ์ต่อไปนี้
อีวันทองตัวมันเหมือนรากแก้ว ถ้าตัดโคนขาดแล้วก็ใบเหี่ยว
ใครจะควรสู่สมอยู่กลมเกลียว ให้เด็ดเดี่ยวรู้กันแต่วันนี้
(หน้า๓๘)
สะท้อนให้เห็นอารมณ์โกรธแค้นของตัวละคร(พิโรธวาทัง)
ดังบทประพันธ์ต่อไปนี้
ครานั้นพระองค์ผู้ทรงภพ ฟังจบแค้นคั่งดังเพลิงไหม้
เหมือนดินประสิวปลิวติดกับเปลวไฟ ดูดู๋เป็นได้อีวันทอง
จะว่ารักข้างไหนไม่ว่าได้ น้ำใจจะประดังเข้าทั้งสอง
ออกนั่นเข้านี่มีสำรอง ยิ่งกว่าท้องทะเลอันล้ำลึก
(หน้า๓๙)