Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิเคราะเรื่องขุนช้างขุนแผน : (ตอนขุนช้างถวายฎีกา) (คุณค่าด้านวรรณศิลป์…
วิเคราะเรื่องขุนช้างขุนแผน : (ตอนขุนช้างถวายฎีกา)
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
สะท้อนถึงอารมณ์โกรธแค้นและสะเทือนใจ (พิโรธวาทัง)
จะเห็นได้จากบทประพันธ์
ยิ่งคิดเดือดดาลทะยานใจ ฉวยได้กระดานชนวนมา ร่างฟ้องท่องเทียบให้เรียบร้อย ถ้อยคำถี่ถ้วนเป็นหนักหนา (หน้าที่๓๐)
การบรรยายโวหาร (เสาวรจนีย์)
จะเห็นได้จากบทประพันธ์
ฟ้าขาวดาวเด่นดวงสว่าง จันทร์กระจ่างทรงกลดหมดมฆสิ้น จึงเซ่นเหล้าข้าวปลาให้พรายกิน เสกขมิ้นว่านยาเข้าทาตัว (หน้าที่๒๓)
เชิงเปรียบเทียบ (อุปมาโวหาร) นางวันทองเหมือนกับรากแก้วถ้าตัดโคนได้แล้วใบก็จะเหี่ยวเหมือนเดิม
จะเห็นได้จากบทประพันธ์
อีวันทองตัวมันเหมือนแก้ว ถ้าตัดโคนขาดแล้วก็ใบเหี่ยวใครจะควรสู่สมอยู่กลมเกลียว ให้เด็ดเดี่ยวรู้กันแต่วันนี้ (หน้าที่๓๘)
วิเคราะห์ด้าน เนื้อหา
กลวิธีในการแต่ง
บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนมีกวีเอกหลายคนร่วมกันแต่งสันนิษฐานกันว่าแต่งตั้วแต่รัชสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีผู้แต่งแทรกให้เนื้อเรื่องสมบูรณ์ และ เป็ฯการทำนองเป็นกลอนบทเสภา
ตัวละคร
วันทอง
นางวันทองสองใจ เป็นเหตุทำให้ทุกคนทะเลาะกันและทำให้เกิดเหตุว่านางวันทองไม่ยอมเลือกจึงเป็นเหตุทำให้พระพันวษาโกรธและโดนสั่งฆ่า ที่นางไม่ยอมเลือกเพราะ ใจก็รักสามีเท่ากับลูก และขุนช้างที่เคยอยู่ด้วยกันมานาน
จะเห็นได้จากบทประพันธ์
ความรักขุนแผนก็แสนรัก ด้วยร่วมยากมานักไม่เดียดฉันท์ สู้ลำบากบุกป่ามาด้วยกัน สารพันอดออมถนอมใจ ขุนช้างแต่อยู่ด้วยกันมา คำหนักหาได้ว่าหาเคืองไม่ เงินทองกองไว้มิให้ใคร ข้าไทใช้สอยเหมือนของตัว จมื่นไวยเล่าก็เลือดในอก ก็หยิบยกรักเท่ากันกับผัว (หน้าที่ ๓๘-๓๙)
เร่งเร็วเหวยพระยามราช ไปฟันฟาดเสียเถิดอีคนนี้ แกเอาขวานอย่าปราณี อย่าให้มีโลหิตติดดินกู (หน้าที่๓๙)
จหมื่นไวย
ถนัดด้านไสยศาสตร์เหมือนพ่อ และรักแม่มากจึงใช้ ไสยศาสตร์ เพื่อพาแม่กลับไปอยู๋ด้วยกัน
จะเห็นได้จากบทประพันธ์
หอมหวนอวลอยบุพชาติ เบิกบานก้วนกลาดถือไสว เรณูฟูร่อนขจรใจ ย่างท้าวก้าวไปไม่โครมคราม ย้ำไทนอนหลับลงทันกัน สะเดาะกลอนลั่นถึงชั้นสาม กระจกฉากหลากสลับวับแวมวาว อร่ามแสงโดมแก้วแววจับตา (หน้าที่๒๔)
ขุนแผน
เป็นผู้ชายที่มีรูปงาม มีภรรยาหลายคน และเป็นนายทหารที่เก่ง มีวิชาอาคมที่แกร็งกล้า
จะเห็นได้จากบทประพันธ์
จึงแจ้งเพทุบายทำนายไป ฝันอย่างนี้มิใช่จะเกิดเข็ญ เพราะจิตตกหมดไหม้จึงได้เป็น เนื้อเย็นอยู๋กับผัวอย่ากลัวทุกข์ พรุ่งนี้พี่จะแก้เสนียดฝัน แล้วทำมิ่วขวัญให้เป็นสุข มิให้เกิดราคีกลียุค อย่าเป็นทุกข์เลยเจ้าจงเบาใจ (หน้าที่๓๔)
พระพันวษา
เป็นผู้รับถวายฎีกา และเป็นผู้สั่งประหารนางวันทอง
จะเห็นได้จากบทประพันธ์
เร่งเร็วเหวยพระยามหาราช ไปฟัดฟาดเสียให้มันเป็นผี อกเอาขวานผ่าอย่าปรานี อย่าให้มีโลหิตติดดินกู เอาใบตองลองไว้ให้หมากิน ตกดินจะอัปรีย์กาลีอยู่ ฟันให้หญิงชายทั้งหลายดู สั่งเสร็จเสด็จสู่ปราสาทชัย (หน้าที่๓๙)
ขุนช้าง
มีลักษณะรูปชั่วตัวดำหัวล้านมาแต่กำเนิด นิสัยเจ้าเล่ห์เพทุบาย มีฐานะร่ำรวยมาก
จะเห็นได้จากบทประพันธ์
โอ้ว่าแม่วันทองช่างหมองนวล ไม่สมควรเคียงคู่กับขุนช้าง เออนี่เนื้อเคราะห์กรรมมานำผิด น่าอายมิตรหมองใจไม่หายหมาง ฝ่ายพ่อมีบุญเป็นขุนนาง แต่แม่ไปแนบข้างคนจัญไร รูปร่างวิปริตผิดกว่าคน ทรพลอัปรีย์ไม่ตีได้ ทั้งใจคอชั่วโฉดโหดไร้ ช่างไปหลงรักใคร่ได้เป็นดี (หน้าที่๒๓)
ขุนช้างแต่อยู่ด้วยกันมา คำหนักหาได้ว่าให้เคืองไม่ เงินทองกองไว้มิให้ใคร ข้าไทใช้สอยเหมือนของตัว (หน้า๓๘)
โครงเรื่อง
เรื่องขุนช้างขุนแผนนี้ เป็นนิยายพื้นบ้านของสุพรรณบุรี ที่แต่งขึ้นจากเรื่องจริง ที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ซึ่งมีหลักฐานอยู่ ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า โดยแต่งเป็นบทกลอนสำหรับขับเสภา เมื่อมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ที่มีผู้แต่งไว้ตั้งแต่งสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น เหลืออยู่เพียงบางตอนเท่านั้น
คุณค่าด้านสังคม
คนใสสมัยอยุธยาจะมีความเชื่อเกี่ยวับไสยศาสตร์
จะเห็นได้จากบทประพันธ์
คะเนนับย่ำยามได้สามครา ดูเวลาปลอดห่วงทักทิน
ฟ้าขาวดาวเด่นดวงสว่าง จันทร์กระจ่างทรงกลมหมดเมฆสิ้น
จึงเช่นเหล้าขาวปลาให้พรายกิน เสกขมิ้นว่านยาเข้าทาตัว
ลงยันต์ราชะเอาปะอก หยิบยกมงคลขึ้นใส่หัว
เป่ามนต์เบื้องบนชอุ่มมัว พรายยั่วยวนใจให้คลายคลา
จับดาบเคยปราบณรงค์รบ เสร็จครบบริกรมพระคาถา
ลงจสกเรือนไปมิได้ช้า รีบมาถึงบ้านขุนช้างพลัน
(หน้าที่๒๓)
มีความเชื่อเรื่องของเวรกรรมว่าที่ทุกข์แบบนี้นั้นเกิดจากกรรมเก่าที่ได้ทำมาตั้งแต่ชาติก่อน
ดังจะเห็นได้จากบทประพันธ์
พร้อมญาติขาดอยู่แต่มารดา นึกนึกตรึกตราละห้วยหวน
โอ้ว่าแม่วันทองช่างหมองนวล ไม่สมควรเคียงคู่กับขุนช้าง
เออนี่เนื้อเคราะห์กรรมมานำผิด น่าอายมิตรหมองใจไม่หายหมาง
ฝ่ายพ่อมีบุญเป็นขุนนาง แต่แม่ไปแนบขางคนจัญไร
(หน้าที่๒๓)
มีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องความฝัน การฝันร้าย ว่าฝันร้ายจะมีเรื่องร้ายๆเกิดขึ้น
จะเห็นได้จากบทประพันธ์
ดูเหว่าเร้าเสียงสำเนียงก้อง ระฆังฆ้องขานแข่งในวังหลวง
วันทองน้องนับสนิททรวง จิตรง่วงระงับสู่ภวังค์
ฝันว่สพลัดไปในไพรเถื่อน เลื่อนเปื้อนไม่รู้ที่จะกลับหลัง
ลดเลี้ยวเที่ยวหลงในดงรัง ยังมีพยัคฆ์ร้ายมาราวี
ทัเงสองมองหมอบอยู่ริมทาง พอนางดั้นป่ามาถึงที่
โดดตะครุบคาบคั้นในทันที แล้วฉุดคร่าพารีไปในไพร
สิ้นฝันครั้นตื่นตกประหมา หวีดผวากอดผัวสะอื้นให้
(หน้าที่๓๓-๓๔)