Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิเคราะห์ เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา (คุณค่าด้านสังคม…
วิเคราะห์
เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกา
คุณค่าด้านเนื้อหา
ตัวละคร
นางวันทอง
นางวันทองสองใจไม่เลือกใคร เป็นเหตุทำให้ทุกคนทะเลาะกันและทำให้เกิดเหตุว่านางวันทองไม่ยอมเลือกใครจึงทำให้พระพันวษา
โกรธและโดนสั่งฆ่า เพราะนางไม่ยอมเลือกใจก็รักสามีรักลูก แต่ขุนช้างก็เคยอยู่ด้วยกันมาแต่ถ้าถามว่ารักไหมก็ไม่ได้รัก
ดังจะเห็นได้จากบทประพันธ์
ความรักขุนแผนก็แสนรัก ด้วยร่วมยากจะนักไม่เดียดฉันท์
สู้ลำบากบุกป่ามาด้วยกัน สารพันอดออมถนอมใจ
ขุนช้างแต่อยู่ด้วยกันมา คำหนักหาได้ว่าหาเคืองไม่
เงินทองกองไว้มอให้ใคร ข้าไทใช้สอยเหมือนของตัว
จมื่นไวยอล่าก็เลือดในอก ก็หยิบยกรักเท่ากันกับผัว
(หน้า๓๘-๓๙)
ดังจะเห็นได้จากบทประพันธ์
เร่งเร็วเหวยพระยามราช ไปฟันฟาดเสียเถิดอีคนนี้
แกเอาขวานอย่าปราณี อย่าให้มีโลหิตติดดินกู
(หน้า๓๙)
ขุนช้าง
มีลักษณะรูปชั่วตัวดำหัวล้านมาแต่กำเนิด
นิสัยเจ้าเล่ห์เพทุบายมีฐานะร่ำรวย
ดังจะเห็นได้จากบทประพันธ์
ขุนช้างแต่อยู่ด้วยกันมา คำหนักหาได้ว่าให้เคืองไม่
เงินทองกองไว้มิให้ใคร ข้าไทใช้สอยเหมือนของตัว
(หน้า๓๘)
ดังจะเห็นได้จากบทประพันธ์
โอ้ว่าแม่วันทองช่างหมองนวล ไม่สมควรเตียงคู่กับขุนช้าง
เออนี่เนื้อเคราะห์กรรมมานำผิด น่าอายมิตรหมองใจไม่หายหมาง
ฝ่ายพ่อมีบุญเป็นขุนนาง แต่แม่ไปแนบข้างคนจัญไร
รูปร่างวิปริตผิดกว่าคน ทรพลอัปรีย์ไม่ตีได้
ทั้งใจคอชั่วโฉดโหดไร้ ช่างไปหลงรักใร่ได้เป็นดี
(หน้า๒๓)
ขุนแผน
เป็นผู้ชายที่มีรูปงาม เจ้าชู้มีภรรยาหลายคน
และเป็นนายทหารที่เก่ง มีวิชาอาคมที่แกร่งกล้า
ดังจะเห็นได้จากบทประพันธ์
จึงแจ้งเพทุบายทำนายไป ฝันอย่างนี้มิใช่จะเกิดเข็ญ
เพราะจิตตกหมดไหม้จึงได้เป็น เนื้อเย็นอยู่กับผัวอย่ากลัวทุกข์
พรุ่งนี้พี่จะแก้เสนียดฝัน แล้วทำมิ่วขวัญให้เป็นสุข
มิให้เกิดราคีกลียุค อย่าเป็นทุกข์เลยเจ้าจงเบาใจ
(หน้า๓๔)
จมื่นไวย
ถนัดด้านไสยศาสตร์เหมือนพ่อ และรักแม่มาก
จึงใช้ไสยศาสตร์เพื่อพาแม่กลับมาอยู่ด้วยกัน
ดังจะเห็นได้จากบทประพันธ์
หอมนวลอวลอยบุพชาติ เบิกบานก้วนกลาดถือไสว
เรณูฟูร่อนขจรใจ ย่างก้าวไปไม่โครมคราม
ย้ำไทนอนหลับลงทันกัน สะเดาะกลอนลั่นถึงชั้นสาม
กระจกฉานหลากสลับวับแวมวาว อร่ามแสงโดมแก้วแววจับตา
(หน้า๒๔)
พระพันวษา
เป็นกษัตริย์ผู้รับคำถวายฎีกาของขุนช้าง
และเป็นผู้สั่งประหารนางวันทอง
ดังจะเห็นได้จากบทประพันธ์
เร่งเร็วเหวยพระยามหาราช ไปฟัดฟาดเสียให้มันเป็นผี
อกเอาขวานผ่าอย่าปรานี อย่าให้มีโลหิตติดดินกู
เอาใบตองลองไว้ให้หมากิน ตกดินจะอัปรีย์กาลีอยู่
ฟันให้หญิงชายทั้งหลายดู สั่งเสร็จเสด็จสู่ปราสาทชัย
(หน้าที่๓๙)
โครงเรื่อง
เรื่องขุนช้างขุนแผนนี้ เป็นนิยายพื้นบ้านของสุพรรณบุรี
ที่แต่งขึ้นจากเรื่องจริง ที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
ซึ่งมีหลักฐานอยู่ในหนังสือ คำให้การชาวกรุงเก่า โดยแต่งเป็นบทกลอน
สำหรับขับเสภา เมื่อมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนที่มีผู้แต่งไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยานั้น เหลืออยู่เพียงบางตอนเท่านั้น
กลวิธีในการเเต่ง
บทประพัทธ์เรื่องขุนช้างขุนแผนมีกวีเอกหลายคนร่วมกันแต่ง
สันนิษฐานกันว่าต่งขึ้นตั้งแต่สมัยรัชสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีผู้แต่งแทรกให้เนื้อเรื่องสมบูรณ์และมีการแต่งให้เป็นทำนองเป็นกลอนบทเสภา
คุณค่าด้านสังคม
คนในสมัยอยุธยาจะมีความเชื่อ
เกี่ยวกับเรื่องของไสยศาสตร์
ดังจะเห็นได้จากบทประพันธ์
คะเนนับย่ำยามได้สามครา ดูเวลาปลอดห่วงทักทิน
ฟ้าขาวดาวเด่นดวงสว่าง จันทร์กระจ่างทรงกลดหมดเมฆสิ้น
จึงเซ่นเหล้าข้าวปลาให้พรายกิน เสกขมิ้นว่านยาเข้าทาตัว
ลงยันต์ราชะเอาปะอก หยิบยกมงคลขึ้นใสหัว
เป่ามนตร์เบื้องบนชอุ่มมัว พรายยั่วยวนใจให้ไคลคลา
จับดาบเคยปราบณรงค์รบ เสร็จครบบริกรรมพระคาถา
ลงจากเรือนไปมิได้ช้า รีบมาถึงบ้านขุนช้างพลัน
(หน้า๒๓)
มีความเชื่อเรื่องของเวรกรรม
ว่าที่ทุกข์แบบนี้นั้นเกิดจากกรรมเก่า
ที่ได้ทำมาตั้งแต่ชาติก่อน
ดังจะเห็นได้จากบทประพันธ์
พร้อมญาติขาดอยู่แต่มารดา นึกนึกตรึกตราละห้อยหวน
โอ้ว่าแม่วันทองช่างหมองนวล ไม่สมควรเคียงคู่กับขุนช้าง
เออนี่เนื้อเคราะห์กรรมมานำผิด น่าอายมิตรหมองใจไม่หายหมาง
ฝ่ายพ่อมีบุญเป็นขุนนาง แต่แม่ไปแนบข้างคนจัญไร
(หน้า๒๓)
มีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของความฝัน
ว่าถ้าฝันร้ายจะมีเรื่องร้ายๆเกิดขึ้น
ดังจะเห็นได้จากบทประพันธ์
ดุเหว่าเร้าเสียงสำเนียงก้อง ระฆังฆ้องขานแข่งในวังหลวง
วันทองน้องนอนสนิททรวง จิตง่วงระงับสู่ภวังค์
ฝันว่าพลัดไปในไพรเถื่อน เลื่อนเปื้อนไม่รู้ที่จะกลับหลัง
ลดเลี้ยวเที่ยวหลงในดงรัง ยังมีพยัคฆ์ร้ายมาราวี
ทั้งสองมองหมอบอยู่ริมทาง พอนางดั้นป่ามาถึงที่
โดดตะครุบคาบคั้นในทันที แล้วฉุดคร่าพารี่ไปในไพร
สิ้นฝันครั้นตื่นตกประหม่า หวีดผวากอดผัวสะอื้นไห้
(หน้า๓๓-๓๔)
ในสมัยอยุธยามีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
กษัตริย์ในสมัยนั้นมีอำนาจสูงสุดเหนือกฎหมาย
ดังจะเห็นได้จากบทประพันธ์
ครานั้นวันทองได้รับสั่ง ละล้าละลังประนมก้มเกศี
หัวสยองพองพรั่นทันที ทูลคดีพระองค์ผู้ทรงธรรม์
ขอเดชะละอองธุลีพระบาท องค์หริรักษ์ราชรังสรรค์
เมื่อกระหม่อมฉันมาแต่อารัญ ครั้งนั้นโปรดประทานขุนแผนไป
ครั้นอยู่มาขุนแผนต้อจำจอง กระหม่อมฉันมีท้องนั้นเติบใหญ่
อยู่ที่เคหาหน้าวัดตะไกร ขุนช้างไปบอกว่าพระโองการ
มีรับสั่งโปรดปรานประทานให้ กระหม่อมฉันไม่ไปก็หักหาญ
ยื้อยุดฉุดคร่าทำสามานย์ เพื่อนบ้านจะช่วยก็สุดคิด
ด้วยขุนช้างอ้างว่ารับสั่งให้ ใครจะขัดขืนไว้ก็กลัวผิด
จนใจจะมิไปก็สุดฤทธิ์ ชีวิตอยู่ใต้พระบาทา
(หน้า๓๖)
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
มีการใช้รสวรรณคดี
(พิโรธวาทัง)
ดังจะเห็นได้จากบทประพันธ์
ครานั้นขุนช้างฟังบ่าวบอก เหงื่อออกโซมล้านกระบานใส
คิดคิดให้แค้นแสนเจ็บใจ ช่างทำได้ต่างต่างทุกอย่างจริง
สองหนสามหนก่นแต่หนี พลั้งทีลงไม่รอดนางยอดหญิง
ครานั้นอ้ายขุนแผนมันแง้นชิง นี่คราวนี้หนีวิ่งไปตามใคร
ไม่คิดว่าจะเป็นเห็นว่าแก่ ยังสาระแนหลบลี้หนีไปไหน
เอาเถิดเป็นไรก็เป็นไป ไม่เอากลับมาได้มิใช่กู
(หน้า๒๘)
มีการใช้ความเปรียบ
(อุปมาโวหาร)
ดังจะเห็นได้จากบทประพันธ์
อีวันทองตัวมันเหมือนรากแก้ว ถ้าตัดโคนขาดแล้วก็ใบเหี่ยว
ใครจะควรสู่สมอยู่กลมเกลียว ให้เด็ดเดี่ยวรู้กันแต่วันนี้
(หน้า๓๘)
มีการใช้พรรณาโวหาร
ดังจะเห็นได้จากบทประพันธ์
จะเป็นตายง่ายยากไม่จากรัก จะฟูมฟักเหมือนเมื่ออยู่ในกลางเถื่อน
ขอโทษที่พี่ผิดอย่าบิดเบือน เจ้าเพื่อนเสนหาจงอาลัย
(หน้า๓๓)
การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
เราควรที่จะรักเดียวใจเดียว ไม่หลายใจ
ซื่อสัตย์ต่อคู่ครอง ไม่มีหลายสามีหลายภรรยา
รักครอบครัว