Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มะเร็งลำไส้ใหญ่ Colon Cancer (นางสาวภัทราวรรณ นามสวัสดิ์ 5948100148)…
มะเร็งลำไส้ใหญ่ Colon Cancer
(นางสาวภัทราวรรณ นามสวัสดิ์ 5948100148)
ความหมาย
เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้บ่อย มักพบในผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป มักเป็นในเพศชายมากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย
มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon Cancer) คือมะเร็งที่เกิดกับส่วนใดส่วนหนึ่งในลำไส้ใหญ่ โดยเริ่มตั้งแต่ส่วนที่ต่อจากลำไส้เล็กไปจนถึงส่วนปลายที่ติดกับทวารหนัก การเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนมากจะเริ่มจากการเกิดติ่งเนื้อขนาดเล็กภายในลำไส้ใหญ่จนเกิดการพัฒนากลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
สาเหตุ
การกินอาหารที่มีไขมันสูง
กินอาหารที่มีกากใยน้อย ไม่คอยกินผัก ผลไม้
โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
พันธุกรรม เพราะพบคนที่มีครอบครัวสายตรง(บิดา มารดา พี่ น้องท้องเดียวกัน)
อาการ
อุจจาระเป็นเลือดกรือมูก
ท้องผูกสลับท้องเสีย อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
ซีดโดยไม่ทราบสาเหตุ
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
การตรวจร่างกาย
การตรวจทางทวารหนัก
การตรวจลำไส้ใหญ่โดยการสวนแป้งแบเรียม
การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ
การตรวจเลือด (Blood Tests)
การรักษา
การผ่าตัด
ผ่าตัดทำ Colostomy
โคลอสโตมี หมายถึง การผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ออกมาเปิดทางหน้าท้องเพื่อเป็นทางออกของอุจจาระ โดยมีรูเปิดบริเวณหน้าท้องเรียกว่า stoma
แบ่งออกเป็น 2 แบบ
1.แบบชั่วคราว (Temporary Colostomy หรือ Loop Colostomy) มักทำเพื่อต้องการเปลี่ยนทางผ่านของอุจจาระจากบริเวณที่มีการอักเสบ หรือรอบๆ บริเวณที่ผ่าตัด มักทำในผู้ป่วยที่มีการตีบตันของทวารหนัก (Constrictive anus) ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายเป็นแผลทะลุ ลำไส้มีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
2.แบบถาวร (Permanent Colostomy) เป็นโคลอสโตมีที่ทำไว้ตลอดชีวิต จะทำในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้อย่างถาวรจาก อุบัติเหตุ การอักเสบหรือมะเร็ง พบบ่อยในผู้ป่วยมะเร็ง ตำแหน่งที่ทำมักเป็นลำไส้ส่วนซิกมอยด์
คำแนะนำหลังผ่าตัด colostomy
• หลังผ่าตัดประมาณ 7-10 วัน แผลที่บริเวณ stoma ก็จะแห้งสนิท และระบบขับถ่ายอุจจาระก็จะเข้าสู่ภาวะปกติ
หลังผ่าตัด 6–8 เดือน สามารถออกกำลังกายได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่หักโหมรุนแรง และ ไม่ควรยกของหนักเพราะอาจเป็นสาเหตุการเกิดไส้เลื่อนได้
• รับประทานอาหารได้ทุกประเภท ยกเว้นบางโรคที่ต้องควบคุมการรับประทานอาหาร เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน โรคตับ โรคไต ความดันโลหิตสูง
• ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สและกลิ่น เช่น ถั่ว สะตอ ชะอม น้ำอัดลม เบียร์ เป็นต้น
• ควรดื่มน้ำอย่างน้อย วันละ 6–8 แก้ว หลีกเลี่ยงปัญหาท้องผูก
การรักษาด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapy)
ให้ยา
-Dexamethasone ing 12mg Iv push
-Ondansetron ing 8mg iv push
-Rescuvolin 600mg in nss
การฉายรังสี (Radiation Therapy)
การดูแลแบบประคับประคอง
การป้องกัน
เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำเนินชีวิต
เน้นรับประทานผัก ผลไม้ และธัญพืช
เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
เอกสารอ้างอิง
ปราณี ทู้ไพเราะ.หนังสือคู่มือโรค.Cellulitis.พิมพ์ครั้งที่2.ซอยริมคลองบางกอกน้อย ถนนบรมราชชนนี กรุงเทพ 10700.