ภาวะหัวใจล้มเหลว
(Congestive heart failure; CHF)
❤ ⚠ ‼
ความหมาย ⭐
เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ได้เพียงพอกับความต้องการในการเผาผลาญ
สาเหตุ ❓
หลอดเลือดแดงโคโรนารีตีบ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจตาย
มีความผิดปกติของกล้ามเนี้อหัวใจ (Cardiomyopathy)
มีการติดเชื้อที่กล้ามเนื้อหัวใจ
มีความดันเลือดสูง
ลิ้นหัวใจเอออร์ติกหรือพัลโมนิกตีบ
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
ผนังกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างหนาตัวขึ้น
ลิ้นหัวใจไมตรัลหรือไตรคัสปิดหรือเอออร์ติกรั่ว
ภาวะไตวาย
ภาวะเลือดจาง
มีการติดเชื้อต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ (Hyperthyroidism)
พยาธิสรีรภาพ : ⛔
หัวใจข้างช้ายล้มเหลว
(Left-sided heart failure) ❗
หัวใจข้างขวาล้มเหลว
(Right-sided heart failure) ❗
เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างชายบีบตัวลดลง ทำให้เนี้อเยื่อของร่างกายได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ
เมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวลดลง จะทำให้ปริมาตรเลือดที่ออกจากหัวใจลดลง
จะส่งผลให้เลือดเหลือค้างในหัวใจห้องล่างช้ายมากขึ้น ความดันเลือดในหัวใจห้องล่างซ้ายจึงสูงขึ้น
ดังนั้นหัวใจห้องบนซ้ายจึงบีบเลือดส่งมายังหัวใจห้องล่างช้ายน้อยลง ปริมาตรเลือดและความดันเลือดในหัวใจห้องบนซ้ายจึงสูงขึ้นเรื่อย ๆ
เลือดจากปอดที่ฟอกแล้วก็จะไหลเข้าสู่หัวใจห้องบนชายได้น้อยลง เป็นผลให้ความดันเลือดในหลอดเลือดฝอยที่ปอดสูงขึ้น ทำให้ของเหลวออกจากหลอดเลือดฝอยที่ปอดเข้าสู่ถุงลม ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะน้ำท่วมปอด หอบเหนื่อย ไอ และเขียว
เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างขวาไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปฟอกที่ปอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมักเกิดจากแรงดันในหลอดเลือดฝอยที่ปอดสูงขึ้นและกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างขวาตาย
เมื่อหัวใจห้องล่างขวาบีบตัวลดลง ทำให้ปริมาตรเลือดค้างในหัวใจห้องล่างขวามากขึ้น
ส่งผลให้ความดันในหัวใจห้องล่างขวาเพิ่มขึ้น และในที่สุดจะมีผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือดดำทั่วร่างกาย เนื่องจากมีภาวะน้ำคั่ง
ทำให้ผู้ป่วยมีอาการบวม ตับและม้ามโต ลำไส้บวมจนมีอาการจุกแน่นได้ชายโครง มีอาการเบื่ออาหาร ท้องมาน หลอดเลือดดำ ที่คอโป่งพอง และปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน (Noctuna)
อาการและอาการแสดง 👥
หัวใจข้างซ้ายล้มเหลว
หัวใจข้างขวาล้มเหลว
Dyspnea
ฟังหัวใจได้ยินเสียงสาม (s) หรือเสียงคล้ายม้าควบ (Gallop rhythm) ได้ยินชัดเจนบริเวณลิ้นไมตรัล
ตับโต ม้ามโต ลำไส้บวม มีอาการแน่นจุกเสียดบริเวณใต้ชายโครงหรือลิ้นปี
หลอดเลือดดำที่คอโป่งพอง (Neck vein engorged)
orthopnea
Paroxymal nocturnal dyspnea : PND
ไอ
อาการแสดงของน้ำท่วมปอด
ฟังหัวใจได้ยินเสียงสาม (s) หรือเสียงคล้ายม้าควบ (Gallop rhythm) ได้ยินชัดเจนบริเวณ Apex
Basilar pulmonary rales
บวม
การวินิจฉัย 🚩
ประวัติ
การตรวจร่างกาย
ลักษณะการหายใจ
ผิวหนัง ตัวเย็น เหงื่อออก
บวมส่วนปลาย
ฟังปอดได้ยินเสียง Basilar pulmonary rales,wheeze breath sound
ตับโต กดเจ็บ ม้ามโต
ฟังหัวใจได้ยินเสียงสาม (s) หรือเสียงคล้ายม้าควบ (Gallop rhythm), murmur
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ABG พบ respiratory alkalosis
transaminase เพิ่มขึ้น
น้ำตาลลดลง
prothrombin time ยาวนานขึ้น
พบโปรตีนในปัสสาวะ
BUN สูงขึ้น
พบ bilirubin/ SGOT/LDH สูงขึ้น
Chest X- ray
Echocardiograpy
การรักษา : ♻
1.ให้ยาควบคุมการเต้นของหัวใจให้เหมาะสม เช่น ดิจิทาลิส โปรพาโนซอลในรายที่เวนตรีเต้นเร็วเพื่อช่วยควบคุมให้เวรตริเคิลเต้นช้าลง
2.ให้ยาเพิ่มสมรรถภาพการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจเพื่อช่วยให้ปริมาณเลือดออกจากหัวใจ เพิ่มขึ้น เช่น ดิจิทาลิส (Digitalis) ไดจอกชิน ไอโซโปรเทอร์รินอล (Isopoterenal) Dopamine , Dobutamine
3.ใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจ
4.หาสาเหตุและแก้ไขภาวะปอดบวมน้ำทั้งสาเหตุชักนำ เช่น ความดันโลหิตสูง ลิ้นหัวใจรั่ว กล้ามเนื้อหัวใจตาย
5.ควบคุมภาวะน้ำและเกลือในร่างกาย จำกัดเกลือและน้ำในอาหาร และให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดปริมาณน้ำและเลือดคั่ง
6.ลดจำนวนเลือดที่ไหลกลับเข้าหัวใจ (Preload) ให้ผู้ป่วยนั่งห้อยขาลงข้างเตียงหรือนอนศรีษะสูง การทำ rotating tourniquets
7.ลดแรงต้านไหลของเลือดหัวใจ (Afterload) ให้ยากลุ่มช่วยลด afterload และหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้มากขึ้น ยาขยายหลอดเลือดดำกลุ่ม Nitrates
8.ให้ออกซิเจนความเข้มข้นสูงทางจมูก (Cannular) หรือหน้ากาก (Facemask)
9.จำกัดกิจกรรม (limit activity)