Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สภาวะระแวง(Paranoid States) (สาเหตุ (ปัญหาสุขภาพกาย (โรคสมองเสื่อม,…
สภาวะระแวง(Paranoid States)
หมายถึง
ภาวะผิดปกติทางความคิดที่ทำให้เคลือบแคลงสงสัยหรือระแวงผู้อื่นอย่างไม่มีเหตุผล ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่ามีคนจ้องทำร้ายอยู่ตลอดเวลา คิดว่าคนรอบข้างไม่ชอบตนเอง หรือไม่ไว้ใจผู้อื่น อาการเหล่านี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอาการหลงผิด ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นหรือเข้าสังคมได้ยาก
อาการ
คิดว่าคนอื่นจะทำร้ายหรือพูดถึงตนเองในทางเสียหาย
มีพฤติกรรมก้าวร้าว ประพฤติตัวไม่เป็นมิตรกับบุคคลรอบข้าง
ไม่ไว้ใจใครง่าย ๆ ระแวดระวังผู้อื่นตลอดเวลา
อ่อนไหวและรับไม่ได้กับการถูกวิจารณ์
หงุดหงิดหรือโกรธง่าย
ปล่อยวางและให้อภัยได้ยาก
มองโลกในแง่ร้าย
เข้าสังคมหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนยาก
ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว
สาเหตุ
ปัญหาสุขภาพกาย
โรคสมองเสื่อม
พาร์กินสัน
อัลไซเมอร์
โรคฮันติงตัน (Huntington's Disease)
โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะสูญเสียการได้ยิน ภาวะเครียด
พันธุกรรม
คาดว่าอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะหวาดระแวงได้
โรคจิตเภทแบบหวาดระแวง (Paranoid Schizophrenia)
มีอาการประสาทหลอนหรือพฤติกรรมแปลก ๆ หากไม่ได้รับการรักษาจะใช้ชีวิตตามปกติไม่ได้
กลุ่มโรคจิตเวชที่มีอาการหวาดระแวงรุนแรงมากที่สุด
โรควิกลจริตชนิดหนึ่งที่ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่เชื่อหรือยอมรับความจริง
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาและสารเสพติด
อาการหลงผิดหรือหวาดกลัวว่าผู้อื่นจะมาทำร้าย
การใช้สารเสพติด เช่น กัญชา แอมเฟตามีน โคเคน แอลเอสดี เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
สารเฟนไซคลิดีน (Phencyclidine) และสเตียรอยด์
โรคจิตหลงผิด (Delusional Disorder)
ภาวะที่มีความเชื่อหรือความคิดผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงเท่านั้น
คิดว่าตนเองป่วยทั้งที่ไม่ได้ป่วย
คิดว่ามีคนคอยปองร้าย
สิ่งแวดล้อมภายนอก
ผู้ที่อาศัยอยู่ในที่ห่างไกลจากผู้คนหรือชอบแยกตัวออกจากสังคม
มีแนวโน้มเกิดอาการหวาดระแวงมากขึ้น
การรับฟังข่าวสารเกี่ยวกับการฆาตกรรม การแบ่งแยกดินแดน
ส่งผลให้รู้สึกวิตกกังวลและระแวงผู้คนรอบตัว
โรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบหวาดระแวง (Paranoid Personality Disorder)
ผู้ป่วยโรคนี้มีอาการหวาดระแวงในระดับอ่อนที่สุดและสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
หายเป็นปกติเมื่ออายุ 50 ปี
ผู้ป่วยจะไม่ไว้ใจบุคคลรอบข้างง่าย ๆ
ประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่พบเจอ
ผู้ที่เคยประสบเหตุการณ์เสี่ยงตาย
ต้องอยู่เพียงลำพัง หรือเผชิญสถานการ์ที่รู้สึกกดดันและเครียด
เช่น ถูกกลั่นแกล้งจากที่ทำงาน โจรขึ้นบ้าน เป็นต้น
ปัญหาสุขภาพจิต
ความเชื่อมั่นในตัวเองต่ำ
เสี่ยงที่จะไม่ไว้ใจหรือหวาดระแวงผู้อื่น
รู้สึกวิตกกังวล ซึมเศร้า
ภาวะพักผ่อนไม่เพียงพอ
การนอนน้อยมักกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย
หวาดระแวง หรือมีอาการหลอนได้
การวินิจฉัย
แพทย์อาจตรวจร่างกายและสอบถามประวัติของผู้ป่วย
ในกรณีที่คาดว่าภาวะหวาดระแวงมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพจิต แพทย์อาจให้ผู้ป่วยพบจิตแพทย์เพื่อรับการทดสอบทางจิตวิทยาและวินิจฉัยภาวะสุขภาพจิตต่อไป
การรักษา
การใช้ยา
ผู้ป่วยที่รู้สึกหวาดกลัวหรือวิตกกังวลบ่อย ๆ เช่น โรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบหวาดระแวง โรคหลงผิด และโรคจิตเภท
ยาต้านโรคจิตเพื่อบรรเทาอาการหวาดระแวง
แพทย์อาจให้ยาต้านเศร้าหรือยาคลายเครียดที่มีฤทธิ์อ่อน ๆ เพื่อระงับอาการไม่ให้กำเริบ
ฝึกทักษะในการเผชิญความเครียด
เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรู้จักผ่อนคลายจากความเครียด
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้
รู้วิธีรับมือกับอาการวิตกกังวล
จิตบำบัด
เป็นวิธีรักษาผู้ป่วยที่มีอาการหวาดระแวงในระดับไม่รุนแรง
เพิ่มความเชื่อมั่นในตนเองและความเชื่อใจต่อผู้อื่น
การวาดรูป
การพักรักษาในโรงพยาบาล
ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
ผู้ป่วยภาวะหวาดระแวงที่เกิดจากการใช้สารเสพติดจะได้รับการบำบัดจนกว่าผลข้างเคียงจากการใช้ยาจะหาย