Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Stockholm Convention (หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (กรมวิชาการเกษตร,…
Stockholm Convention
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กรมวิชาการเกษตร
กรมโรงงานอุตสาหกรรม
กรมอนามัย
กรมศุลกากร
กรมการค้าต่างประเทศ
กรมองค์การระหว่างประเทศ
นิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
สำนักคณะกรรมการอาหารและยา
สำนักความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
การปฏิบัติตามพันธะสัญญา :
ใช้มาตรการทางกฎหมายและการบริหารในการห้ามผลิตและใช้สาร POPs ประเภทปลดปล่อยโดยจงใจ
นำเข้า/ส่งออกสาร POPs ได้เฉพาะตามวัตถุประสงค์ที่อนุญาต
ส่งเสริมการใช้สารทดแทน แนวทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด (Best Available Techniques: BAT) และแนวการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด (Best Environmental Practices: BEP) เพื่อลดการปลดปล่อยสาร POPs ประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจ โดยพิจารณาดำเนินการภายใต้ศักยภาพและขีดความสามารถของประเทศ
สถานที่เก็บสาร POPs ต้องได้รับการดูแลไม่ให้ส่งผลต่อสุขภาพมนุษย์และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งต้องดูแลจัดการของเสียที่เกิดจากสาร POPs และพื้นที่ปนเปื้อนอย่างเหมาะสม
จัดทำแผนจัดการระดับชาติเพื่อการปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ และจัดส่งให้ที่ประชุมรัฐภาคี ภายใน ๒ ปี หลังจากอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ มีผลบังคับใช้ในประเทศตน รวมทั้งพิจารณาทบทวนและปรับปรุงแผนจัดการฯ ให้ทันสมัยตามที่เหมาะสม
ให้ผู้บริหารและผู้กำหนดนโยบายมีความเข้าใจเรื่องสาร POPs
เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสาร POPs แก่สาธารณชน รวมทั้งกำหนดแผนและแนวปฏิบัติในการประชาสัมพันธ์ให้สตรี เด็ก และผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาทราบเรื่องสารดังกล่าวและภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม
สนับสนุนให้มีทำการวิจัยเรื่องผลกระทบต่างๆจากสาร POPs ทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ
ตั้งศูนย์ประสานงานระดับชาติเพื่อทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและหน้าที่อื่นๆ
ความเกี่ยวข้องของประเทศต่างๆ
สิงคโปร์
ควบคุมการใช้และการนำเข้าสารมลพิษตกค้างยาวนาน ผ่านกฎหมายและมาตรการต่างๆ โดยเฉพาะควบคุมการปล่อยสารมลพิษอินทรีย์ประเภท Dioxins และ Furans ที่เกิดจากกระบวนการเผา
อินโดนีเซีย
ห้ามนำเข้า POPs แต่ก็ยังมีการนำเข้าอย่างผิดกฎหมายและยังมีการใช้สาร DDT อย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เป็นเพราะข้อจำกัดด้านบุคลากรในการตรวจจับและความไม่เข้าใจของเกษตรกร
กัมพูชา
ได้ให้ความสนใจในการเข้าร่วมให้สัตยาบันอนุสัญญาฯ เพื่อการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนภายในประเทศ แต่กัมพูชายังไม่มีกฎหมายด้าน POPs และไม่มีการควบคุมการใช้สาร DDT & PCBs
เมียนมาร์
ที่เพิ่งตั้งหน่วยงานและนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเมื่อปี ค.ศ. 1990 แต่การจัดการด้านการใช้ยาฆ่าแมลงอยู่ภายใต้กระทรวงเกษตรและชลประทาน
ฟิลิปปินส์
มีหน่วยงาน Fertilizer and Pesticide Authority (FPA) ที่ควบคุมการใช้สารฆ่าแมลงทุกชนิดที่ใช้ในประเทศ
บรูไน
ไม่มีกฎหมายด้าน POPs โดยเฉพาะ แต่มีการห้ามนำเข้าและห้ามใช้สาร PCBs ในประเทศอยู่แล้ว
ลาว
มีควบคุมการใช้สารฆ่าแมลงตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992
ประเทศไทย
ควบคุมการใช้สาร POPs ยังอยู่ภายใต้กฎหมายหลายฉบับที่มีองค์กรดำเนินงานมากมายช่วงปี พ.ศ. 2523 – 2538 ห้ามการนำเข้าสารหลายประเภท ห้ามใช้สาร DDT สำหรับการเกษตร ในปี พ.ศ. 2525 ห้ามใช้ในการกำจัดยุงลายในปี พ.ศ. 2537 และ ห้ามนำเข้าชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่มีสาร PCBs เป็นองค์ประกอบในปี พ.ศ. 2518 แต่ยังให้ใช้ได้ในบางอุตสาหกรรม
ความสำคัญ
เพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (POPs) DDT & PCBs
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Link Title