Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
คดีรถ ข.ส.ม.ก. ปล่อยมลพิษ (Stakeholders (ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย) (ประชาชน…
คดีรถ ข.ส.ม.ก. ปล่อยมลพิษ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐
พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ.๒๔๙๖
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒
พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.๒๕๒๒
พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๓๕
พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ.๒๕๑๙
พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์กรขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๑๙
พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม พ.ศ.๒๕๓๕
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม พ.ศ.๒๕๓๕
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กรมควบคุมมลพิษ
องค์การขนส่งมลชนกรุงเทพ
มูลนิธิป้องกันควันพิษและพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น
รถโดยสารประจำทางทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
การฟ้องร้อง
ผู้ถูกฟ้องคดีที่1 จากบทบัญญัติของกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องเห็นได้ว่า การประกอบการขนส่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ทั้งโดยดำเนินการด้วยตนเองหรือโดยร่วมกิจการหรือร่วมทุนกับบุคคล หรือโดยมอบหมายให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน ถือเป็นบริการสาธารณะที่เป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของผู้ถูกฟ้องคดีที่ี ซึ่งการดำเนินบริการสาธารณะของหน่วยงานทางปกครองย่อมต้องมีความหมายด้วยว่า จะต้องเป็นการดำเนินบริการสาธารณะที่เป็นไปตามกฎหมายและไม่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายเสียเอง โดยในกรณีที่เกี่ยวกับสภาพของรถนั้นย่อมหมายถึงว่า จะต้องเป็นรถที่มีสภาพที่มั่นคงแข็งแรง และต้องไม่อยู่ ในสภาพที่อาจทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัย
Stakeholders (ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย)
ประชาชน
ประชาชนได้รับผลกระทบทางด้านสุขภาพ
มูลนิธิป้องกันควันพิษและพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
กรมควบคุมมลพิษ
ก่อให้เกิดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพฯ
องค์การขนส่งมลชนกรุงเทพ
เสียค่าใช้จ่ายเพื่อตรวจสภาพรถเพื่อส่งให้ศาลในทุก ๆ 3 เดือน เป็นเวลา 1 ปี
นโยบายในอนาคต
ขสมก.จับมือ 3 หน่วยงานลงนามความร่วมมือการสาธิตและประเมินผลการใช้งานรถโดยสารไฟฟ้า
นายประยูร ช่วยแก้ว รองผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถองค์การ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า ด้วยปัจจุบัน ขสมก. อยู่ระหว่างดำเนินโครงการจัดหารถโดยสารใหม่ที่มีคุณภาพมาให้บริการประชาชน ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายให้ความสำคัญถึงการลดการปล่อยมลพิษทางอากาศในภาคขนส่งจึงมีการสนับสนุน ให้เกิดการวิจัยและพัฒนาการผลิต และการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่งหนึ่งในมาตรการที่สำคัญ คือ การมอบหมายให้ ขสมก. พิจารณาการใช้รถโดยสารไฟฟ้ามาวิ่งให้บริการประชาชน เพื่อเป็นพลังงานทางเลือก และช่วยลดมลภาวะสิ่งแวดล้อม ขสมก. จึงร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นำรถโดยสารไฟฟ้า จำนวน 1 คัน มาทดลองวิ่งในเส้นทางเดินรถของ ขสมก. เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของรถโดยสาร และศึกษาข้อมูลการใช้พลังงาน ผลการศึกษาของโครงการจะเป็นประโยชน์กับ ขสมก. ในการวางแผนเส้นทางเดินรถโดยสารไฟฟ้าในอนาคต
พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้อง
พ.ร.บ. ขนส่งทางบก พ.ศ. 2522
การปรับปรุงแก้ไข
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ี1 จากบทบัญญัติของกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องเห็นได้ว่า การประกอบการขนส่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ทั้งโดยดำเนินการด้วยตนเองหรือโดยร่วมกิจการหรือร่วมทุนกับบุคคล หรือโดยมอบหมายให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน ถือเป็นบริการสาธารณะที่เป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของผู้ถูกฟ้องคดีที่ี ซึ่งการดำเนินบริการสาธารณะของหน่วยงานทางปกครองย่อมต้องมีความหมายด้วยว่า จะต้องเป็นการดำเนินบริการสาธารณะที่เป็นไปตามกฎหมายและไม่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายเสียเอง โดยในกรณีที่เกี่ยวกับสภาพของรถนั้นย่อมหมายถึงว่า จะต้องเป็นรถที่มีสภาพที่มั่นคงแข็งแรง และต้องไม่อยู่ ในสภาพที่อาจทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัย
ศาลปกครองชั้นต้น มีคำพิพากษาว่า ขสมก. ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติจริง โดยปล่อยให้มีรถยนต์โดยสารประจำทางขององค์กรและรถร่วมบริการเอกชนมีมลพิษจากท่อไอเสียเกินมาตรฐาน จึงมีคำสั่งให้ ขสมก. ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย โดยไม่ให้รถยนต์โดยสารประจำทางและรถร่วมบริการเอกชนก่อมลพิษเกินค่ามาตรฐานอีก พร้อมรายงานผลการตรวจวัดไอเสียต่อศาลทุก 3 เดือน เป็นเวลา 1 ปี นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด ส่วน คพ. ให้ยกฟ้อง และต่อมาทั้งสองฝ่ายได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด
ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้นให้ คพ. กำหนดแผนปฏิบัติการในการกำกับดูแล ติดตาม ควบคุมเพื่อมิให้ ขสมก. ปล่อยรถยนต์โดยสารและรถร่วมบริการของเอกชนออกวิ่งโดยปล่อยควันดำเกินมาตรฐาน และรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนดังกล่าวต่อศาลทุก 3 เดือน เป็นเวลา 1 ปี นับแต่ศาลมีคำพิพากษา
คพ. พิจารณาดำเนินการตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อประกาศกำหนดให้รถยนต์โดยสารของ ขสมก. และรถร่วมบริการเอกชนต้องถูกควบคุมการปล่อยอากาศเสีย ตามมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 ส่วนที่นอกเหนือจากนี้ให้แก้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น