Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมู…
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1.ความหมายเครือข่ายคอมพิวเตอร์
หรือคอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (Computer network) หมายถึงระบบสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศ รวมถึงใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกัน
2.ประเภทของระบบเครือข่าย
1) ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น (local area network: LAN)
2) ระบบเครือข่ายระดับเมือง (metropolitan area network: MAN)
3) ระบบเครือข่ายระดับประเทศ (wide area network : WAN)
รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย (Network Topology)
1) การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (Bus network)
2) การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาว (Star network)
3) การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบวงแหวน (Ring network)
4) การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบผสม (Hybrid network)
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่าย
หมายถึงระบบการถ่ายโอนข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางหรือปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร โมเด็ม คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครือข่ายต่างๆ ดาวเทียม ซึ่งควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง
องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่าย
1) ข่าวสาร (message)
เป็นข้อมูลรูปแบบต่างๆซึ่งผู้ส่งข้อมูลจะต้องนำข้อมูล
เข้าสู่ระบบสื่อสาร โดยผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
2) แหล่งกำเนิดข่าวสาร (source)
หรือเรียกว่า “ผู้ส่งข้อมูล (Sender)” เป็นอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดส่งข่าวสารข้อมูลซึ่งนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์แล้ว
3) สื่อหรือตัวกลาง (medium)
ในการส่งข้อมูล สื่อ อาจเป็นอุปกรณ์หรือวัตถุหรือพาหะชนิดใดก็ได้ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อแหล่งกำเนิดข่าวสารและ
แหล่งรับข่าวสารเข้าด้วยกันหรือเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล
4) แหล่งรับข่าวสาร (receiver)
หรือเรียกว่า “ผู้รับข้อมูล” ทำหน้าที่รับข้อมูลที่ถูกถ่ายทอดมาจากผู้ส่งข้อมูลผ่านสือที่เชื่อมต่อระหว่างกัน การสื่อสารจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อข่าวสารที่ผู้รับข้อมูลได้รับนั้นเป็นข่าวสารเดียวกัน กับข่าวสารที่ผู้ส่งข้อมูลได้ถ่ายทอดผ่านสื่อมายังผู้รับข้อมูล
5) โพรโทคอล (protocol)
คือข้อกำหนดหรือข้อตกลงที่ใช้ควบคุมสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เครือค่ายที่ใช้โปรโทคอลชนิดเดียวกัน
ซึ่งสามารถติดต่อและส่งข้อมูลระหว่างกันได้
สื่อหรือตัวกลางของระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
6.1 สื่อหรือตัวกลางประเภทมีสาย
1) สายคู่บิดเกลียว (twisted pair)
เป็นสื่อหรือตัวกลางที่มีราคาถูกที่สุดและนิยมใช้มากที่สุด
2) สายโคแอ็กเซียล (Coaxial cable)
หรือที่นิยมเรียก สั้น ๆ ว่าสายโคแอ็ก เป็นสื่อหรือตัวกลางที่มีส่วนของสายส่งข้อมูลเป็นลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยพลาสติก ส่วนชั้นนอกหุ้มด้วยโลหะหรือฟอยล์ถักเป็นร่างแห เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน สายโคแอ็กมี 2 แบบ
3) สายใยแก้วนำแสง (fiber-optic cable)
เป็นสื่อหรือตัวกลางที่ใช้ส่งข้อมูลในรูปของแสง
โดยเปลี่ยนสัญญาณข้อมูลหรือสัญญาณไฟฟ้าเป็นคลื่นแสงก่อน
แล้วส่งผ่านเส้นใยแก้วนำแสงที่หุ้มด้วยพลาสติกไปยังปลายทาง
6.2 สื่อหรือตัวกลางประเภทไร้สาย
1) คลื่นวิทยุ (radio frequency)
2) ดาวเทียม (satellite)
4) อินฟราเรด (Infrared)
3) คลื่นไมโครเวฟ (microwave)
อุปกรณ์เครือข่าย
1) ฮับ (Hub) คืออุปกรณ์ที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายๆ สถานีเข้าด้วยกัน ฮับเปรียบเสมือนเป็นบัสที่รวมอยู่ที่จุดเดียวกัน
2) สวิตช์ (Switch) คืออุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับ-ส่งหลายสถานีเช่นเดียวกับฮับ แต่มีข้อแตกต่างจากฮับ คือ การฮับ-ส่งข้อมูลจากสถานีหรืออุปกรณ์ตัวหนึ่งจะไม่กระจายไปยังทุกสถานีเหมือนฮับ
3) อุปกรณ์จัดเส้นทางหรือเราเตอร์ (Router) ในการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีการเชื่อมโยงหลายๆเครือข่าย หรืออุปกรณ์หลายอย่างเข้าด้วยกัน
โพรโตคอล
โพรโตคอล คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ หรือภาษาสื่อสารที่ใช้เป็นภาษากลางในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีการสื่อสารที่เรียกว่าโพรโตคอล (Protocol) เช่นเดียวกับคนเราที่ต้องมีภาษาพูดเพื่อให้สื่อสารเข้าใจกันได้
การถ่ายโอนข้อมูล
9.1 การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน
9.2 การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม
นางสาวชลธร ไชยแสง ม.5/10 เลขที่ 35